What HI-FI? Thailand

Test Report: Shunyata : Viper (Z-Tron)

Test Report: Shunyata : Viper (Z-Tron)

การุณชาติ  พุกกะเวส

 

เมื่อ พูดถึงสายไฟเอซี สำหรับบางคนอาจจะไม่ใส่ใจมาก คิดว่าไม่ต้องเล่นแพงๆ ก็ได้ แต่กับคนที่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ พวกเขามีมุมมองที่ตรงข้าม และให้ความสำคัญเป็นพิเศษ..ชนิดที่เรียกว่าถึงไหนถึงกัน!

สำหรับผม มียี่ห้อหนึ่งที่โดยส่วนตัวยังเฝ้ารอคอยทดสอบที่เป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้าเคยเขียนแนะนำยี่ห้อดังกล่าวไปแล้วในคอลัมน์สรรพสาระ ตอนที่ 37 เดือน พ.ค. 55 โดยทิ้งท้ายว่า  “หวังว่าจะได้มีโอกาสทดลองฟังเพื่อมาแนะนำให้แฟนๆ What AV? ทราบกัน ผมจองไว้แล้วละแต่ไม่รู้จะได้หรือไม่? พระเจ้าเท่านั้นที่รู้”…และแล้วในที่สุด การรอคอยได้สิ้นสุดลง เพราะสายไฟยี่ห้อดังกล่าวอยู่ในห้องผมแล้ว

หลายท่านคงอยากทราบแล้วว่า สายดังกล่าวคือยี่ห้ออะไร? ครับ..ไม่ต้องกลับไปรื้อค้นให้วุ่นวาย สายที่ผมกล่าวอ้างถึงคือ Shunyata Research ขอเรียกสั้นๆ ว่า Shunyata นะครับ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ 26273 Twelve Trees Lane, Suite D, Poulsbo, WA 98370 USA ออกแบบและคิดค้นโดย Mr. Caelin  Gabriel นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ปัจจุบันคือ CEO ของ Shunyata Research

คำว่า Shunyata เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความเงียบอันเป็นบ่อเกิดแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง”…เรียกว่าแค่ชื่อก็สื่อถึง ความหมายที่ลึกซึ้งทีเดียว

ไลน์สินค้าแบ่งเป็น 4 หมวด คือ Distributors, Power Cable, Signal Cables และ Accessories ซึ่งดังที่หลายท่านทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่โด่งดังคับฟ้าสุดๆ ก็คือตัวกรองไฟ และสายไฟเอซี

เมื่อปี ค.ศ.2012 Shunyata ได้สร้างความตื่นตะลึงให้วงการ ด้วยการแนะนำไลน์อัพใหม่ คือ Z-Tron ซีรี่ส์แทนรุ่นเดิม โดยว่ากันว่าเจ้า Z-Tron ที่เป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ เมื่อใส่เข้าไปในสายจะทำให้เสียงดีขึ้นผิดหูผิดตาระดับ Ground Breaking Technology เลยทีเดียว จึงได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อย

ปัจจุบันสายไฟเอซี ของ Shunyata แบ่งเป็น 3 ซีรี่ส์ คือ Z-Tron, Alpha และ Venom แต่ในครั้งนี้เราจะมาดูกันเฉพาะที่มีเจ้า Z-Tron ซึ่งมี 2 ซีรี่ส์ คือ ซีรี่ส์ Z-Tron และซีรี่ส์ Alpha

เริ่มต้นมีเพียง 3 รุ่น ใหญ่สุดคือ Anaconda, Python และ Cobra เป็นรุ่นเล็กสุด แต่เพื่อตอบสนองตลาดในวงกว้าง ดังนั้น ปี ค.ศ.2014 นี้ จึงได้แตกไลน์ซีรี่ส์ Z-Tron มาหลายรุ่นมากขึ้น โดยมีรุ่นราคาไม่แพงเข้ามาเสริม เพื่อให้นักเล่นเลือกตามความต้องการ และสามารถซื้อกันได้โดยไม่แพงเกินไป เริ่มจากเรือธง Z-Tron Anaconda/ Z-Tron Z-PC10 (ยังไม่ออก)/ Z-Tron Python/ Z-Tron Cobra/ Z-Tron Viper/ Z-Tron Alpha Digital/ Z-Tron Alpha Analog/ Z-Tron Alpha HC รวมแล้วมีให้เลือกมากถึง 8 รุ่นด้วยกัน แสดงถึง Z-Tron ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ช่วยยกระดับสายไฟเอซีให้ดียิ่งขึ้น

ครั้งนี้ผมได้รับมาเป็น Z-Tron Viper ความยาว 1.75 เมตร ท้าย 15 แอมป์ (ท่านใดต้องการท้าย 20 แอมป์สามารถสั่งได้) ซีรี่ส์นัมเบอร์ #5585 อยู่ในซีรี่ส์ Z-Tron มาลองฟังดู

ลองมาดูกันว่า Shunyata : Viper (Z-Tron) งูพิษตัวเล็กนี้แม้ไม่ได้ตกแต่งภายนอกให้แลดูใหญ่โตอลังการดุจรุ่นพี่ ทำให้ราคาน่าคบหามากขึ้น (ระดับ 2 หมื่นกว่าบาท) แต่ยังคงอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะ Z-Tron จะมีพิษสงมากเพียงใด?

