…The Ones หนึ่งนี้ “ดัง” ในอดีต…
DENON DL-103
Low-output MC cartridge
มงคล อ่วมเรืองศรี
ในช่วงก่อนหน้าที่จะมี “CD” อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ คำว่า “LP” หรือ “Turntable” ถือเป็น “ที่สุด” ของแหล่งกำเนิดสัญญาณเครื่องเสียง ที่นับว่าทรงคุณภาพในความเป็น “High fidelity” มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันน้อยคนนักที่จะได้เคยสัมผัส หรือแม้กระทั่งได้เคยรู้จัก “LP” นั้นถือเป็น “สื่อ” หรือ “ตัวกลาง” ในการเก็บบันทึกข้อมูลในรูปของสัญญาณอนาล็อก ลงบนแผ่นดิสก์ขนาด 12 นิ้วที่ทำจากไวนีล (vinyl) ด้วยการเซาะเป็นร่องเอียงเฉียงเป็นมุมเรียกว่า “ผนังร่องเสียง” ต่อเนื่องกันไป โดยหมุนวนเป็นลักษณะก้นหอยจากด้านนอกของตัวแผ่น LP เข้าสู่บริเวณใจกลางตัวแผ่น LP โดยที่จะใช้ความเร็วรอบหมุนในการขับเคลื่อนตัวแผ่น LP ที่ระดับ 33 1/3 rpm (รอบต่อนาที) ทั้งนี้ในการเล่นจำเป็นต้องใช้ “หัวเข็ม” หรือ cartridge ซึ่งยึดตรึงอยู่กับโทนอาร์ม (tonearm) ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Turntable) และภาคขยายสัญญาณหัวเข็ม (phono stage) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่ง “DL-103” ของ DENON ก็ได้ชื่อนับเป็นหนึ่งในตองอูของแวดวงหัวเข็มชั้นเยี่ยมยอด และถ้าคุณเป็นนักเล่นแผ่นเสียงรับรองเชื่อได้ว่า เป็นต้องเคยผ่านมือมาบ้างกับหัวเข็มรุ่นนี้ (ไม่เวอร์ชั่นใดก็เวอร์ชั่นหนึ่งละน่า) ที่ผลิตออกมาจำหน่ายเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปีค.ศ.1962 และเชื่อไหมว่า “DL-103” ยังคงถูกผลิตอย่างต่อเนื่องสามารถซื้อหาได้มาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยผ่านพัฒนาการในหลากหลายเวอร์ชั่น ซึ่งบางเวอร์ชั่นนั้นหายากยิ่งนัก และมีการเสนอราคาซื้อ-ขายไว้สูงลิบ อย่างเช่น Denon 103 FL และ Denon 103 PRO นอกจากนี้ยังมี “มือดี” นำเอา DL-103 ไปโมดิฟายด์เพื่อยกระดับสมรรถนะให้สูงขึ้นในแนวทางของตัวเองอีกด้วย อย่างเช่น ZU Audio
ระยะเวลากว่า 40 ปีนับจากช่วงแรกออกจำหน่ายตราบจนปัจจุบัน ทำให้ DL-103 เป็นอีกหนึ่งประดิษฐกรรมในแวดวงเครื่องเสียงที่มีอายุยืนยาวที่สุด ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น DENON มีเป้าหมายในการออกแบบ-ผลิต “DL-103” เพื่อให้เป็นหัวเข็มที่ใช้สำหรับสถานีวิทยุ หรือ broadcasting purposes (EMI และ Decca ใช้ DL-103 เป็น reference ในการประเมินคุณภาพเสียงสำหรับ LP ของบริษัท) แต่ด้วยสมรรถนะที่สูงส่ง (เกินราคา) รวมทั้งความไว้เนื้อเชื่อใจได้สูง (high-reliability) ที่ซ่อนตัวอยู่ใน DL-103 ความนิยมจึงได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายไปสู่แวดวงออดิโอไฟล์ กระทั่งกลายเป็น “ตำนาน” ของหัวเข็มที่เสมือนยังคงมี “ลมหายใจ” ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ แตกต่างจากหัวเข็มชื่อดังบางรุ่นที่มาแล้วก็จากไปไม่ยืนยง… พิสูจน์ได้ถึงความดีเด่น (คุ้มค่าอย่างมาก เนื่องจากราคาย่อมเยา) ของ DL-103
