Test Report : Karan Acoustics+Rockport Technologies กลุ่มแอมปลิฟายเออร์

0

รุ่นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบ

Karan Acoustics: LINEa & PSUa

Karan Acoustics: POWERa MONO

Rockport Technologies: LYRA

Test Report 

Karan Acoustics: LINEa & PSUa 

Karan Acoustics: POWERa MONO 

Rockport Technologies: LYRA 

รีวิวพิเศษครั้งนี้ทาง What Hi-Fi? Thailand โชคดีมีโอกาสได้เข้าไปรับฟังตัวจริงเสียงจริงของทั้งปรีแอมป์ รุ่นล่าสุด LINEa & PSUa และเพาเวอร์ แอมป์ รุ่น POWERa MONO จาก Karan Acoustics ควบคู่ขับขานระบบลำโพงชั้นเลิศที่ใครๆ ในวงการล้วนกล่าวขานถึง นั่นคือ Rockport Technologies รุ่น LYRA ซึ่งขอชี้แจงสักนิดนะครับว่า นี่เป็นการเดินทางมาฟังเทสต์นอกสถานที่ โดยได้ใช้ห้องฟังของบริษัท Innovative Audio Video (IAV) ณ อาคารตั้งฮัวปัก ละแวกหัวลำโพงในการรับฟังของผมครั้งนี้ โดยที่ห้องฟังมีขนาดกว้าง 4.93 ม., ยาว 7.75 ม. และสูง 2.79 ม. โดยประมาณที่ได้รับการทรีตเมนต์สภาพอะคูสติกเอาไว้อย่างดีของ IAV ซึ่งบอกตามตรงๆ ว่านั่งฟังตั้งแต่เช้าจรดเย็นได้อย่างเพลินใจ ไม่รู้สึกอึดอัด-อับทึบแต่อย่างใด เป็นอีกหนึ่งโชว์รูมที่ใส่ใจกับสภาพอะคลูติกห้องฟังชั้นเยี่ยมครับ 

เริ่มจาก Karan Acoustics มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบยุโรป ประเทศ เซอร์เบีย  Mr.Milan Karan ผู้มีประสบการณ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงกว่า 30 ปี ดำรงตำแหน่ง CEO ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Karan Acoustics ได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับ Ultra Hi-End เหนือชั้นยิ่งกว่ารุ่นเรือธงธรรมดา ภายใต้ชื่อ MASTER COLLECTION design โดยมีหลายผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ทั้งในส่วนของปรีแอมป์ (รุ่น LINEa และ LINEb) และเพาเวอร์ แอมป์ (รุ่น POWERa และ POWERb) เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบของบริษัท ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ปรีแอมป์รุ่น LINEa และ LINEb และเพาเวอร์ แอมป์รุ่น POWERa และ POWERb นั้นมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก  

ในขณะที่ Rockport Technologies เริ่มต้นธุรกิจในปี 1984 ภายใต้ชื่อ Payor Acoustics Inc. ด้วยจุดเด่นในแนวทางของ compact, satellite/subwoofer loudspeaker system.โดยมี Andy Payor เป็นผู้ก่อตั้ง และทำหน้าที่ chief designer ทั้งนี้ Rockport Technologies ตั้งอยู่ในเมืองชายฝั่งอันเงียบสงบของ Rockport ในรัฐเมน (Maine) สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจากความเป็น Payor Acoustics Inc. ในปี 1984 เรียกได้ว่า Rockport Technologies นั้นมีประสบการณ์ยาวนานมากว่า 30 ปีในแวดวงออกแบบลำโพงคุณภาพสูง ซึ่งรุ่น LYRA นี้นับว่า เป็นระดับสูงสุดที่ Rockport Technologies ได้ทุ่มเทประสบการณ์ทั้งหมดที่มีกันเลยทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ LYRA จะเป็นที่กล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก 

Karan Acoustics “MASTER COLLECTION”: LINEa & PSUa 

กลุ่มผลิตภัณฑ์ Master Collection range เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ฉลองครบรอบ 30 ปีของ Karan Acoustics ที่ค่อยๆ เติบโตอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยวางเป้าหมายให้ครอบคลุมในส่วนของปรีแอมปลิไฟเออร์ “LINEa/PSUa” ตามมาด้วยไลน์ปรีแอมปลิฟายเออร์ “LINEb” (แชสซีเดี่ยว) ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม phono preamplifiers อันได้แก่ “PHONOa/PSUa”  (3 phono inputs, RIAA, EMI, DECCA, COLUMBIA and TELDEC eq curve selection and absolute polarity selection), ปรีแอมป์โฟโนแชสซีเดี่ยว “PHONOb” (1 phono input, 5 eq curves and absolute polarity selection) ปิดท้ายด้วยเพาเวอร์ แอมปลิฟายเออร์แบบ โมโน-สองตัว และ สเตอริโอ-สองตัว นั่นคือ POWERa mono, POWERb mono, POWERa และ POWERb 