Z-Tron คืออะไร?

ทำไม เจ้าเทคโนโลยี Z-Tron ถึงได้เป็นที่ภูมิใจของ Shunyata โดยที่ผมจะสรุปย่อนะครับ ซึ่งเท่าที่ดูจากคลิปแล้ว ในที่สุดตัว Z-Tron ก็เปิดเผยออกมาให้เห็น ในรูปจะเป็นวัสดุชิ้นเล็กๆ ในรูปคือ ชิ้นดำๆ 4 ชิ้นที่อยู่ในมือละครับ ถูกคิดค้นเป็นพิเศษไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ และนำมาใส่ในสายไฟเอซี และปิดผนึกเอาไว้จึงมองไม่เห็น ดูแล้วก็จะเป็นสายไฟเอซีเส้นใหญ่ๆ เส้นหนึ่ง แต่จะพิเศษเมื่อใช้ลองจริงๆ (สายอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน) ใช้วิธีวัดทดสอบแบบ Square Test โดยนำมาเสียบกับสายต่อที่ออกแบบไว้ ซึ่งเมื่อใช้ Z-Tron จะวัดค่ากราฟได้ใกล้กับคลื่นสี่เหลี่ยมมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อถอด Z-Tron ออกจากขั้วสาย กราฟที่วัดได้จะขยับห่างกราฟสี่เหลี่ยมอ้างอิง ทำให้เสียงเพี้ยนไปแล้ว

 

คุณสมบัติพิเศษ Shunyata : Viper (Z-Tron)

– Made in The U.S.A.

– ใช้เทคโนโลยี Z-Tron

– หัวปลั๊กตัวผู้/ เมีย Shunyata : CopperConn ทรงกลม

– มีกระบอกโลหะครอบที่สาย แสดงชื่อรุ่น ซีรี่ส์นัมเบอร์ และผู้ประกอบสาย

– ผ่านการทดสอบ DTCD (Dynamic Transient Current Delivery)

– ตัวนำ Dual Coincident Concentric Conductors

– เทคโนโลยี VTX : Virtual Tube Wire Geometry

– ตัวนำ CDA 101-COPPER เกรดบริสุทธิ์สูงที่สุดไม่เป็นรองใคร

– Alpha Cryogenics Process การแช่เย็นที่อุณหภูมิ -320 องศาฟาเรนไฮต์

– ตัวนำทองแดงเกรดสูง ขนาดใหญ่ 11AWG

– ประกอบสำเร็จจากโรงงาน โดยสาย 1 เส้นประกอบมือโดยช่างเพียงคนเดียว แล้วเซ็นชื่อกำกับ

– มีใบเซอร์ฯ แสดงการวัดทดสอบต่างๆ เช่น เช๊คเฟส, การทนแรงกระชากระดับ 2,000V

– เลือกปลั๊กได้หลายแบบ เช่น EC-C15: Shunyata SR-ZC, IEC-C19: Hubbell, US NEMA P15: Shunyata SR-ZP

 

ลักษณะทั่วไป Shunyata : Viper (Z-Tron)

สาย ไฟเอซี Shunyata : Viper (Z-Tron) เป็นสายไฟเอซีประกอบเสร็จจากโรงงาน บรรจุมาในกล่องกระดาษสีขาวนวล มีรูปโลโก้งู Power Snakes ชัดเจนแบบที่คุ้นเคยกัน พวกสเปคต่างๆ จะอยู่ด้านข้าง ด้านในเปิดออกมาจะเห็นสายบรรจุในซองพลาสติกใส พร้อมใบเซอร์ฯ การันตี และแคตตาล๊อกจำนวนหนึ่ง

ในครั้งนี้เส้นที่ได้รับยาว 1.75 เมตร เข้าหัวตัวผู้ CopperConn ทรงกลมสีดำ พร้อมคาดสติ๊กเกอร์ยี่ห้อไว้ ขั้วต่อทองเหลือง ถัดจากตัวผู้มาราว 1 ฟุต จะมีกระบอกโลหะสีเทา สวมติดไว้ที่สายเลย แสดงชื่อยี่ห้อ, รุ่น ซีรี่ส์นัมเบอร์ และคนประกอบ (ซีรี่ส์นัมเบอร์เส้นนี้ #5585) ส่วนท้ายใช้หัวปลั๊กตัวเมีย CopperConn แบบ 15 แอมป์ทรงกลมสีดำ ซึ่งหัวปลั๊กเป็นของ Shunyata เอง

ฉนวนภายนอกสี ฟ้าเข้ม ไม่หุ้มอะไรเลย อาจทำให้รูปลักษณ์ไม่ดุดัน หรูหราเทียบเท่าสายรุ่นพี่ที่มีปลอกขนาดใหญ่หุ้มไว้ ที่ฉนวนใช้การเซาะร่องว่า Z-Tron 11 AWG 600V 105C Shunyata Research มั่นใจว่านานไปก็ไม่ลบเลือน ตัวสายไฟเอซี Shunyata : Viper (Z-Tron) มีความแข็งบ้าง การดัดโค้งไปมาทำได้ไม่ง่ายนัก

สนใจรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราว Z-Tron เข้าไปดูได้ที่ www.shunyata.com

สเป็ค Shunyata : Viper (Z-Tron)

MAXIMUM VOLTAGE
– Max Voltage (US): 90-240 VAC (connector dependent)
– Max Voltage (Asia): 90-240 VAC (connector dependent)
– Maximum Instantaneous Voltage: 1250 VAC

CURRENT RATINGS
– Max continuous current: 20 Amps (connector dependent)
– Max instantaneous current: >200 Amps (800ms)

ELECTRICAL TESTS
– Polarity and continuity tests x2 (each cable tested)
– HiPOT Test: 2,000 VAC @ 5s (each cable tested)
– Insulation Breakdown Test: >4,000 VAC @ 2 minutes

อุปกรณ์ที่ใช้ทดลอง Shunyata : Viper (Z-Tron)

ห้องโฮมเธียเตอร์

เครื่อง Blu-ray : Panasonic : DMP-BDT330 สายไฟแบบเลข 8 ผ่านตัวแปลงทำเองจาก 2 ขาออกเป็น IEC (IEC-Furutech สายภายใน Kimber Kable) ใส่ Wood Block : Versalab คั่นไว้ ใช้สายไฟเอซี Shunyata : Viper (Z-Tron) รองสายไฟด้วย Shunyata : Dark Field และ Shunyata : Dark Field mini อย่างละ 1 อัน ตัวเครื่องวางบนแผ่นไม้จากชั้นวาง Target Audio : TT5 ด้านใต้รองด้วย Symposium : Rollerblock Series 2 แบบประกบเป็นแซนวิช  ทั้งหมดวางบนแท่นรอง Brightstar Audio : Big Rock I (มีทรายภูเขาไฟ Lovan ผสมด้วย) ฝาหลังเหนือช่อง HDMI ทับด้วยก้อนอิทธิเจ 1 ก้อน

โน้ตบุ๊ค HP G42, CPU Core i3@2.53 GHz, RAM 2 GB ใช้โปรแกรม JRiver Media Center 19 สาย USB ธรรมดา

Audiolab : M-DAC รองด้านใต้ด้วยทิปโท JJ : Screw Cone หน้า 2 หลัง 1 ตัว วางบนชั้นวาง Audio Arts : Classic II ทับหลังเครื่องด้วยก้อนอิทธิเจ 1 ก้อน ช๊อตกราวด์ด้วยปลั๊ก RCA : WBT-1018 สายไฟ+หม้อแปลงที่แถมมา

เอ/วี รีซีฟเวอร์ Pioneer : VSX-LX70 เปลี่ยนฟิวส์เป็น Furutech : TF-15A (เยอรมัน) ตัดสายไฟเอซีภายในให้สั้นลง เชื่อมย้ำแต่ละจุดสำคัญด้วยตะกั่วเงิน แยก-คลี่สายไฟ/ สายสัญญาณ/ สายลำโพงให้ห่างกันเท่าที่ทำได้ วางบนชั้น XAV #111 เหนือหม้อแปลงทับด้วยอิฐมหัศจรรย์ VPI : HW dB-5 วาง XAV : EMX-9 ที่มุมขวา ใช้สายไฟเอซี Kimber Kable : PK10 (หัว/ ท้าย Wattgate : 330i/ 350i) รองสายไฟด้วยแท่งอะครีลิก 1 อัน

สาย HDMI สำหรับเสียงเป็น Monster Cable : isf2000HD รองสายด้วย Cardas : Notched Myrtlewood Blocks Mini 1 อัน และ Cardas : Notched Myrtlewood Blocks 1 อัน ส่วนสาย HDMI สำหรับภาพเป็น Monster Cable : MC1000 (HDMI) ยาว 10 เมตร

จอฟิกส์ Stewart : Grayhawk RS (Reference Screen) ขนาด 92 นิ้ว โปรเจ็คเตอร์ JVC : DLA-RS10 อุดช่อง Composite/ Component ด้วยปลั๊กอุด Cardas ติดตั้งแบบแขวนผนังด้วยขา Omni Mount : PMD2 ใช้สายไฟเอซี Acoustic Zen : CL-3 (หัว/ ท้าย Marinco แบบ Hospital Grade) มาเข้าปลั๊กลอย FIM : 886 จากนั้นใช้สายไฟเอซี Halu Cable (หัว Pass & Semour/ ท้าย Shurter : 4781) ยาว 10 เมตรลากมาเข้าปลั๊กกรองไฟ

เพาเวอร์แอมป์ Accuphase : A-35 วางบนชั้น Finite Element : Spider สายไฟเอซี Hovland : Main Line (หัว Hubbel : 8215 CT/ ท้าย Furutech) รองสายไฟด้วย Shunyata : DarkField 1 อัน

