Test Report: Magnet MA-320 PHENIX
การุณชาติ พุกกะเวส
2-3 ปีที่ผ่านมา อินทิเกรตแอมป์กลายเป็นเครื่องยอดนิยมในการใช้งาน สนนราคาก็มีหลายระดับ ส่วนปรีแอมป์ / เพาเวอร์แอมป์มีตัวเลือกไม่มาก และราคาค่อนข้างแพงมาก จนนักเล่นกระเป๋าเบาต่างถอยฉากออกมา
ทาง Magnet ผู้ผลิตเครื่องเสียงคุณภาพเยี่ยมของไทย ได้เล็งเห็นการขยายตัวของตลาดในประเด็นนี้ จึงได้พัฒนาซีรีส์ใหม่ เพื่อให้นักเล่นได้ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพแต่มีราคาไม่สูงจนเกินไป กลายเป็นชุดคู่ขวัญปรีแอมป์ / เพาเวอร์แอมป์ ประกอบด้วยปรีแอมป์ Magnet : Cygnus และเพาเวอร์แอมป์ Magnet : MA-320 PHENIX ซึ่งแน่นอนว่ารูปลักษณ์ที่ออกแบบมาใช้งานคู่กันนั้นแลดูช่างกลมกลืนเสียนี่
ผม ได้รับมาทั้ง 2 ตัว และได้นำเสนอบททดสอบเฉพาะของปรีแอมป์ Magnet : Cygnus ไปแล้ว แน่นอนว่าในครั้งนี้จึงเป็นการทดสอบในส่วนของเพาเวอร์แอมป์ Magnet : MA-320 PHENIX
โดยที่ไลน์อัพของเพาเวอร์แอมป์จาก Magnet นั้นมีทั้ง 2 แชนแนลไปจนมัลติแชนแนล หลายระดับราคาด้วยกัน แต่ถ้าว่ากันที่ 2 แชนแนลจะมีดังนี้ MA-8A, SM-01, MA-320 PHENIX, MA-400 Limited Edition, Hyperion Reference ONE ไม่นับรวม Magkit MA-200A ที่เป็นเครื่องประกอบเองเพื่อให้ฝึกฝีมืออีกทางด้วย ถือว่ามีตัวเลือกพอสมควรทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เลือกตามความ เหมาะสมกับลำโพง และงบประมาณ
เมื่อดูแล้ว Magnet : MA-320 PHENIX คือ เพาเวอร์ระดับกลางของค่าย เน้นให้มีกำลังมากสักหน่อย เพื่อขับลำโพงได้หลายหลายกว่ารุ่นเล็ก และมีราคาไม่สูงจนเกินไป ลองมาดูกันว่าประสิทธิภาพจะดีเพียงใด ทั้งในแง่ฟังเพลง และ “ดูหนัง” รวมถึงความสามารถเล่นร่วมกับยี่ห้ออื่นได้หรือไม่?