ทั้งนี้ Karan Acoustics ระบุว่า ได้ใส่ไว้ ความรู้ ประสบการณ์ และความรักในดนตรีทั้งหมดจากประสบการณ์ในการออกแบบ เพื่อวาระการฉลองครบรอบ 30 ปี – Master Collection ใหม่ของ Karan Acoustics ในการส่งมอบระดับความสุข และความพึงพอใจที่ไม่มีใครเทียบได้สู่ผู้ฟัง “LINEa & PSUa” นับเป็นผลิตภัณฑ์แรกสุดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Master Collection – ในฐานะของไลน์ปรีแอมป์ที่มีความล้ำสมัย พร้อมยูนิตจ่ายไฟแยกภายนอก (PSUa) ทั้งนี้ Karan Acoustics ระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็น “state of the art statement” อย่างแท้จริง เนื่องจากทุกแง่มุมของ LINEa & PSUa สะท้อนให้เห็นถึง 30 ปีแห่งความรู้ ประสบการณ์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและการผลิตเครื่องดนตรีระดับไฮ-เอนด์อันไร้ที่ติ การเลือกส่วนประกอบแบบพาสซีฟและแอคทีฟที่ดีที่สุดสำหรับ “LINEa & PSUa” เป็นผลมาจากการประเมินเชิงอัตนัย (subjective evaluations) และการวัดผลในห้องปฏิบัติการอย่างไม่สิ้นสุด มีการผลิตส่วนประกอบจำนวนมากจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง ตามข้อกำหนดเฉพาะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Karan Acoustics โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับโทโพโลยีของแผงวงจร PCB เนื่องจากสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด 

แผงวงจร PCB ของ Karan Acoustics ทำจากวัตถุดิบแยกส่วนโดยเฉพาะ (isolation raw material) ซึ่งทางเดินสัญญาณทองแดง (copper traces) ล้วนมีความหนา 75 ไมโครเมตร (สำหรับส่วนปรีแอมป์) และ 120 ไมโครเมตร (สำหรับหน่วยจ่ายไฟ และแอมปลิฟายเออร์) นอกจากนี้ Karan Acoustics ยังได้ขยายขอบเขตความพยายามก่อนหน้านี้ทั้งหมด รวมถึงในด้านของการออกแบบ และการผลิตฐานแท่นตัวเครื่อง (chassis) นอกเหนือจากความสวยงามที่โดดเด่นภายนอก วัสดุอะลูมิเนียมเกรดคุณภาพสูงสุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังคงถูกนำมาใช้เพื่อคุณสมบัติทางเสียงที่ดีที่สุด และมีความไวต่อผลกระทบ RF และ EMF ต่อวงจรภายในน้อยที่สุด ไม่เพียงแค่ส่วนประกอบพิเศษที่สุด แต่ยังคิดคำนึงถึงสำหรับการวางตำแหน่ง และการวางตำแหน่ง PCB ภายในแชสซีก็ได้รับการเลือกสรรอย่างพิถีพิถันเพื่อลดผลข้างเคียงทางกลเชิงลบ (negative mechanical side effects) 

ซึ่งแน่นอนว่า Karan Acoustics ได้พิถีพิถันอย่างที่สุดต่อการที่จะดำรง-รักษาความเร็วสัญญาณฉับพลัน (transient speed) พลังงาน (energy) ความชัดเจน (clarity) ความละเอียด (definition) โฟกัส (focus) ไมโครไดนามิก (microdynamics) รวมถึงโครงสร้างฮาร์โมนิกที่แท้จริงของดนตรี และความสามารถทางดนตรีโดยรวมของการบันทึกในการเล่นกลับ (played back) หลังจากการประเมินอย่างละเอียด Karan Acoustics ได้เลือกใช้ CMS (Critical Mass Systems) / ที่เป็นแบบ CS2-1.0 สำหรับขารอง-แยกสลาย (isolation/support feet) ผลิตภัณฑ์ Master Collection ทั้งหมด ซึ่งให้การแยกสลาย (isolation) การถ่ายโอนเรสโซแนนซ์ทางกลและทางคลื่นอากาศ () รวมถึงการป้อนกลับที่น้อยที่สุดไปยังแชสซี และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในปรีแอมป์ รวมทั้งหน่วยจ่ายไฟ (PSUa) ในขณะที่เพาเวอร์แอมป์ทั้งหมดใช้ขารอง-แยกสลายที่ใหญ่กว่า เป็นรุ่น CS2-1.5 ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนประกอบทั้งหมดของ Karan Acoustics เชื่อมต่อสายภายในด้วยสายแชสซีทองแดงบริสุทธิ์ (pure copper chassis wire) ของ Cardas Audio 

วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดได้รับการออกแบบในแบบ แอคทีฟคลาส A (active class A) โดยไร้ซึ่งการป้อนกลับ (no global feedback) แนวคิดนี้ขจัดความผิดเพี้ยนระหว่างโมดูลาร์ (inter-modular distortion – IMD) และวงจรทั้งหมดมีความสมมาตรอย่างแท้จริง (entirely symmetrical) ในลักษณะของ truly differential (balanced) และเชื่อมต่อ DC (ไม่มีตัวเก็บประจุ ตลอดเส้นทางสัญญาณเสียง) DC offsets ถูกควบคุมโดยวงจรเซอร์โว DC ที่เป็นกรรมสิทธิ์ โทโพโลยีการออกแบบเสริมอย่างสมบูรณ์ของ Karan Acoustics พร้อมความคลาดเคลื่อนที่น้อยที่สุด ทำให้มั่นใจได้ถึงความสมดุลที่สมบูรณ์แบบระหว่างสัญญาณเสียงซีกบวกและซีกลบ (positive and negative audio signal) ซึ่งให้ปริมาณการบิดเบือนเสียง หรือการรบกวนใดๆ อย่างเทียมเท่ากันทุกประการอย่างสมบูรณ์ (ที่อาจเกิดขึ้นกับขั้วสัญญาณทั้งสอง) ทำให้ได้มาซึ่งสัญญาณเสียงที่บริสุทธิ์ที่สุดที่เข้าถึงหูของผู้ฟัง 