ลำ โพงโฮมเธียเตอร์เป็น Sonus Faber คู่หน้า Concerto Home วางบนขาตั้ง Totem Stand : T4s  เซ็นเตอร์ Solo Home วางบนชั้น Finite Element : Spider ชั้นบนสุด เซอราวด์ Concertino Home วางบนขาตั้ง JM Labs : Utopia สูง 24 นิ้วที่มีแท่นไม้สักรองพร้อมด้วย Michael Tender Feet รุ่นจานบินรองอีกที รวมสูง 26 นิ้ว

ลำโพงโฮมเธียเตอร์อีกชุดเป็น System Audio คู่หน้าตั้งพื้น Aura 50 เซ็นเตอร์ Mantra 10AV วางบนชั้น Finite Element : Spider เซอราวด์ Aura 1 วางบนขาตั้ง JM Labs : Utopia เช่นเดิม

สายสัญญาณช่วงไปเพาเวอร์แอมป์เป็น Kimber Kable : Hero (XLR-Swisscraft) พร้อมอะแดปเตอร์แปลงจาก RCA เป็น XLR

สาย ลำโพง Kimber Kable : 8TC ทั้งซิสเต็ม คู่หน้าคั่นด้วยบานาน่าปลั๊ก Monster Cable : Power Connect 2 รองสายลำโพงด้วย Cable Elevator ข้างละ 2 ตัว เซ็นเตอร์ และเซอร์ราวด์เข้าหัวบานาน่าของ Kimber Kable ส่วนเซอร์ราวด์ยกลอยด้วย บล๊อกไม้ Cardas : Multi Blocks

แอคทีฟซับ วูฟเฟอร์ Velodyne : CT-150 วางบนชั้น Master Stand Base : 2217 สายไฟเอซี Monster Cable : Power Line 300 รองสายด้วยที่วางเทียน (ทำจากแก้ว) 4 ตัว ใช้สายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ Monster Cable : M1000SW รองสายด้วย Cable Tower 3 อัน และ Cardas : Notched Myrtlewood Blocks 1 อัน

ทาหน้าสัมผัสของ ขั้วต่อต่างๆ  ด้วยน้ำยา ProGold สายไฟเอซีของเครื่องเล่นทั้งหมดเสียบต่อเข้าปลั๊กกรองไฟ PAC : Super Idos วางบนแผ่น Hi-Fi Block (เดอะหั่ง) รองสายไฟด้วย Shunyata : DarkField 2 อัน และ Shunyata : Dark Field mini 1 อัน ใช้สายไฟเอซีของ Shunyata : Viper (Z-Tron) เสียบเข้าที่ตัวกรองกระแส DC ของ Perfect Power : Super DC Filter (ปรับปรุงภายใน และใช้ฟิวส์ Marsh 10A ชุบทอง) ภาคขาออกใช้สายไฟเอซี Supra : LoRad (หัว/ ท้าย Wattgate กลมดำ) เสียบเข้าที่กำแพงใช้เต้ารับ Wattgate : 381 (ตัวที่สอง-ช่องมีดาว) ใช้ฝาครอบเต้ารับ FIM : 308-1 สายไวริ่งระหว่าง Wattgate : 381 ทั้ง 2 ตัวเป็น Supra : LoRad

ห้อง ฟังขนาด 4 x 5 x 2.2 เมตร ควบคุมสภาพอะคูสติกห้องบ้าง บริเวณผนังข้างด้านหน้าปะด้วยผ้าดำหุ้มฟองน้ำ ที่กลางห้อง และผนังหลังมีแผ่นซับเสียงสูตร RPG (DIY) ปะไว้ มีจิ๊กซอว์ PRS จำนวน 1 คู่ที่ด้านหลังจุดนั่งฟัง มีแผ่น XAV : G-Sap เบอร์ 1 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังด้านหน้า, เบอร์ 2 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังด้านหลัง มี XAV : Trap พร้อมฐาน 1 คู่ XAV : Base Trap ตั้งมุมห้องด้านหน้า ใช้ Room Tune : Michael Green Audio 4 แท่งที่มุมทั้ง 4 ด้าน/ Echo Tune 4 อัน

 

การติดตั้ง และการเซ็ทอัพ Shunyata : Viper (Z-Tron)

สาย ไฟเอซี Shunyata : Viper (Z-Tron) สามารถดัดโค้งได้มากพอที่จะติดตั้งในมุมแคบๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรหักงอสายในองศาที่มากเกินไป

ในส่วนการเชื่อมต่อ เข้าด้านท้ายเครื่องมีความฟิตแน่นที่ดีพอ ส่วนการเซ็ทอัพนั้น ในครั้งนี้ผมทดสอบทั้งภาพ และเสียง เริ่มจากเครื่องที่กินไฟน้อยไล่ไปหาเครื่องที่กินไฟมากสุด ด้านภาพใส่ที่แหล่งโปรแกรม ส่วนด้านเสียงเปลี่ยนเข้าที่แหล่งโปรแกรม และปิดท้ายด้วยเสียบเข้าปลั๊กกรองไฟ

 

ผลการลองชม Shunyata : Viper (Z-Tron)