แนวคิดการออกแบบ Magnet : MA-320 PHENIX
Magnet : MA-320 PHENIX ถูกออกแบบมาบนแนวคิดแห่งเสียงดนตรี บริสุทธิ์เพื่อตอบสนองกับทุกแนวดนตรี ให้สามารถถ่ายทอดเสียงดนตรีออกมาได้อย่างเหมาะสม มีกำลังออกสูงสุดต่อเนื่องข้างละ 160 วัตต์ ใช้วงจรแบบ Discrete Transistors ทั้งหมดตั้งแต่ Input Stage, Driver Stage ไปจนถึงภาค Output การจัดวางวงจรเป็นแบบ True Complementary ตั้งแต่ Input จนถึง Output เพื่อให้ความเป็น Linearity ลดความเพี้ยนได้ดีกว่า และทำให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น ภาคขยายที่ออกแบบเพื่อใช้ชดเชยคุณสมบัติของ Transistor ชนิด NPN และ PNP เพื่อให้ได้วงจร Output Stage ที่มีความสมดุลมากที่สุดเป็นผลให้เกิด Cross over Distortion Region ที่ต่ำสุด มี Current Gain Linearity ที่ดีทำให้สัญญาณที่ถูกขยายมีความต่อเนื่องมากที่สุด และได้ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ภาคจ่ายไฟใช้หม้อแปลงแบบ Toroidal ที่มีประสิทธิภาพสูงที่ออกแบบให้ขด Secondary แต่ละขดอิสระจากกัน เพื่อลดผลของ Inter-Channel Crosstalk Capacitor Filler และทำการ Bicap ด้วย Capacitor คุณภาพสูงชนิด Poly Propylene Film เพื่อลดผล Series Resistance (ESR) ให้เหลือน้อยที่สุด
คุณสมบัติพิเศษ Magnet : MA-320 PHENIX
– Symmetrical Complementary Output Stage Amplifier
– ให้กำลังขับสูง 160 วัตต์ x 2 แชนแนล (Ultralinear)
– ภาคจ่ายไฟใช้หม้อแปลงเทอร์รอยด์ขนาดใหญ่
– ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง
– มีการ Bicap ด้วย
– ใช้ทรานซิสเตอร์ข้างละ 4 ตัว
– มีครีบระบายความร้อนด้านนอก (ลบความคมออกไป)
– ใช้ขั้วต่อ XLR ของ Neutrik
– ขั้วต่อ RCA และขั้วลำโพงขนาดใหญ่ชุบทอง
– มีขั้วสำหรับต่อกราวด์
– มีช่อง 12V สำหรับรีโมทควบคุมการเปิดปิด
แอบดูภายใน Magnet : MA-320 PHENIX
ผมเองเห็นภายในของ Magnet : MA-320 PHENIX เครื่องต้นแบบเมื่อตอนไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ / โรงงาน ภาคจ่ายไฟใช้หม้อแปลงเทอร์รอยด์ขนาดใหญ่ติดตั้งกลางเครื่องค่อนมาทางด้าน หน้า ติดกันเป็นตัวเก็บประจุคุณภาพสูง ถ้าจำไม่ผิดใช้ 4 ตัว นอกจากนี้ยังมีการทำ Bicap ด้วยตัวเก็บประจุเพิ่มอีกจุดด้วย อุปกรณ์ต่าง ๆ จัดแบบสมมาตร ใช้เกรดค่อนข้างดี จัดวางเป็นระเบียบดี แล้วใช้ทรานซิสเตอร์ข้างละ 4 ตัวที่ขอบด้านข้างซ้ายและขวาเพื่อไปประกบติดกับครีบระบายความร้อน (ลบความคมออกไป) พอดี
ลักษณะทั่วไป Magnet : MA-320 PHENIX