ระดับเอาต์พุตของสัญญาณ (การควบคุมระดับความดังเสียง) ได้รับการออกแบบให้เป็นตัวลดทอนสัญญาณที่สมดุลเต็มที่ (แบบสมมาตร) ในลักษณะของ 4x fully balanced (symmetrical) attenuator พร้อมรีเลย์ที่รวดเร็วฉับไวเป็นพิเศษ รวมถึงตัวต้านทานที่ไร้ซึ่งสภาพแม่เหล็กซึ่งสั่งทำเป็นพิเศษ (ความคลาดเคลื่อน 0.1%) แผงวงจรของปรีแอมปลิฟายเออร์มีฟังก์ชั่น “ปิดเสียง” () อยู่ทั้งระบบควบคุมระยะไกล (remote control handset) และบนแผงควบคุมหลัก (main control panel) ที่สำคัญกว่านั้น ผู้ใช้ยังสามารถทำการเลือกขั้วสัมบูรณ์ (ค่าเฟสสัญญาณ) ได้จากบนรีโมทคอนโทรล ทำให้ผู้ใช้ทุกคนมีโอกาสเลือกขั้วสัญญาณที่ถูกต้องสำหรับการรับฟังตามที่ต้องการ อันเนื่องมาจากสภาพการบันทึกเสียงที่แตกต่างกัน (ทั้งอนาล็อกและดิจิตอล ) เนื่องจากสตูดิโอบันทึกเสียงและค่ายเพลงไม่มีมาตรฐานที่นำมาใช้อย่างเดียวกัน  

ปรีแอมป์ให้ความเป็นเชิงเส้น (linear) +0/-3dB จาก 1.5Hz ถึง 3MHz วงจร DC Coupled ที่รวดเร็วเป็นพิเศษ รับประกันว่า ไม่มีการเปลี่ยนค่าเฟสของสัญญาณเสียง หรือ ความคลาดเคลื่อนของค่าเวลาใดๆ ภายในตลอดช่วงย่านแบนด์วิธเสียง การขยายสัญญาณแรงดันไฟฟ้า (voltage amplifier) และเอาท์พุตสเตจทั้งหมดของ LINEa ใช้ส่วนประกอบแบบแอคทีฟที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำสุด (ความแม่นยำสูงสุด) ด้วยค่าความเร็วฉับพลัน (transient speed) ระหว่าง 30 ถึง 65MHz ซึ่งได้รับการออกแบบโดยใส่ใจในรายละเอียดที่ดีที่สุด เพื่อสร้างและรักษาประสบการณ์ทางดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (โดยไร้ซึ่งความล่าช้า ความไม่เสถียรของเฟส และแอมพลิจูด) ซึ่งมักจะอยู่นอกช่วงสุดขั้วด้านบนและด้านล่างของสเปกตรัมเสียง  

ทั้งนี้ต้องไม่ลืมความสำคัญพื้นฐานของแหล่งจ่ายไฟ วงจรการทำงานภายใน และส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้ แหล่งจ่ายไฟทั้งหมดของ Karan Acoustics ได้รับการออกแบบให้มีวงจรเรียงกระแสที่เร็วที่สุด และมีความต้านทานภายในน้อยที่สุด การกักเก็บสำรองพลังงานใช้ตัวเก็บความจุขนาดใหญ่ (huge capacitance) ให้การตอบสนองที่ถูกต้องแบบไดนามิกและรวดเร็ว รวมถึงการมี headroom มหาศาล พร้อมต่อการรองรับกับสัญญาณเมื่อมีความซับซ้อนและหลากหลาย โดยมีการกรองและควบคุมค่ากระแส-แรงดันไฟฟ้า (current-voltage filtration and regulation) มากถึง 9 ขั้นตอนในแต่ละช่องสัญญาณ ตลอดจนอุปกรณ์แยกสำหรับช่องสัญญาณเสียงแต่ละช่อง (หม้อแปลงแยกและวงจรควบคุม) ได้ถูกนำมาใช้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในส่วนของวงจรดิจิทัล, การเลือกอินพุต และจอแสดงผลเรืองแสงทั้งหมด ที่มีหม้อแปลง, การควบคุม และการกรองแยกจากกันโดยเฉพาะ 

เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Karan Acoustics ประกอบขึ้นด้วยมืออย่างแท้จริง นับตั้งแต่ส่วนประกอบที่เลือกสรรและทดสอบมาอย่างดี จนกระทั่งถึงชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใดๆ ของ Karan Acoustics แต่ละชิ้นผ่านการทดสอบการวัด และการฟังอย่างครอบคลุมก่อนที่จะออกจากโรงงานไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้ายสู่บ้านของผู้ฟัง 

Technical specifications: 
Line inputs: 4 balanced (XLR) and 2 unbalaced (RCA) 
Line outputs: 2 balanced (XLR) 
Input impedance: 30kOhm (balanced/unbalanced) 
Output impedance: 90Ohm 
Output level: 1.55V/RMS (nominal) 
18.0V/RMS (maximum/balanced/600Ohm load) 
Max. input level: 
(before saturation) 
5.4V/RMS (balanced/unbalanced/Gain set to 6dB) 
3.6V/RMS (balanced/unbalanced/Gain set to 9dB) 
Gain: +6dB or +9dB (adjustable) 
Frequency response: 20Hz to 20kHz, +/-0dB; (1.5Hz to 3Mhz, -3dB) 
Distortion: THD: 0.003% (Full output, 20Hz to 20kHz) 
IMD: 0.003% (Full output) 
Speed: Rise and Settling time <450ns 
Slew rate: 1.500V/us (Amplification stages) 
Signal to noise ratio: >120dB (unweighted) 
AC voltage: 115V or 230V (nominal line voltage) 
AC voltage range: +/- 10% (from nominal line voltage) 
Power Consumption: 60W (maximum) 
Warranty: 5 years, parts and labor 
Net dimensions: 504 x 126 x 390mm (whd); 19.8 x 5.1 x 15.3inch (whd) 
(Main control unit and Power supply unit) 
Net weight: 16.2kg / 35.4lbs – (Main control unit) 
17.1kg / 37.5lbs – (Power supply unit) 