ผม เองรู้จักกับสายไฟเอซีของ Shunyata มาราว 10 ปี ตั้งแต่ไปฮ่องกงแล้วซื้อแมกกาซีนเครื่องเสียง Audiotechnique กลับมาดูราวปี ค.ศ.2002 นู่น โดยจุดที่ทำให้จำได้แม่นเลย คือ การใช้ชื่องูชนิดต่างๆ มาเป็นชื่อรุ่น โดยตอนนั้นที่ลงโฆษณามี Sidewinder, Blackmamba, Viper, King Cobra V2 แล้วผมก็ติดตามความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด

ผมว่ามันโดนใจ มาก ใช้โลโก้ และชื่อรุ่นของงู “สื่อ” ออกมาให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายๆ เลย ทุกคนรู้ว่างูเป็นสัตว์มีพิษ ส่วนจะมากจะน้อยก็ว่ากันไปตามชนิด ครั้นเมื่อเอาสายงูนี้มาใช้ในชุดเครื่องเสียงมันน่าจะแสดงพิษสงอันร้ายกาจ เช่นกัน ส่วนจะมากขนาดไหนก็ขึ้นกับว่าคุณซื้อสายงูรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่นั่นเอง ถ้าซื้อรุ่นเล็กก็ดีขึ้นบ้าง ถ้าซื้อรุ่นใหญ่พิษเยอะก็จะส่งผลมากตามไปด้วยนั่นเอง การใช้ชื่อสัตว์ชนิดอื่นมาเป็นชื่อซีรี่ส์หรือรุ่นก็ดูไม่ส่งผลเท่านี้..

ซีรี่ส์ ปัจจุบันก็ยังคงใช้ชื่องูอยู่ ส่วน Shunyata : Viper (Z-Tron) ที่ได้รับนี้ คำว่า Viper แปลว่า งูพิษ จากข้อมูลศูนย์พิษวิทยา งูพิษตระกูล Viper เมื่อถูกกัดจะส่งผลต่อระบบเลือดทันที แผลจะมี 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำบริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที จะปวดกล้ามเนื้อตามตัวได้มาก และมีอาการของภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน

ถ้า เปรียบเทียบในด้านเสียงคือ เป็นงูพิษที่อย่างไรก็ยังคงเป็นงูพิษ เมื่อใส่สาย Viper ในซิสเต็มแล้วจะเห็นผลชัดเจน รวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ส่งผลยิ่งใหญ่นัก แต่ก็สามารถสร้างความแตกต่างให้เห็นได้ง่ายๆ

นอก จากนี้อีกจุดมุ่งหมายของ Shunyata : Viper (Z-Tron) คือมีราคาไม่แพงมาก เพื่อให้นักเล่นเป็นเจ้าของกันได้ง่ายขึ้น แต่คิดว่าไม่มีการละเลยคุณภาพ ทาง Shunyata คงไม่เอาชื่อเสียงมาทิ้งเป็นแน่ ซึ่งเดี๋ยวก็จะได้รู้กันว่าเป็นอย่างไร

Shunyata : Viper (Z-Tron) เป็นสายใหม่เอี่ยม แกะซองพลาสติกหุ้มกับมือ เริ่มต้นด้วยการเบิร์นอินก่อน ด้วยการต่อเข้าเครื่องบูลเรย์ แต่แอบลองดูแผ่นดีวีดี ช่วง 5 นาทีแรก ขอบอกว่า มัน “แย่” มากๆ แย่กว่าสายแถมที่เบิร์นอินแล้วในเรื่องความหยาบกร้านของภาพ ตัวอักษรดูฟุ้งๆ เลอะๆ แทบจะอ่านไม่ได้ ถือว่าเป็นสายใหม่ที่เริ่มต้นได้ไม่ดีเอาเสียเลย เมื่อเปรียบเทียบกับสายใหม่ๆ เส้นอื่นๆ มายังไม่แย่ขนาดนี้

แต่ค่า พารามิเตอร์พวกสีสัน แสงเงานั้น มีพลังเหลือเฟือ ต้องปรับพารามิเตอร์ใหม่ (ส่วนใหญ่ “หรี่” ลงอีก) แสดงว่าของ Shunyata เขา “แรง” จริง

ผมปล่อย ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงเศษ ลองมาดูอีกที ต้องบอกว่า นี่ละ “ใช่เลย” ความหยาบกร้านเริ่มหายไป ตัวอักษรที่ฟุ้งๆ เลอะๆ ดูเข้ารูปเข้ารอยอย่างที่ควรจะเป็น พิษงูเริ่มออกฤทธิ์แล้ว ผมแทบอดใจไม่ไหว พยายามเร่งวันเร่งคืน เพื่อให้สายเข้าที่เข้าทางมากเพียงพอที่จะทดสอบ จนในที่สุด เวลาผ่านไปราว 140 ชั่วโมงจึงเริ่มลงมือทดสอบ