DL-103 เป็นหัวเข็มแบบ MC (Moving-coil) ประเภท low output ที่ DENON พัฒนาร่วมกับ Technical Research Laboratories ของ Japan radio and television broadcast corporation หรือ NHK (ราคาจำหน่ายในช่วงปีค.ศ.1963 กำหนดไว้ไม่ถึง 16,000 เยนเสียด้วยซ้ำ) โดยมีปลายหัวเข็มเป็นรูปทรงกลมมน (spherical) และกำหนดน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมไว้ในช่วงราวๆ 2.5 กรัม สามารถให้ค่าความแรงสัญญาณขาออกได้ 0.3 มิลลิโวลต์ ต่อมาในปีค.ศ.1974 ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ของ DL 103 มาเป็น “DL 103 S” โดยปรับปรุงส่วนปลายหัวเข็มเป็นรูปทรงเรียวมนแบบเปลือกไข่ (elliptical) และกำหนดน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมไว้ในช่วงราวๆ 1.8 กรัม ทว่ายังคงค่าความแรงสัญญาณขาออกไว้ที่ 0.3 มิลลิโวลต์
พอถึงปีค.ศ.1977 ก็มี “DL 103 D” ออกมาแทนที่ DL 103 S ซึ่งได้รับยกย่องว่านี่คือ “the best model of the 70′.” ด้วยความที่มีการปรับปรุงหลายต่อหลายส่วนภายในโครงสร้าง ที่เห็นเด่นชัดจากค่าสเปกฯจะเป็นว่า Internal impedance ปรับเปลี่ยนจาก 40 โอห์มลงมาอยู่ที่ 33 โอห์ม ค่าความแรงสัญญาณขาออกลดลงมาอยู่ที่ 0.25 มิลลิโวลต์ และระดับราคาที่พุ่งสู่ 35,000 เยน จนกระทั่งในปีค.ศ.1982 ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่นพิเศษเพื่อวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของการถือกำเนิด “DL 103” โดยใช้ชื่อรุ่นว่า “DL 103 Gold” (ก้านหัวเข็มชุบทอง)
ในปีถัดมา DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่น “DL 103 M” ที่นับว่าเป็น “upgraded version” อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกสำหรับ DL 103 นับตั้งแต่ส่วนเปลือกนอกที่เคยเป็นพลาสติกก็เปลี่ยนเป็นวัสดุอลูมินั่มที่มีน้ำหนักเบาทว่าให้ค่าความแข็งแกร่งที่สูงมาก, ก้านหัวเข็ม หรือ cantilever ที่เคยเป็นวัสดุอลูมินั่มก็เปลี่ยนเป็นโบรอน (boron), ค่า Internal impedance มาอยู่ที่ 40 โอห์ม ส่วนค่าความแรงสัญญาณขาออกนั้นลดลงมาอยู่ที่ 0.12 มิลลิโวลต์ และน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 1.4 กรัม
จากนั้นเป็นต้นมา “DL 103” ก็ได้มีพัฒนาการรุดหน้ายิ่งขึ้นเรื่อยๆตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแห่ง
ยุคสมัย โดยในปีค.ศ.1985 และ 1986 ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่น “DL 103 LC” (ราคาจำหน่าย 20,000 เยน) และ “DL 103 LC II” (ราคาจำหน่าย 21,000 เยน) ตามลำดับ ด้วยการปรับเปลี่ยนเส้นลวดขนาดจิ๋วที่ใช้พันคอยล์มาเป็น LC-OFC copper ส่งผลให้ค่า Internal impedance ลดลงมาเหลือเพียงแค่ 13 โอห์ม ส่วนค่าความแรงสัญญาณขาออกนั้นปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 0.25 มิลลิโวลต์ และน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 2.5 กรัม ทว่าปลายหัวเข็มนั้นกลับหันไปใช้รูปทรงแบบกลมมน (spherical) เฉกเช่นรุ่น DL 103 ดั้งเดิมในปีค.ศ.1962
ต่อมาในปีค.ศ.1989 ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่น “DL 103 SL (Special Limited)” ที่แม้จะมีค่าสเปกฯเหมือนกับ “DL 103 LC” และ “DL 103 LC II” แทบจะทุกประการ แต่ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเส้นลวดขนาดจิ๋วที่ใช้พันคอยล์จาก LC-OFC copper มาเป็น ทองแดงบริสุทธิ์สูง : 6N 99.9999% Pure Copper (ค่า Internal impedance เท่ากับ 14 โอห์ม) พร้อมทั้งส่วนเปลือกนอกที่มีสีขาวผ่องสะดุดตา (ราคาจำหน่าย 30,000 เยน)