  

Karan Acoustics MASTER COLLECTION: POWERa MONO 

เช่นเดียวกับการออกแบบ MASTER COLLECTION อื่นๆ แอมปลิฟายเออร์ POWERa MONO ใช้เฉพาะส่วนประกอบแบบพาสซีฟและแอคทีฟที่ดีที่สุดเท่านั้น (ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ อุปกรณ์เอาท์พุตแบบไบโพลาร์ สายไฟภายใน ตัวเชื่อมต่อ) รวมถึงหม้อแปลงแบบ Toroidal ที่มีขนาดใหญ่มาก แต่มีแมคคานิก (mechanically) และเงียบเป็นพิเศษ (ultra-quiet toroidal transformers) พร้อมด้วยแหล่งสำรองพลังงานจำนวนมาก (much greater reserve energy reservoirs) ภายในอุปกรณ์ภาคจ่ายไฟ Milan Karan ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ได้นำเสนอโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เข้ากับโทโพโลยีวงจรของผลิตภัณฑ์ที่มีมายาวนานของ Karan Acoustics  

การออกแบบสองประการของ MASTER COLLECTION จำเป็นต้องมีการนำเสนอที่ซับซ้อนมากขึ้นสำหรับ POWERa MONO ในความเป็นแอมปลิฟายเออร์แนวทางใหม่ ในการออกแบบและการใช้งานแชสซีหลัก (main chassis) และนับเป็นครั้งแรกในผลิตภัณฑ์ของ Karan Acoustics ที่มีกรรมสิทธิ์เฉพาะกับ built in Line (mains) Conditioner ผนวกอยู่ในตัว สำหรับการออกแบบที่เป็นตัวของตัวเอง (in house designed) 

แนวคิดแชสซีหลักใหม่ดังกล่าว นับว่า ส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างไม่น่าเชื่อในความเรียบง่ายขั้นสูงสุด วิธีใดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดขั้นตอนให้น้อยสุดๆ หรือ ดียิ่งขึ้นไปอีก ด้วยวิธีการกำจัดเรสโซแนนซ์ทางกลไกของส่วนประกอบต่างๆ ภายในแชสซี การเพิ่มมวลเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดสำหรับการหน่วงหนืดโดยรวม (overall damping) ที่เหนือชั้นกว่า แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การเลือกประเภทวัสดุที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อเพิ่มมวลทั้งหมดแล้วจะทำงานได้อย่างถูกต้อง …ความหมาย คือ ไม่เกิดอาการเรสโซแนนซ์เลย หรือ อาจจะเรสโซแนนซ์ที่ค่าความถี่ใดความถี่หนึ่ง หรือ อาจจะหลายค่าความถี่ที่จะไม่รบกวนโครงสร้างฮาร์มอนิกของเสียงดนตรีเอง (แนวทางนี้น่าจะเป็นไปได้มากกว่า) 

แชสซีของแอมปลิฟายเออร์ POWERa MONO ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ MASTER COLLECTION นี้ นับเป็นงานศิลปะในตัวเองที่น่าพึงพอใจ และมีจุดมุ่งหมายในระดับสูงสุด ความหนาแน่นของตัวมวล และความหนาของแผงด้านหน้า รวมถึงแผงด้านหลัง ตลอดจนฝาครอบด้านบนที่เพิ่มขึ้นนั้นมีประโยชน์มาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะของการใช้ชิ้นส่วนอะลูมิเนียมตันกลึงขึ้นรูปพิเศษด้วย CNC เป็นฮีทซิงค์แบบชิ้นเดียว (single piece unibody heatsink) สำหรับอุปกรณ์เอาท์พุตเป็นสิ่งที่มีส่วนช่วยมากกว่าสิ่งอื่นใดในการทำแชสซีใหม่ในเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ 

ท้ายที่สุดสำหรับความเป็น POWERa MONO – หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนอื่นๆ ในภาคจ่ายไฟของเครื่องขยายเสียง (จำเป็นสำหรับประสิทธิภาพเสียงที่ล้ำสมัย) คือ จุดประสงค์ของการออกแบบหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างมากมาย หากคุณภาพและความบริสุทธิ์ของพลังงานไฟฟ้าที่เข้าสู่เครื่องขยายเสียงนั้นไม่ได้มาตรฐานก็เกือบจะเท่ากับเป็นการฆ่าทุกอย่างให้มลายไป Karan Acoustics จึงมุ่งเน้นการออกแบบและโซลูชันที่เป็นตัวของตัวเอง สำหรับการถนอมรักษาคุณภาพกระแสไฟฟ้าให้ปราศจากสิ่งรบกวน รวมถึง DC ที่ไม่ต้องการ การออกแบบใช้งานภาคจ่ายไฟอันทรงประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่านวัตกรรมวงจรอื่นๆ ทั้งหมดภายในแอมปลิฟายเออร์ POWERa MONO 