เริ่มต้นต่อ เข้าเครื่องบูลเรย์ ลองดูภาพจากหนังที่ชินตา Initial D (Blu-ray แผ่นฮ่องกง, AVC MPEG-4) สีสันอาจไม่ชัดมากว่าเข้มข้นขึ้น แต่ทรวดทรงของภาพนั้นดีขึ้น มีตื้นลึก โค้งเว้ามากขึ้น รวมทั้งดูมีความคมชัดขึ้นเล็กน้อยในฉากโคลสอัพ สีอาจไม่อิ่มมากแต่มีความฉ่ำ ไม่แห้ง

Cars (Blu-ray แผ่นญี่ปุ่น, AVC MPEG-4) สีอิ่มเข้ม แต่เนียน มีความเป็นอะนาลอกมาก ไม่ใช่แบบดิจิตอล ทำให้ดูนานๆ ไม่ล้า ทรวดทรงกลมกลึงขึ้น
สรุปว่าการต่อที่ต้นทางโดยตรง ด้านสีสันจะเข้มขึ้นอีกนิด ทรวดทรงเป็น 3 มิติขึ้น คมชัดขึ้น แต่ความสว่างอาจจะทึมลงหน่อย แต่ไม่ใช่มืด ฉากมืดยังดูได้อยู่ คุณอาจเร่งความสว่างที่จอช่วยอีกนิด

 

ผลการลองฟัง Shunyata : Viper (Z-Tron)

หลัง จากต่อสายไฟเอซี Shunyata : Viper (Z-Tron) เข้าระบบแล้ว ผมปล่อยให้ทิ้งตัวนิ่งอีก 1 วัน เพื่อความถูกต้องเที่ยงตรงก่อนฟังทดสอบ นี่เป็นวิธีที่ผมปฏิบัติเสมอมา

เริ่มต้นด้วยการต่อที่เครื่องเล่นบูล เรย์ เริ่มดู Initial D (Blu-ray แผ่นฮ่องกง, LPCM 5.1) ไม่ได้แจกแจงให้แหลมมีปริมาณมากขึ้น หรือเบสที่เด้งตูมตาม แต่กลับนำเสนอบรรยากาศโอบล้อมดีขึ้น การแพนทิศถูกต้อง และให้รายละเอียดหลายอย่างที่แผ่วเบามีมากขึ้น แต่ไม่ได้เน้นจนเกินงาม ไดนามิกจริงจังขึ้น สวิงได้รุนแรงขึ้นอีกนิด ให้มีลมมาปะทะตัวเราได้มากขึ้น หัวโน้ตตัวแรกชัด ดีดตัวออกมาได้ดีก่อนจะคลายตัวลง แต่ไม่ต้องกังวลว่าเสียงทั้งหมดจะ “สด” เกินไป

ถือว่าการต่อตรงกับแหล่งโปรแกรม ได้ผลลัพธ์ที่ดี ถ้าเงินเหลือๆ จะซื้อหามาต่อก็ไม่ว่ากันครับ เพียงแต่ถ้ามองในแง่ความคุ้มค่าอาจจะแลดูไม่คุ้ม คุณอาจต้องใช้เครื่องบูลเรย์ระดับ 4 หมื่นขึ้นไป เพราะสายเส้นนี้ค่าตัว 2 หมื่นกว่า… นะครับ

ลองย้าย Shunyata : Viper (Z-Tron) มาต่อที่ปลั๊กกรองไฟซึ่งจะจ่ายให้ทุกเครื่องในระบบ Cars (Blu-ray แผ่นญี่ปุ่น Dolby True HD 6.1) รับรู้ได้ว่าการแพนทิศดีขึ้น โอบล้อมดีขึ้นมาก รับรู้ได้ว่ามีหลายเสียงให้ได้ยิน โฟกัสดีขึ้น ได้ยินเสียงระดับแผ่วเบาชัดเจนขึ้น มีความกระหึ่มขึ้นในบางฉาก ไม่ต้องกลัวว่าจะดูหนังไม่มัน ตรงข้ามเลย มันมี “รายละเอียด” ในรายละเอียดให้ได้ยิน โดยไม่ใช้การเน้นหรือเค้นให้ออกมา

เสียงโดยรวม พบว่า เสียงอะนาลอกขึ้น คล้ายขยับจากมิดเอนด์เป็นไฮเอนด์ โอบล้อมดีขึ้น  สนามเสียงด้านหลังดังขึ้น!! เนื้อเสียงมากขึ้น เสียงครางหลายฉากมีมากขึ้น บางฉากก็เท่าเดิม รายละเอียดแผ่วเบาดีขึ้น ได้ยินจากเดิมไม่รู้สึก แสดงความสามารถในการแจกแจงได้ดีจริงๆ ติดใจเลย อยากลองรุ่นแพงๆ

การ ต่อวิธีนี้ ผมว่าได้ผลมากกว่าตอนต่อเข้าเครื่องบูลเรย์ต้นทางเสียอีก! อาจเพราะเครื่องเล่นบูลเรย์ไม่กินไฟมากมายอะไร สายจึงมีผลระดับหนึ่ง แต่พอมาต่อเพื่อจ่ายให้หลายๆ เครื่อง ที่ต้องการกำลังไฟมากมาย และสาย Shunyata : Viper (Z-Tron) ก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี จ่ายพลังได้เต็มอิ่มขึ้นกว่าสายเดิม เสียงจึงออกมาน่าประทับใจ