พอในปีถัดมาก็ได้มีเวอร์ชั่น “DL 103 GL (Gold Limited)” ออกจำหน่ายแบบจำกัดจำนวน ด้วยสีสันส่วนเปลือกนอกที่เป็นสีดำเข้ม เส้นลวดขนาดจิ๋วที่ใช้พันคอยล์นั้นเป็น 4N 99.99% high-purity gold wire กันเลยทีเดียว ปลายหัวเข็มนั้นเป็นรูปทรงแบบกลมมน (spherical) ค่า Internal impedance อยู่ที่ 40 โอห์ม ส่วนค่าความแรงสัญญาณขาออกนั้นยังคงอยู่ที่ 0.25 มิลลิโวลต์ เช่นเดียวกับน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 2.5 กรัม (ราคาจำหน่ายนั้นสูงถึง 50,000 เยน)
จากนั้นในปีค.ศ.1991 ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่น “DL 103 C1” ซึ่งมีราคาจำหน่ายย่อมเยากว่า “DL 103 GL (Gold Limited)” เกือบครึ่งเท่าตัว (ราคาจำหน่าย 32,000 เยน) เพราะปรับเปลี่ยนไปใช้เส้นลวดขนาดจิ๋วที่ใช้พันคอยล์แบบ LC-OFC copper ส่งผลให้ค่า Internal impedance ลดลงมาเหลือเพียงแค่ 14 โอห์ม โดยยังคงมีส่วนเปลือกนอกที่เป็นสีดำเข้ม (black body) และส่วนปลายหัวเข็มที่เป็นรูปทรงแบบกลมมน (spherical) ส่วนค่าความแรงสัญญาณขาออกนั้นยังคงอยู่ที่ 0.25 มิลลิโวลต์ เช่นเดียวกับน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 2.5 กรัม
ทาง DENON ก็ได้ออกเวอร์ชั่นสุดพิเศษ “DL 103 FL (Fan Limited)” ในอีก 2 ปีถัดมา ซึ่งปัจจุบันได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเวอร์ชั่นที่หายากยิ่งนัก โดยมีส่วนเปลือกนอกที่เป็นสีขาวสะดุดตา (white body) และส่วนปลายหัวเข็มที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นรูปทรงเรียวมนแบบเปลือกไข่ทรงสูง (hyper-elliptical) ทว่าค่า Internal impedance นั้นอยู่ที่ 30 โอห์ม ในขณะที่ค่าความแรงสัญญาณขาออกนั้นถูกปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 0.28 มิลลิโวลต์ ส่วนน้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 2.5 กรัม (ราคาจำหน่ายในขณะนั้น 40,000 เยน)
ในปีค.ศ.1994 ทาง DENON ก็ได้มีเวอร์ชั่น “DL 103 R” ออกจำหน่าย ภายใต้ค่าสเปกฯดุจเดียวกับ “DL 103 SL (Special Limited)” ทว่าส่วนเปลือกนอกที่เป็นสีดำวาว (black body with little gloss) (ราคาจำหน่ายในขณะนั้น 28,000 เยน) และแล้วต่อมาทางสำนักโมดิฟายด์ชื่อดังของญี่ปุ่นนาม “EIFL” ก็ได้เวลานำเอา “DL 103” ไปปรับปรุง-พัฒนาในแนวทางของตัวเอง แล้วพอถึงเวลานำออกจำหน่ายก็ผลิตขึ้นโดย Highphonic ด้วยการยึดถือรูปลักษณ์ของ DL 103 ดั้งเดิม
ภายใต้ชื่อรุ่น “DL 103 Pro” โดยได้ถูกยกระดับค่าความแรงสัญญาณขาออกขึ้นมาเป็น 0.35 มิลลิโวลต์, ค่า Internal impedance นั้นอยู่ที่ 38 โอห์ม ในขณะที่น้ำหนักแรงกดหัวเข็มที่เหมาะสมถูกกำหนดไว้ในช่วงราวๆ 2.0 กรัม และส่วนปลายหัวเข็มที่เป็นรูปทรงแบบกลมมน (spherical) เฉกเช่น DL 103 ดั้งเดิม (ราคาจำหน่ายในขณะนั้น 35,000 เยน) ล่าสุดได้ข่าวว่าในปีค.ศ.2006 ได้มีรุ่นสุดยอดพิเศษของ DL-103 ออกมาจำหน่ายภายใต้ชื่อรุ่น “DL 103 EN” ด้วยราคาจำหน่ายแพงลิบลิ่วถึง 70,000 เยน – ทว่าต้องขออภัยที่สืบค้นรายละเอียดไม่พบขอรับ