เปิดกล่อง Magnet : MA-320 PHENIX ออกมาจะมีคู่มือ ตัวเครื่องจะถูกห่อด้วยพลาสติกใสอีกที
ตัวเครื่องดีไซน์ออกทางบึกบึน เครื่องที่ได้รับเป็น “หน้าสีเงิน”
แผง หน้าเป็นแผ่นอลูมิเนียมหนา เพิ่มความแข็งแกร่งให้เครื่อง โดดเด่นด้วยขอบซ้าย / ขวาทั้ง 2 ด้านจะมีก้อนสามเหลี่ยม พร้อมรอยบาก 3 จุด ประกบติดที่แผงหน้ายื่นกินพื้นที่ออกไปด้านข้าง (เพื่อคลุมครีบระบายความร้อน) ทำให้ดูคล้ายเครื่องจักรสังหาร กึ่งกลางด้านบนสกรีนยี่ห้อ ถัดลงด้านล่างเป็นดวงไฟ LED สีฟ้า (อาจสว่างจ้าเกินไปเมื่อใช้ในห้องโฮมเธียเตอร์) 1 ดวงแสดงสถานะการเปิดเครื่อง ด้านล่างเป็นสวิตช์เปิด / ปิดเครื่อง ด้านล่างมุมขวาสกรีนชื่อรุ่น MA-320 PHENIX – Symmetrical Complementary Power Amplifier
ด้านข้างซ้าย และขวาเป็นครีบระบายความร้อนเต็มพื้นที่ ลบขอบที่คม ๆ เรียบร้อย
ด้าน บนเห็นการยึดน๊อตข้างละ 4 ตัว พร้อมเจาระ 2 ข้างขนาดใหญ่ แล้วกรุด้วยตะแกรงสีดำ เพื่อให้การระบายความร้อนที่ดี ซึ่งพอมองเห็นการจัดวางอุปกรณ์ภายในบ้าง
ด้านหลัง จัดวางเลย์เอ้าท์ได้สวยงาม มีความสมดุลที่ดี กึ่งกลางด้านล่างเป็นเบ้ารับสายไฟเอซีแบบถอดได้ ด้านซ้ายเป็นการสกรีนชื่อยี่ห้อ / รุ่น ด้านขวาเป็นขั้วต่อลงกราวด์ และซีรีส์นัมเบอร์ เหนือเบ้ารับฯ ขึ้นไปเป็นกระบอกฟิวส์ถอดได้ สะดวกในการอัพเกรดฟิวส์ ใช้ค่า T7AL บนสุดเป็นช่อง 12V ขาออกสำหรับต่อรีโมทควบคุมการเปิดปิด ส่วนขาเข้าแบบ AC/DC 3-30V โดยมีขั้ว RCA / XLR พร้อมสวิตช์โยก ติดตั้งเรียงแนวนอนที่มุมซ้ายบน และขวาบนของเครื่อง ส่วนขั้วต่อลำโพงมีขนาดใหญ่ชุบทองข้าง 1 คู่ติดตั้งอยู่ด้านล่างของแต่ละมุม
พลิกดูด้านล่างจะเห็นว่าฐาน เครื่องทำเป็นปีกข้างละ 2 จุด เพื่อช่วยค้ำครีบระบายความร้อน และมีขาขนาดใหญ่ ยกลอยตัวเครื่อง นอกนั้นพื้นท้องเครื่องค่อนข้างเรียบ
สเปค Magnet : MA-320 PHENIX
– จำนวนแชนแนล 2 แชนแนล
– กำลังวัตต์ต่อเนื่อง ที่ 8 โอห์ม 160 วัตต์
– Signal gain 29dB ± 0.5 dB
– อัตราความเพี้ยน < 0.004%
– อัตราส่วนเสียงต่อสัญญาณรบกวน – 85 dB
– Input Impedance 58 kOhm
– ขนาดตัวถัง (กว้างxสูงxลึก) 481 x 152 x 187 มิลลิเมตร
อุปกรณ์ที่ใช้ทดลอง Magnet : MA-320 PHENIX
ห้องโฮมเธียเตอร์