มลพิษจากไฟฟ้ากระแสตรง (DC) สิ่งนี้ค่อนข้างสร้างความเสียหายให้กับส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบของแหล่งจ่ายไฟหลัก ซึ่งแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่อาจเป็นขั้วบวก หรือ ขั้วลบและมีแอมปลิจูดสูงถึงหลายโวลท์ ยิ่งแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงมีค่าสูงเท่าไร แกนของหม้อแปลงหลักภายในแอมปลิฟายเออร์ก็จะอิ่มตัวมากขึ้น และอุณหภูมิของขดลวดหม้อแปลงก็จะสูงขึ้น เพราะว่า แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงน้นเกือบจะเหมือนกับเป็นการลัดวงจร! , หม้อแปลงเริ่มสั่นสะเทือนทางกล (mechanical vibrations) ในระดับต่างๆ ความผิดปกตินี้ คือ สิ่งที่สามารถได้ยินจากเครื่องขยายเสียงภายในห้องฟัง ยิ่งหม้อแปลงไฟฟ้าหลักมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งไวต่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นความแปลกปลอมมากขึ้นเพียงนั้น และการสั่นสะเทือนทางกลก็จะดังมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน 

นอกจากเสียงรบกวนที่น่ารำคาญซึ่งส่งถึงผู้ฟัง และผลกระทบทางความร้อนต่อหม้อแปลงแล้ว ยังมีปัญหากับด้านที่เป็นกลางของแหล่งจ่ายไฟหลักอีกด้วย เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนค่าเฟสไปเป็นระดับต่างๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้คลื่นไซน์มีรูปทรงที่ถูกต้อง และสมบูรณ์แบบอย่างที่ใครๆ คาดหวัง ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอมปลิฟายเออร์ และลดทอนคุณภาพเสียงลงไปอย่างแน่นอน! 

เพื่อปกป้องแอมปลิฟายเออร์ที่มีเอาต์พุตกำลังขับสูงในรุ่น POWERa MONO การออกแบบ Line Conditioner ที่เหมาะสมพร้อม “ตัวกำจัด” DC ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดงานที่ยากหลายประการ ประการแรกและสำคัญที่สุด อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องไม่มีผลกระทบด้านลบต่อเสียงโดยธรรมชาติของตัวขยายเสียง ประการที่สอง จะต้องมีการระบุกระแสและแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟหลักอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงสามารถรองรับได้มากกว่าอย่างน้อยสามเท่า (3x) จากค่าสูงสุดที่ต้องการในความเป็นจริง ซึ่งหมายถึงพิกัด 60A หรือมากกว่า Karan Acoustics จึงภาคภูมิใจที่จะยืนยันว่า การออกแบบ Line Conditioner ภายในเครื่องขยายเสียง POWERa MONO ใหม่นี้ ตรงตามมาตรฐานและเกินกว่าเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นไปอีกมากได้อย่างสะดวกสบาย ไม่เพียงแค่นั้น Line Conditioner ใหม่นี้ยังมีฟังก์ชันสวิตช์เปิด/ปิด ทำให้ผู้ใช้สามารถเปรียบเทียบผลประโยชน์โดยตรงที่จะได้รับได้ตลอดเวลาในขณะที่แอมปลิฟายเออร์กำลังใช้งานอยู่ 

แอมปลิฟายเออร์ใหม่ยังใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่ดีเฉพาะตัวของขาแยกสลาย/รองรับ (isolation/support feet) รุ่น CMS CS2-1.5 ซึ่งมีขนาดเหมาะสมและรองรับน้ำหนักสุทธิได้มากถึง 105 กก. ช่วยให้เกิดความสมดุลในอุดมคติบนพื้นผิวรองรับใดๆ ได้ทั้งสิ้น …ผลลัพธ์สุดท้ายนั้น POWERa MONO คือเครื่องขยายเสียงที่เป็นอุดมคติในมุมมองของ Karan Acoustics สามารถส่งมอบความเป็นดนตรีที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งไม่มีใครเทียบได้ – ความโปร่งใส – เฮดรูม – ไดนามิก – ความรวดเร็วในสัญญาณฉับพลัน – พื้นเสียงรบกวนต่ำอย่างไร้ที่ติ (vanishingly low noise floor) และความชัดเจนแบบโฮโลแกรม 3 มิติที่เหมือนจริง และแทบจะจับต้องได้ 

Technical specifications: 
Inputs: 1 balanced (XLR) and 1 unbalanced (RCA) 
Input impedance: 30kOhm (balanced/unbalanced) 
Input sensitivity: 2.0V/RMS (for max output) 
Gain: +36dB 
XLR pin layout: PIN1-ground,PIN2-positive signal,PIN3-negative signal 
(when use RCA input you need to insert XLR shorting plug!) 
 
Power output: 2.100 / 3.600 / 6.000 W at 8/4/2ohm 
(peak power output: 2.400W at 8ohm) 
Frequency response: 20 Hz to 20 kHz, +/-0 dB; (DC to 300kHz, -3 dB) 
Distortion: THD 0.03% 
IMD 0.03% 
Speed: Rise and Settling time < 450 ns 
Slew rate 1.500 V/us (Amplification stages) 
Signal to noise ratio: >120dB (unweighted) 
Power supply: 2pcs of 2.700VA low noise toroidal transformers, 
210.000uF custom made capacitors bank 
AC voltage: 115V or 230V (nominal line voltage) 
AC voltage range: +/- 10% (from nominal line voltage) 
Warranty: 5 years, parts and labor 
Net dimensions: 504 x 292 x 603mm (whd); 19.8 x 11.5 x 23.7 inch (whd) 
Net weight: 105kg / 231lbs (each) 
Package dimensions: 720 x 410 x 820mm (whd); 28.3 x 16.1 x 32.3 inch (whd) 
Package weight: 130kg / 286lbs (each)  