นอกจาก นี้ผมว่าเทคโนโลยี Z-Tron ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเสียงที่ดีจริง จำได้ว่า มันช่างคล้ายคลึงกับช่วงที่ผมได้ฟัง Shunyata : Anaconda ท่อหดแดงก่อนหน้านี้เลย ในแง่ความเป็นอะนาลอก จริงอยู่ที่ซิสเต็มในการฟังนั้นไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่บางส่วนยังคงเดิม ผมยังพอจำได้ว่าภาพรวมนั้น ออกมาใกล้เคียงกัน ถ้าคุณอยากได้เสียงแบบ Anaconda คงต้องหามือ 2 ราคาก็ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท แต่วันนี้คุณไม่ต้องจ่ายถึงขนาดนั้นแล้ว เพราะค่าตัวใหม่เอี่ยมของ Shunyata : Viper (Z-Tron) แค่ 2 หมื่นกลางๆ เท่านั้น

เสียงนั้น ไม่ใช่..ก็ใกล้เคียง น่าเสียดายตรงที่ผมไม่สามารถยืม Shunyata : Anaconda มาอีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบ มิฉะนั้นทุกอย่างจะชัดเจนมากขึ้น แต่ทางผู้ผลิตเองก็เคลมว่า สามารถท้าชนกับสายที่แพงกว่า 2-3 เท่าตัวได้อยู่แล้ว

Wolfvoline (Blu-ray แผ่นไทย, dts MSTR 5.1) ถ่ายทอดบรรยากาศโอบล้อมดีมาก ให้การแพนทิศถูกต้อง เสียงเบสหนักแน่น เด้งตัวมหึมา เสียงกลางสะอาด ปลายแหลมสดใส พริ้วกังวานดี ไม่จัดจ้านใดๆ ดนตรีประกอบเร้าใจ

King Kong (Blu-ray 100th Anniversary, Augmented Reality Edition แผ่นอังกฤษ, dts MSTR 5.1) บรรยากาศโอบล้อมดีเยี่ยม แพนทิศทางได้ดีมากๆ ไดนามิกรุนแรง ความถี่ต่ำอิ่มแน่น ไม่ต้องกลัวว่าจะจืดๆ เรียบร้อย นุ่มนิ่ม ขาดความสะใจใดๆ ทั้งสิ้น

Unstoppable (Blu-ray แผ่นอเมริกา, dts MSTR 5.1) ไดนามิกนั้นมาเต็ม “เขย่าห้อง” ดีเหลือเกินจากเสียงหัวรถจักร ได้ยินรายละเอียดต่างๆ อย่างเหลือเฟือ แม้จะเคยดูมาหลายรอบแล้ว แต่ Shunyata : Viper (Z-Tron) กลับช่วยทำให้เกิดความน่าค้นหาไปเรื่อยๆ จนจบเรื่องว่าเสียงแต่ละฉากจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร
ลองมาฟังเพลงปิดท้าย เริ่มด้วย Usher Vol.6 และ 7 ให้การตอบสนองความถี่กว้าง ตรึงตำแหน่งที่ดี พลังเสียงดีไม่ตื้ออั้น ลงลึก เบสอิ่มมีเนื้อไม่บาง เสียงกลางสะอาดชัดเจน แหลมพริ้วกังวาน

ไซ่ฉิน Golden Voice Vol.1 (BM-206003) แหลมสะอาด พริ้วไม่แห้ง เสียงร้องชัดเจน เป็นดนตรี อักขระดีขึ้นเล็กน้อย เบสลดปริมาณลงแต่ราบรื่นได้สมดุลกว่า อารมณ์เพลงดียิ่งขึ้น มีรายละเอียดแผ่วเบาที่ดีกว่า

Jazz at The Pawnshop (Prophone PRCD 7778) แหลมสะอาด ชัดเจน เปิดโปร่ง เสียงกลางชัดเจน ให้การย้ำหนักเบาดี รายละเอียดแผ่วเบาดีมาก การสวิงดีมากหลุดลอยเป็นอิสระไม่ถูกกดเสียงไว้ เบสแน่น มีเนื้อดี

Jennifer Warnes : Famous Blue Raincoat (Private Music 01005-82092-2) มีรายละเอียดดีมาก แหลมลื่นไหล สะอาด กลางชัดเจนมีพลัง เบสกระชับ เวทีกว้างมิติตื้นลึกเลยกำแพงเข้าไปได้

Harry Belafonte Live In Concert At The Carnegie Hall (BMG/ RCA 74321 15713 2 (2) “บรรยากาศ” ในเวทีดีมาก ได้ยินเสียงรายล้อม เวทีกว้าง ลำโพงล่องหน มาถึงตรงนี้ ผมลืมเรื่องภาพลักษณ์ของสายที่เส้นไม่ใหญ่โตเท่ารุ่นพี่ไปแล้ว ถึงตอนนี้ ขนาดนั้น ไม่สำคัญอีกต่อไป และถ้าสาย Shunyata : Viper (Z-Tron) จะเส้นเล็กจิ๋วเท่าหลอดกาแฟ ผมก็จะซื้อ!!