เครื่อง Blu-ray : Panasonic : DMP-BD60 เจาะท้ายใส่ IEC ของ FIM สายไฟภายในเป็น Black Rhodium : Super mains ขาฟิวส์และฟิวส์ 3.15A ของ Bussmann ใช้สายไฟเอซี JPS : In Wall (หัว / ท้าย Wattgate กลมดำ) รองสายไฟด้วย Shunyata : Dark Field และ Shunyata : Dark Field mini อย่างละ 1 อัน เหนือลิ้นชักใส่แผ่นจูนด้วยทิปโท JJ : Screw Cone 1 ตัว ใส่ Wood Block : Versalab คั่นไว้ด้วย ตัวเครื่องวางบนแผ่นไม้จากชั้นวาง Target Audio : TT5 ด้านใต้รองด้วย Symposium : Rollerblock Series 2 แบบประกบเป็นแซนวิช ชุดหนึ่งกลับหัว ทั้งหมดวางบนแท่นรอง Brightstar Audio : Big Rock I (มีทรายภูเขาไฟ Lovan ผสมด้วย) จัดวางกลางห้อง
สำหรับการฟังเพลง ใช้ปรีแอมป์ Magnet : Cygnus จัดวางกลางห้อง ด้านหลังเครื่องเล่น Blu-ray เยื้องไปทางขวา วางบนชั้น Audio Arts : Trisolater ใช้สายไฟเอซี AudioQuest : NRG-2 (หัว Hubble : 8656E / ท้าย Shurter : 4781)
สำหรับดูหนัง ใช้เอ/วี รีซีฟเวอร์ Pioneer : VSX-LX70 เปลี่ยนฟิวส์เป็น Furutech : TF-15A ขาดช้า ผลิตที่ เยอรมัน วางบนชั้น XAV #111 ทับหลังเครื่องด้วยอิฐมหัศจรรย์ VPI : HW dB-5 และ XAV : EMX-9 (มุมขวา) ใช้สายไฟเอซี Kimber Kable : PK10 (หัว / ท้าย Wattgate : 330i / 350i) รองสายไฟด้วยแท่งคริสตัล 1 อัน
สาย HDMI สำหรับเสียง (จากเครื่องเล่นไปเข้าเอ / วี รีซีฟเวอร์) เป็นสาย Monster Cable : isf2000HD รองสายด้วย Cardas : Notched Myrtlewood Blocks Mini 1 อัน และ Cardas : Notched Myrtlewood Blocks 2 อัน
สาย HDMI สำหรับภาพ (จากเครื่องเล่นไปเข้าโปรเจคเตอร์) เป็นสาย Monster Cable : MC1000 (HDMI) ยาว 10 เมตร รองสายด้วย Cable Tower 3 อัน
โปรเจคเตอร์ JVC : DLA-RS10 อุดช่อง Composite / Component ด้วยปลั๊กอุด Cardas ติดตั้งแบบแขวนผนังด้วยขา Omni Mount : PMD2 รุ่นใหญ่สุด ใช้สายไฟเอซี Acoustic Zen : CL-3 (หัว / ท้าย Marinco แบบ Hospital Grade) มาเข้าปลั๊กลอย FIM : 886 จากนั้นใช้สายไฟเอซี Halu Cable (หัว Pass & Semour / ท้าย Shurter : 4781) ยาว 10 เมตรลากมาเข้าปลั๊กกรองไฟ
จอฟิกส์ Stewart : Grayhawk RS (Reference Screen) กรอบใหญ่+VeLux ขนาด 92 นิ้ว
เพาเวอร์แอมป์ Magnet : MA-320 PHENIX วางบนชั้น Finite Element : Spider ที่ชั้น 2 ตั้งอยู่เป็นอันสุดท้าย สายไฟเอซี Hovland : Main Line (หัว Hubbel : 8215 CT / ท้าย Furutech) รองสายไฟด้วย Shunyata : DarkField 2 อัน
ลำโพงโฮมเธียเตอร์เป็น Sonus Faber คู่หน้ารุ่น Concerto Home วางบนขาตั้ง Totem Stand : T4s สูง 24 นิ้ว เซ็นเตอร์รุ่น Solo Home วางบนชั้น Finite Element : Spider ชั้นบนสุด (สูง 3 ชั้น) เซอร์ราวด์รุ่น Concertino Home วางบนขาตั้ง JM Labs : Utopia สูง 24 นิ้ว วางบนแท่นไม้สัก, รองด้านล่างสุดด้วย Michael Tender Feet รุ่นจานบิน รวมสูง 26 นิ้ว