Rockport Technologies: LYRA 

 “ตัวตู้ทั้งหมดสำหรับ Lyra ประกอบด้วยส่วนประกอบเพียงสองส่วน ได้แก่ ตัวเรือนด้านนอกและตัวเรือนด้านใน/แผ่นกั้น แต่ละส่วนประกอบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเป็นการหล่ออลูมิเนียมต่อเนื่องชิ้นเดี่ยว ซึ่งซ้อนกันเพื่อสร้างเปลือกด้านในและด้านนอกของคอมโพสิตตัวตู้ลำโพง 

…นับตั้งแต่ก่อตั้ง Rockport Technologies ได้แสดงถึงการออกแบบ ระบบตัวตู้เปิด หรือ รีเฟล็กโหลด (reflex-loaded designs) ที่เหนือชั้นกว่าตัวตู้แบบ ปิดสนิท (sealed enclosures) โดย Andy Payor ผู้ก่อตั้ง และทำหน้าที่ chief designer ได้ให้ข้อสังเกตถึงข้อดีของตัวตู้แบบ รีเฟล็กซ์โหลด ไม่ว่าจะในแง่ความไวที่มากขึ้น, การยืดขยายช่วงความถี่ต่ำที่ลึกยิ่งขึ้นเมื่อคำนึงถึงขนาดตัวตู้ ซึ่งรวมไปถึงการบิดเบือนที่ลดลงด้วย (lower distortion) โดยอาศัยการเคลื่อนตัวที่ต่ำกว่าของวูฟเฟอร์ (เหนือค่าเรโซแนนซ์ของท่อพอร์ต) เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางการเคลื่อนที่ของวูฟเฟอร์ในตู้ที่ปิดสนิท ทว่าข้อเสียของตู้แบบ รีเฟล็กโหลด ก็คือ เสียงเบสจะโรยตัว (rolls off) ได้ชัน (steeply) มากกว่าบนตัวตู้ที่ปิดสนิท (24dB ต่อออคเทฟ เทียบกับ 12dB ต่อออคเทฟ) และยังให้ประสิทธิภาพความฉับพลันทันใด (transient performance) ได้ไม่ดีนัก 

Payor เชื่อว่า เขาสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวตู้แบบ รีเฟล็กโหลด ในขณะที่สามารถลดข้อเสียให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะรุ่น Lyra เช่นเดียวกับลำโพง Rockport รุ่นอื่นๆ ที่มีการปรับเสียงซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ ส่งผลให้เสียงความถี่ต่ำ roll-off ที่ค่า 12dB ต่อออคเทฟ ในช่วงออคเทฟแรก (20 – 40Hz) โดยที่ Payor ได้กล่าวว่า ด้วยวูฟเฟอร์ประสิทธิภาพสูงของเขา พร้อมกับการปรับแต่งพอร์ต และการออกแบบครอสโอเวอร์อย่างระมัดระวัง ทำให้เขาสามารถได้รับประโยชน์จากการค่อยๆ โรยตัว (roll-off) ของเสียงเบสที่ทำได้ดีมากขึ้นที่ค่า 12dB ต่อออคเทฟ 

ยิ่งไปกว่านั้น Payor ยังกล่าวอีกว่า วิธีที่ลำโพง Rockport ผนวกรวมเข้ากับห้องนั้นเหมือนกับการออกแบบระบบลำโพง แบบตัวตู้ปิดสนิทมากกว่า อีกทั้ง Payor ยังคิดว่า เป็นความผิดพลาดสำหรับผู้ฟังที่จะถือคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งโดยพิจารณาว่า เป็นการออกแบบ ทุ้มสะท้อน หรือ ปิดผนึก (reflex or sealed design) หรือไม่-อย่างไร และผู้ฟังควรมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการดำเนินการจัดตำแหน่งวางตำแหน่งลำโพงได้ดีเพียงใด 

สำหรับ Lyra นับเป็นการผสมผสานระหว่างความประณีต (refinement) และพลังอำนาจ (authority) ที่ไม่มีใครเทียบได้ มาบรรจุอยู่ในตู้ลำโพงที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าที่สุดเท่าที่ Rockport Technologies เคยผลิตมา Andy Payor ได้ใส่ทุกสิ่งที่เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบลำโพงตลอด 35 ปีที่ผ่านมาลงใน Lyra และนี่เป็นผลงานศิลปะชิ้นเอก (masterpiece of art) อย่างแท้จริง พอๆ กับที่เป็นสุดยอดของวิศวกรรมล้ำสมัย (cutting-edge engineering) ด้วยเทคนิคการค้ำยัน (bracing), ครีบอันแข็งแกร่ง(stiffening fins), ช่องติดตั้งชุดตัวขับเสียง(drive unit recesses) และปริมาตรภายในทั้งหมด (interior volumes) เป็นส่วนสำคัญของตัวเรือนด้านใน/การหล่อแผงหน้าตัวตู้ เช่นเดียวกับชุดของโครงสร้างแข็งแกร่งรูปทรงรี (elliptical section stiffening ribs) ในตัวเรือนด้านนอก 