….และในวาระครบรอบ 100 ปีของ Nippon Columbia (เมื่อปีค.ศ.2010) ทาง DENON ก็ได้ออกผลิตภัณฑ์รุ่นพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระพิเศษนี้ ในลักษณะของ The limited special-edition Denon Anniversary Product Collection ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี “DL-A100 Cartridge” ที่ต้องถือว่าเป็น “DL 103” เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด (แต่ทว่ามิได้ใช้ชื่อรุ่นเดิมแล้วเติม “suffix” ต่อท้ายไว้ที่ชื่อรุ่นเช่นแต่เก่าก่อน) ผลิตออกจำหน่ายด้วย
ทั้งนี้ “Denon’s 100th Anniversary Collection” จะมี ‘A100’ ระบุไว้ที่ชื่อรุ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ประกอบด้วย PMA-A100 Integrated Amplifier (SRP: $2,499); DCD-A100 CD/SACD Player (SRP: $2,499); DP-A100 Direct-Drive Turntable (SRP: $2,499); DL-A100 Cartridge (SRP: $499); AVR-A100 9.2 Channel A/V Receiver (SRP: $2,499); DBP-A100 Universal Blu-ray Player (SRP: $2,499) และ AH-A100 Over-Ear Headphones (SRP: $499).
Denon DL 103 – a true classic MC cartridge — Introduced in 1962
The Denon DL 103 was developed by Nippon Columbia / Denki Onkyo (Den-on) and the japanese radio and television broadcast corporation NHK in 1962. This “standard” DL 103 is still in production.
1974 : DL 103 S – 8cu, elliptical stylus, rec. VTF 1.8 +/- 0.3grams – 27000 Yen. 1977 : DL 103 D – the 70’s top model. 33ohms, 0.25mV, 12cu, elliptical stylus – 35000 Yen. 1978 : DL 103 T – a DL 103 with a step-up transformer in one box – 29000 Yen. 1981 : DL 103 U – a DL 103 mounted in a Denon headshell – 21000 Yen. 1982 : DL 103 Gold – a gold-laquered “standard” DL 103 – issued to celebrate the 1983 : DL 103 M – lightweight aluminium body, output 0.12mV, impedance 40ohms. 1985 : DL 103 LC / 1986 : DL 103 LC II – LCOFC copper coils, 13ohms, output 0.25mV, 1989 : DL 103 SL (Special) – 6N 99,9999 Pure Copper, special white housing, 1990 : DL 103 GL (Gold Limited) – special black housing, output 0.25mV, 40ohms, spherical stylus, 5cu, VTF 2.5 +/- 0.3grams, coils 4N High Purity Gold Wire 99.99%, ltd. production of 2000 – 50000 Yen. 1991 : DL 103 C1 – LCOFC coils, special black housing, output 0.25mV, 14ohms, spherical stylus, 5cu, VTF 2.5 +/- 0.3grams – 32000 Yen. 1993 : DL 103 FL (Fan Limited) – special white housing, output 0.28mV, 30ohms, spherical stylus, 5cu, VTF 2.5 +/- 0.3grams – 40000 Yen. 1994 : DL 103 R – same specs as DL 103 SL (special), but standard black housing (slightly glossy though) – 28000 Yen. Still in production. DL 103 Pro – 0.35mV, 38ohms, 6cu, spherical stylus, VTF 2.0 +/- 0.2grams. Modified by Highphonic – 35000 Yen. |
………………………………………………………………………………………………………………………………………………