สายสัญญาณช่วงเครื่องเล่นต้น ทางไปยังปรีแอมป์เป็น Van Damme : Twin Audio (RCA), Monster Cable : Sigma Retro (RCA) ก่อนจะคงไว้ที่ Kimber Kable : Hero (XLR-Swisscraft) พร้อมอะแดปเตอร์แปลงจาก RCA เป็น XLR ส่วนส่วนสายสัญญาณช่วงปรีแอมป์ไปเพาเวอร์แอมป์เป็น Kimber Kable : Hero (RCA-WBT 0144)
สายสัญญาณคู่หลัง Van Damme : Shotgun Twin Audio Interconnect (RCA)
สาย ลำโพง Kimber Kable : 8TC ทั้งซิสเต็ม คู่หน้าคั่นด้วยบานาน่าปลั๊ก Monster Cable : Power Connect 2 รองสายลำโพงด้วยที่ยกลอยของ Cable Elevator ข้างละ 2 ตัวส่วนเซ็นเตอร์ และเซอร์ราวด์เข้าหัวบานาน่าของ Kimber Kable ตัวเซ็นเตอร์พาดสายบนชั้น Finite Element : Spider ส่วนเซอร์ราวด์ยกลอยด้วย บล๊อกไม้ Cardas : Multi Blocks ยาวเกือบถึงตัวลำโพง
แอคทีฟซับ วูฟเฟอร์ SVS : SB13-Ultra วางบน Master Stand Base : 2217 ทับด้านบนด้วยอิฐมหัศจรรย์ VPI : HW dB-5 สายไฟเอซี Monster Cable : Power Line 300 ใช้สายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ของ Monster Cable : M1000SW รองสายด้วย Cable Tower 3 อัน
สายไฟเอซีของเครื่องเล่นทั้งหมด (Blu-ray, โปรเจคเตอร์, เอ / วี รีซีฟเวอร์, เพาเวอร์แอมป์ และแอคทีฟซับวูฟเฟอร์เสียบต่อเข้าปลั๊กกรองไฟ PAC : Super Idos วางบนแผ่น Hi-Fi Block (เดอะหั่ง) รองสายไฟด้วย Shunyata : DarkField 2 อัน และ Shunyata : Dark Field mini 1 อัน ใช้สายไฟเอซีของ Sine : Cassio PC เสียบเข้าที่ตัวกรองกระแส DC ของ Perfect Power : Super DC Filter (ปรับปรุงภายในใหม่ และใช้ฟิวส์ Marsh 10A ชุบทอง) ภาคขาออกใช้สายไฟเอซี Supra : LoRad Double Run (หัว / ท้าย Wattgate กลมดำ) เสียบเข้าที่กำแพงใช้เต้ารับ Wattgate : 381 (ตัวแรก-ช่องมีดาว) ใช้ฝาครอบเต้ารับ FIM : 308-1 สายไวริ่งระหว่าง Wattgate : 381 ทั้ง 2 ตัวเป็น Supra : LoRad
ห้องฟังขนาด 4 x 5 x 2.2 เมตร กำแพงปูน พื้นกระเบื้อง มีพรมปูเกือบเต็มพื้นที่ เพดาน 2 ชั้น ผิวนอกเป็นยิปซัม / บริเวณผนังข้างด้านหน้าปะด้วยผ้าดำหุ้มฟองน้ำสูงเกือบเต็มห้อง ที่กลางห้องมีแผ่นซับเสียงสูตร RPG (DIY) ปะไว้จำนวนหนึ่ง มีจิ๊กซอว์ PRS จำนวน 1 คู่ ติดตั้งแนวดิ่งที่ด้านหลังจุดนั่งฟัง