โปรไฟล์ภายนอกที่มองเห็นได้ของตัวเรือนทั้งด้านในและด้านนอกนั้นกัดกลึงขึ้นรูปด้วย CNC ห้าแกน (five-axis CNC) เช่นเดียวกับพื้นผิวทั้งหมดสำหรับติดตั้งชุดตัวขับเสียง และส่วนประกอบอื่นๆ เมื่อติดตั้งซ้อนกัน ชุดคุณสมบัติที่สอดประสานกันของโครงสร้างด้านในและด้านนอกของ Lyra จะก่อตัวเป็นลักษณะเขาวงกตของช่องต่างๆ (labyrinth of channels) ที่เต็มไปด้วยน้ำหนักมากกว่า 150 ปอนด์ของโครงสร้าง high hysteresis, high mass (115 ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต) สูตรเฉพาะของ Rockport Technologies พร้อมด้วย damping compound ซึ่งจะประสานโครงสร้างชั้นในและชั้นนอกเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิท เพื่อสร้าง “โครงสร้างเดี่ยว” ที่มีความแข็งและหนาแน่น กลายเป็นโครงสร้างแบบ “highly damped structure” นี่คือ ตัวตู้ DAMSTIF™ ของ Lyra อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่ไม่มีส่วนต่อประสาน และไม่มีตัวยึด เป็นโครงสร้างแบบชิ้นเดียว (monocoque construction) ขณะเดียวกันก็ให้การหน่วงหนืด (damping) ความแข็ง (stiffness) และมวล (mass) สูงสุดไปพร้อมๆ กัน 

อะไร คือ  DAMSTIF™ enclosure. 

DAMSTIF เป็นชื่อที่ Rockport Technologies คิดขึ้นมา เพื่ออธิบายโครงสร้างเปลือกอะลูมิเนียมหล่อแบบ monocoque สองชั้นแบบฉบับของ Rockport Technologies ด้วยวัสดุแกนหลักที่ทำให้หนืดหน่วง แบบยืดหยุ่นตัวได้ (viscoelastic damping core material) วัสดุอะลูมิเนียมนั้นให้ “ความแข็งแกร่ง” (stiffness) และมวลจำนวนมหาศาล และวัสดุแกนกลางที่มีลักษณะยืดหยุ่นหนืดให้ “การหน่วงหนืด” (damping) ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอะลูมิเนียมที่มีอการสั่นค้าง (ringy aluminum) นั่นคือ ที่มาของคำว่า DAMSTIF 

ประเด็นก็คือ โครงสร้างแบบคอมโพสิต (composite construction) เป็นแนวทางของ Rockport Technologies มาโดยตลอด แทบจะไม่มีกรณีใดที่วัสดุชนิดเดียวจะทำหน้าที่ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับงานได้ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตู้ลำโพง เพราะวัสดุที่แข็งและมวลหนัก ส่วนใหญ่มักจะมีค่า Q สูงมาก ซึ่งหมายถึง พวกมันจะสั่นพ้องเหมือนระฆัง! (ring like a bell!) 

ตัวขับเสียงที่ออกแบบสร้างภายในองค์กร (in-house drivers) โดยเริ่มต้นที่บริเวณด้านบนโครงสร้าง ด้วยทวีตเตอร์ Beryllium ที่ติดตั้งท่อนำคลื่น (waveguide-mounted) ของ Rockport Technologies โดยที่ Rockport อธิบายเพิ่มเติมว่า “ท่อนำคลื่นช่วยปรับปรุงการจับคู่อิมพีแดนซ์ทางเสียง (acoustic impedance match) ของทวีตเตอร์ที่ช่วงต่ำสุดของความถี่ตอบสนอง ส่งผลปรับปรุงคุณลักษณะที่จุดตัดกรอง/แบ่งช่วงความถี่เสียงกลางกับทวีตเตอร์” Lyra ใช้ตัวขับเสียงกลางเจเนอเรชันล่าสุดของ Rockport ที่มีการปรับค่าความหนาในส่วนต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยเป็นกรวยคอมโพสิตแซนวิชคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fiber sandwich composite cones) ที่สอดรับเข้ากันกับชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ความผิดเพี้ยนต่ำพิเศษอันทรงพลังของ Rockport พร้อมด้วยแบนด์วิธที่กว้างขวางมากๆ ครอบคลุมช่วงการทำงานได้เกือบ 6 ออคเทฟ และ ค่าความผิดเพี้ยนต่ำกว่าแอมปลิฟายเออร์บางตัวซะอีก (-60 dB!) 

ในขณะที่ส่วนล่าง – เป็นการจัดส่งช่วงความถี่ต่ำที่ใช้ตัวขับเสียงเบสที่ Rockport กำหนดค่าเอง แบบคอมโพสิตคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fibre composite bass drivers) ขนาด 10 นิ้วสองตัวต่อข้าง ซึ่ง Rockport กล่าวว่า “ระบบชุดตัวขับขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้วของวูฟเฟอร์ให้ค่าเฮดรูมทางกล (mechanical headroom) และทนต่อความร้อนมหาศาล ซึ่งให้คุณสมบัติทางค่าความผิดเพี้ยนทางเสียงต่ำสุดๆ เทียบเท่ากับตัวขับเสียงกลาง (-60 dB!) พร้อมด้วยการยืดขยาย (extension), ขับง่าย (ease) และรายละเอียดฮาร์โมนิกเสียงของตัวขับเสียงเบสของ Lyra นั้น น่าตกใจสำหรับขนาดตัวขับเสียงระดับนี้” 

สามปีของการพัฒนา 30 ปีในการสรรค์สร้าง 

สุดยอดของการออกแบบและการผลิตลำโพงยาวนานถึงสามทศวรรษ “Lyra” คือ การแสดงออกถึงแก่นสารของงานฝีมือของ Rockport Technologies เท่าที่เคยมีมากว่าสามสิบปีแห่งประสบการณ์ ภายใต้ความซับซ้อนเป็นพิเศษ ทว่าเรียบง่ายสวยงาม 