ฟังไฟ Hi-res เริ่มจากไฟล์ Flac และ WAV หลายอัลบั้มสังกัด B&W, Naim ฯลฯ ที่บันทึกด้วยระดับบิทเรท 9xx-1,4xx Kbps เสียงโดยรวมเต็มไปด้วยสะอาด ชัดเจน เปิดโปร่งดีมาก กังวานใช้ได้ นอยส์ต่ำมาก ชิ้นดนตรีคมชัด หัวโน้ตตัวแรกนี่ได้ยินโดยง่าย และมีรายละเอียดแผ่วเบาค่อนข้างดี ได้ยินเสียงต่างๆ โดยง่าย..

Harry Belafonte At The Carnegie Hall ไฟล์ต้นฉบับจากแผ่นทอง มีรายละเอียดชัดเจนมาก ดูเหมือนเสียงกว้างขวาง และลึกกว่าแผ่นซีดี ถ้าซิสเต็มถึงเร่งดังๆ จะสด สะอาด ชัดเจนเสมือนฟังกันสดๆ จริงๆ โดยที่เสียงยังไม่พร่ามัว! มีการสวิงเสียงแรงมากๆ

เพลงอมตะ The Rose จากอัลบั้ม Amanda (Flac บิทเรท 6xx Kbps) น้ำเสียงหวาน ลื่นไหลดี น่าฟังมากๆ การสวิงเสียงทำได้ดี เวทีเสียงกว้างขวาง ลำโพงล่องหนโดยง่าย

Jennifer Warnes : Famous Blue Raincoat เพลง Bird on a Wire (Flac บิทเรท 8xx Kbps) เสียงนั้นสะอาดสอ้านชัดเจนมาก จิตเตอร์หรือความเพี้ยนต่างๆ ต่ำมาก การย้ำเน้นของหัวโน้ตตัวแรกชัดมาก ไดนามิกดี การตีกลองเสียงมีน้ำหนักดี

Violin Concertos No.4 ของ Mozart ต้นฉบับแบบ 24 Bits/192 kHz ไฟล์ Flac ที่ใช้บิทเรทสูงมากระดับ 5,1xx Kbps ปลายแหลมพลิ้วกังวานพอเหมาะ ไม่จัดจ้านบาดหู เสียงกลางสะอาด ชัดเจนดีมาก เบสมีมวลที่ดี ไดนามิกรุนแรงดี สวิงเสียงได้กว้าง

 

บทสรุป

Shunyata : Viper (Z-Tron) หากมองแต่เปลือกนอก คุณจะพบว่ามันเป็นสายไฟเส้นนึงที่ไม่ได้เรียกร้องความสนใจอะไรได้มากนัก แต่ทว่าเมื่อดำดิ่งลึกลงไปด้วยการฟังแล้วจะพบว่า ความเป็นธรรมชาติ ความเป็นอะนาลอกมีอยู่เต็มเปี่ยม มีรายละเอียดหลุดออกมาอย่างง่ายๆ ถึงพร้อมด้วยมิติ และบรรยากาศของเสียงซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ ฯลฯ และหากนำไปใช้ฟังผ่านไฟล์ความละเอียดสูง น่าจะเหมาะสมเป็นที่สุด (ในด้านความโอ่โถงของบรรยากาศ) ต้องขอบคุณเทคโนโลยี Z-Tron ที่ช่วยยกระดับเสียงให้ดีกว่าสายระดับราคาเดียวกันได้ ทำให้ท้าชนสายที่แพงกว่าได้ทั้งจากคู่แข่งต่างค่าย และนี่อาจเป็นสายที่ได้ชื่อว่า “ลูกศิษย์คิดล้างครู” ก็เป็นได้เมื่อคุณนำไปเทียบกับสายรุ่นพี่ค่ายเดียวกันในอดีต

หาก เปรียบเป็นรถ Shunyata : Viper (Z-Tron) นั้นเปรียบเสมือนคุณขับรถอีโค่คาร์อย่างซูซูกิ สวิฟท์ ที่รูปลักษณ์ภายนอกดูดีแต่ไม่มีพิษสง แต่ฮอนด้า แจ๊สหรือซิตี้กลับเกิดอาการน้ำลายเหนียวคอไม่สามารถแซงขึ้นหน้าไปได้สักที เพราะได้หัวใจอย่าง Z-Tron มาช่วยนั่นเอง

 

Look; มีกระเปาะโลหะที่มีซีรี่ส์นัมเบอร์ และลายเซ็นผู้ประกอบคาดไว้ช่วงกลางตัวสาย

Like; Z-Tron ช่วยอัพเกรดภาพ และเสียงให้ดีขึ้นชัดเจน

Love; ขนาดไม่สำคัญเท่าคุณภาพ สามารถท้าชนกันสายที่ราคาแพงกว่า 2-3 เท่าได้สบาย

ขอขอบคุณ บริษัท DECO 2000 จำกัด โทร. 0-2256-9700 ผู้แทนจำหน่ายที่ได้อนุเคราะห์ให้ยืมสายไฟเอซีมาทดสอบ

Exit mobile version