ควบคุมสภาพอคูสติ กห้องด้วย แผ่น XAV : G-Sap เบอร์ 1 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังหลังลำโพงเมน, เบอร์ 2 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังหลังลำโพงเซอร์ราวด์ มี XAV : Trap พร้อมฐาน 1 คู่ XAV : Base Trap ตั้งมุมห้องด้านหน้า ใช้ Room Tune : Michael Green Audio 4 แท่งที่มุมทั้ง 4 ด้าน / Echo Tune 4 อัน
การติดตั้งและการเซ็ทอัพ Magnet : MA-320 PHENIX
Magnet : MA-320 PHENIX เป็นเครื่องที่ต้องการที่ระบายอากาศได้ดี อย่าไปใส่ไว้ในตู้หรือมีสิ่งใดรอบข้างใกล้เกินไป การมีน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างหนักมาก การยก / เคลื่อนย้ายต้องกระทำอย่างดี ชั้นวางควรจะมีความแข็งแรงที่ดี ส่วนการต่อสายต่าง ๆ ตัวเครื่องออกแบบมาสมดุล และจัดวางค่อนข้างห่าง จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องการใช้สายขนาดใหญ่ รวมทั้งสายจะพาดพันกัน
ส่วนเรื่องการเซ็ทอัพก็ไม่มีอะไรมาก อาจจะต้องขยับลำโพงไปมาบ้าง หากรู้สึกว่าเสียงยังไม่เต็มที่
ผลการลองฟัง Magnet : MA-320 PHENIX
เครื่อง Magnet : MA-320 PHENIX ที่ได้รับมาเป็นตัวใหม่เอี่ยม ผมต้องพยายามเบิร์นอินให้เข้าที่โดยเร็วเพื่อให้การฟังมีคุณภาพหวังผลได้
แน่ นอนว่าใหม่ ๆ กำลังอาจจะดูตื้อ ๆ ไม่เหมือนแอมป์ 160 วัตต์ รวมทั้งเสียงแหลมที่ค่อนข้างคมบาดหู ทั้งหมดต้องรันประมาณ 80 ชั่วโมงจึงจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
การต่อใช้งาน หากต่อในช่องอินพุท RCA เวลาเปิด / ปิดอาจจะมีเสียงตุ๊บเบา ๆ ซึ่งเป็นธรรมดาสำหรับเครื่องที่ใช้คาปาซิเตอร์ความจุสูง ๆ และไม่มีวงจรหน่วงเวลาเปิด หากเป็นไปได้ควรหรี่โวลุ่มของปรีแอมป์ให้สุดก่อนปิดเครื่อง และควรทิ้งไว้สักครู่หลังจากไม่ใช้งาน เพื่อให้กระแสในคาปาซิเตอร์คายตัวลงบ้าง ขณะที่ผมลองต่อผ่านอแดปเตอร์ XLR เพื่อใช้ช่องอินพุทแบบบาลานซ์ (อย่าลืมโยกสวิตช์ด้วย) พบว่า เสียงตุ๊บหายเป็นปลิดทิ้ง แนะนำให้หาอแดปเตอร์แปลงจาก RCA เป็น XLR มาใช้งานครับ
นอกจากนั้นการใช้อแดปเตอร์แปลงเป็น XLR มาใช้ จะได้ความดังขึ้น เบสดีขึ้น ชิ้นดนตรีโฟกัสขึ้นได้อีก (ถึงแม้ว่าการต่อแบบนี้จะไม่ใช่บาลานซ์ก็ตาม)
เริ่มต้นฟังเพลงโดยที่ก่อนฟัง ใจผมนั้นค่อนข้างกังวลว่าเสียงจะออกดุดันตามรูปลักษณ์หรือเปล่า? ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นอาจสดเกินไป ใช้ดูหนังอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อใช้ฟังเพลงจะพบว่าความนุ่มนวลอาจจะขาดหายไป…ใส่ The Weaver : Reunion at Carnegie Hall 1963 ทันทีที่โน้ตตัวแรกส่งเสียงออกมา ผมสบายใจมาก เสียงกลางสะอาด ไทมิ่งดี ไม่รีบเร่งร้องจนจบเพลงหรือช้าเนิบนาบเกินไป เสียงโดยรวมมีความชัดเจนดี สัญญาณรบกวนต่ำ มิติด้านลึกดี เสียงประสานร้องอยู่ด้านหลังไกลลิบเลยกำแพงห้องไป
ไซ่ฉิน Golden Voice Vol.1 (BM-206003) แทรค 1, 2, 6, 12 เสียงร้องสะอาด อิ่มหวาน ไม่แข็งกระด้างขาดความเป็นดนตรี ปลายแหลมฉ่ำพลิ้วกังวานทอดตัวได้ดี เบสกระชับมีเนื้อหนังดี
ถือว่าในการฟังเพลง Magnet : MA-320 PHENIX มีความเป็นดนตรีที่ดี ไม่แข็งกระด้างอย่างที่กังวล สามารถฟังได้เพลิน
เปลี่ยน มาดูหนังกันบ้างซึ่งผมจะเน้นมากสักหน่อย เริ่มจาก Death Race 3 (Blu-ray แผ่นไทย, dts MSTR 5.1) ต้องบอกว่าให้มิติ และโฟกัสชิ้นดนตรีที่ชัดเจนมาก รับรู้ได้ว่าเสียงต่าง ๆ เกิด ณ จุดใด แล้วเคลื่อนที่ไปทางใด ไม่ว่าจะแนวระนาบหรือแนวดิ่ง น่าชื่นชมทีเดียว สุ้มเสียงก็ไม่สดหรือพุ่งเปิดล้วน ๆ เพราะนั่นย่อมหมายถึงการ “เน้น” มากเกินไป
หนังเรื่องเดียวกันนี้ ช่วงโหม ถ่ายทอดไดนามิคที่รุนแรง อัดแน่น และควบคุมตัวเองได้ดี ไม่พร่าเลือนหรือวูบวาบ บ่งบอกว่ากำลังขับ 160 วัตต์ที่ให้มานั้น “เกินพอ” ต้องบอกว่าผมฟังในระดับที่ช่วงพีคดังสนั่นจนพูดกันไม่ได้ยินนะครับ
Initial D (Blu-ray แผ่นฮ่องกง, LPCM 5.1) ต้องบอกว่าเสียงแพนไปในทิศทางต่าง ๆ นั้น ให้ความชัดเจนที่ดีมาก รับรู้ได้ง่าย ๆ มีตำแหน่งแห่งหนที่แน่นอน แต่ก็ไม่ได้ชัดจนมากเกินไป นั่นเพราะเวลาดนตรีประกอบยังคงไว้ซึ่งความหวานที่ดี ไม่สดเกินไปอีกด้วย
Spiderman 3 (Blu-ray แผ่นญี่ปุ่น, LPCM 5.1) ดูเหมือนว่า กำลัง 160 วัตต์ของ Magnet : MA-320 PHENIX จะถูกโฉลกกับแผ่นนี้เป็นพิเศษ ชิ้นดนตรีฟังแล้วมีโฟกัสที่ชัดเจนขึ้น รับรู้ได้ว่า เสียงใดเกิดที่ตรงไหน ดังเบาอย่างไร ไม่มีการตีรวนกัน น้ำเสียงนิ่งสนิท ถือว่าเหมาะสมกับการดูหนังอยู่ไม่น้อย
และหากใครสัก คนจะพูดขึ้นมาว่า การดูหนังไม่ต้องใช้เครื่อง (เพาเวอร์แอมป์) ดีมาก ๆ อะไรก็ได้ เพราะฟังไม่ออก…ผมว่านั่นคงจะหมายถึงตัวบุคคลผู้นั้นเองเสียมากกว่าที่ฟัง ไม่แตกต่าง เพราะตอนนี้เวลาผมใช้ดูหนังหรือฟังเพลง สามารถถ่ายทอดอารมณ์วลาของคุณให้ดีขึ้นได้องลำโพงคู่ลักแสน) คุณจะพบว่า ้ยกสปีดดนตรีที่ช้า / เร็วต่างกันได้ เบสที่มีได้อย่างน่าชื่นชม ยิ่งถ้าคุณมีลำโพงคู่หน้าเจ๋ง ๆ หน่อย (ไม่จำเป็นต้องหลักแสน) คุณจะพบว่า Magnet : MA-320 PHENIX ช่วยส่งเสริมเนื้องานของลำโพงคู่โปรดของคุณให้ดีขึ้นได้
นอกจากนี้ Magnet : MA-320 PHENIX มีความเป็นมอนิเตอร์สูง ไวต่อการปรับจูนอีกด้วย ไม่ว่าจะลองเปลี่ยนสายสัญญาณ, เปลี่ยนลำโพง ฯลฯ คุณจะรับรู้ความแตกต่างได้ รับรองคุณจะสนุกกับการค้นหาความต่างที่มี ตรงนี้ถือว่าผมชอบเป็นส่วนตัว เพราะจะทำให้เราได้ยินความเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์ใหม่ที่เปลี่ยนเข้าไปได้ ไม่ใช่ใส่อะไรก็เฉย เพลงแบบเดิม ไม่เคยเปลี่ยน และถ้าเป็นแบบนั้น ผมคงไม่สนุกกับการเล่นอย่างแน่นอน
Cars (Blu-ray แผ่นญี่ปุ่น Dolby True HD 6.1) ให้สนามเสียงที่แผ่กว้าง แพนทิศทางแม่นยำ ชัดเจน บรรยากาศโอบล้อมเชื่อมโยงดีขึ้น ความถี่ต่ำอิ่มแน่น รายละเอียดย่านเสียงกลางชัดเจน รับรู้ทุกโน้ต ปลายแหลมสะอาด พลิ้วหวาน ไม่จัดจ้าน
Argo (Blu-ray แผ่นอเมริกา, dts MSTR 5.1) แจกแจงไดนามิคได้ดี เต็มกำลัง ช่วงโหมไม่ตื้ออั้น ได้ยินจุดกำเนิดเสียงของสนามเสียงด้านหน้าได้อย่างชัดเจน แพนทิศทางถูกต้องดีมาก
The Fast and The Furious (Blu-ray แผ่นอังกฤษ, dts MSTR 5.1) เสียงเต็มไปด้วยโฟกัสที่ดี แยกแยะได้เด็ดขาดว่าเสียงเกิดที่ใด ปลายแหลมกระจ่าง เปิดโปร่ง ไม่มีการรุกเร้าแข็งกระด้าง เสียงกลางชัดเจน รายละเอียดแผ่วเบาติดตามได้โดยง่าย เบสหนักแน่น มีพลัง เด้งตัวดี การสวิงเสียงกว้างขวาง ไม่ตื้ออั้น
ปิดท้าย ลองแผ่นดีวีดีกันบ้าง Chinese Zodiac (ดีวีดีโซน 3 Dolby Digital 5.1) ให้น้ำหนักเสียงดี แยกแยะทิศทางแม่นยำ ชิ้นดนตรีชัดเจน ไดนามิครุนแรงเท่าที่ฟอร์แมทดีวีดีจะให้ได้
บทสรุป Magnet : MA-320 PHENIX
Magnet : MA-320 PHENIX ถือว่ามีกำลังขับที่มากพอ สามารถใช้กับลำโพงได้หลากหลาย ไม่เลือกแอมป์กรณีจะใช้งานร่วมกับเอ / วี รีซีฟเวอร์ในการดูหนัง ชิ้นส่วนภายในคัดเกรด จัดวางวงจรได้สมดุล รูปลักษณ์บึกบัน แข็งแรง สามารถท้าชนกับเพาเวอร์แอมป์แบรนด์นอกได้สบาย
ตลอดเวลาที่ใช้งานไม่ ว่าจะเป็นดูหนังหรือฟังเพลง สามารถสร้างความแตกต่างในสัญญาณดิจิตอลได้เสมอ แต่ความแตกต่างนี้ไม่ได้เป็นการเสริมแต่งขึ้นมา หากทว่าเป็นเนื้อแท้ที่มีอยู่แล้วภายใน เพียงแต่เครื่องก่อนหน้าไม่สามารถที่จะคืนรูปออกมาให้เราได้ยิน!!
ถึง ตรงนี้ ผมได้ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลจนสุดทางแล้ว นับจากนี้ไปอยู่ที่จิตวิญญาณของคุณแล้วละครับว่าจะให้การเปิดใจยอมรับ เครื่องเสียงไทยนามว่า Magnet ได้หรือไม่?
ขอขอบคุณบริษัท แม็กเนท เทคโนโลยี จำกัด โทร. 0-2907-7923
ที่ได้อนุเคราะห์ให้ยืมเครื่องมาทดสอบ
– Look; รูปทรงบึกบึน แลดูคล้ายเครื่องจักรสังหาร
– Like; รองรับการต่อ XLR, เปลี่ยนฟิวส์ได้ทันที – Love; กำลังขับที่เหลือเฟือ, คุณภาพเสียงที่เป็นดนตรี |