Lyra ได้รับการกำหนดค่าการทำงานเป็นแบบ 3.5-ทาง โดยที่ไดรเวอร์เสียงกลางทั้งสองตัวทำงานพร้อมกันที่ปลายล่างสุดของช่วงความถี่ตอบสนอง เสียงกลางย่านความถี่ต่ำโดยเฉพาะจะเริ่มโรยตัว (rolloff) ที่ประมาณ 500 Hz ในขณะที่ความถี่เสียงกลางซึ่งครอบคลุมเป็นช่วงย่านกว้างมากยังคงทำงานขับขานความถี่สูงขึ้นต่อไป เพื่อให้ตรงกับความถี่ท่อนำคลื่นที่ติดตั้งบน beryllium tweeter ของ Rockport ด้วยการเพิ่มพื้นที่ผิวของตัวขับเสียงกลางเป็นสองเท่า (เท่ากับวูฟเฟอร์ 8 นิ้ว) ในย่านเสียงกลางด้านล่างอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นจึงเปลี่ยนไปใช้ยูนิต 6 นิ้วตัวเดียว เพื่อความสอดคล้องกันของแหล่งกำเนิดจุดที่แท้จริง (true point source coherency) “Lyra” จึงส่งมอบการผสมผสานที่ไม่มีใครเทียบได้ 

สุดท้ายแล้วไซร้ การดำเนินงานในการออกแบบและผลิต Lyra นั้นก็เพื่อบรรลุจุดประสงค์หลักสำคัญประการเดียว นั่นคือ การนำเสนอเพลงและดนตรีที่บันทึกไว้ด้วยความสมจริงอย่างยอดเยี่ยม ราวกับนำพาผู้ฟังหวนกลับไปสู่งานดนตรีต้นฉบับ พูดง่ายๆ ก็คือ Lyra นำเสนอความละเอียดสูงสุด (highest resolution) และพื้นเสียงรบกวนต่ำสุด (lowest noise floor) ที่หาได้จากลำโพงตัวขับเสียงแบบ ไดนามิก ผสมผสานกับความสมบูรณ์ของฮาร์มอนิกเสียงที่ไม่มีใครเทียบ และการนำเสนอไดนามิกที่ง่ายดายต่อการรับรู้ ความแข็งแกร่งของการนำเสนอ เสียงจากแหล่งกำเนิดเดี่ยวที่ลำโพงนี้เปล่งออกมา และความสามารถในการสื่อสารสู่ความตั้งใจของศิลปินจะทำให้ Lyra เป็นการซื้อครั้งสุดท้าย ที่น่ายินดีสำหรับผู้ชื่นชอบและคลั่งไคล้ในเสียงเพลงและดนตรี 

คุณภาพการรับฟัง 

สำหรับการฟังในครั้งนี้ ทาง IAV ได้จัดเต็มนับตั้งแต่ต้นทางที่เป็น Esoteric รุ่น N-05 เน็ทเวิร์ค ออดิโอ เพลเยอร์ ระดับซุปเปอร์ไฮ-เอ็นด์ ซึ่งต้องยอมรับว่า ให้คุณภาพเสียงเกินราคามากๆ หากแต่ว่าทาง IAV ยังได้เตรียม MASTER CLOCK GENERATOR ระดับสุดยอดของโลก ตัวใหม่ล่าสุดรุ่น Grandioso G1X “Master Sound Discrete Clock” ที่วิศวกรของ Esoteric ได้พัฒนาขึ้นอย่างรุดล้ำนำหน้าในความเป็น discrete technologies (โปรดติดตามบทความรีวิวแยกโดยเฉพาะสำหรับ Grandioso G1X) ซึ่งต้องขอบอกว่า “เหนือชั้น” ยิ่งกว่า Grandioso G1ตัวเดิม ที่ใช้ Rubidiumเป็นตัวสร้างความถี่อ้างอิงในระดับอะตอม ทำให้การรับฟัง Esoteric รุ่น N-05 ได้รับการยกระดับขึ้นไปอีกขั้นในทุกๆ ด้าน  

ในส่วนของปรีแอมป์นั้นเป็นของKaran Acoustics: LINEa & PSUa ป้อนสัญญาณเข้าสู่เพาเวอร์ แอมป์ Karan Acoustics: POWERa MONO จากนั้นจึงขับขานระบบลำโพง Rockport Technologies รุ่น Lyra – ซึ่งมีน้ำหนักแต่ละตัวมากกว่า 250 กิโลกรัม ในความเป็นระบบลำโพงตั้งพื้น 3.5 ทาง 5 ตัวขับเสียง/ข้าง ที่ออกแบบมาให้ครอบคลุมช่วงความถี่ตอบสนองได้กว้างขวางมากเป็นพิเศษตั้งแต่ 20Hz – 30kHz โดยมีค่าอิมพีแดนซ์ปกติที่ 4 โอห์ม ค่าความไวเสียง 90 ดีบี รองรับกำลังขับแอมป์ต่ำสุด 30 วัตต์ ซึ่งนี่คือ สุดยอดของการออกแบบและการผลิตลำโพงกว่าสามทศวรรษของ Rockport Technologies “Lyra” นับเป็นลำโพงที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016) และเป็นผลงานการออกแบบของ Andy Payor – 100% (Andy Payor เป็นผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Rockport Technologies) ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ลำโพง Rockport ทุกตัวที่ได้ผลิตขึ้นมา Andy Payor จะได้ลงมือปรับแต่งครอสโอเวอร์ด้วยมืออย่างละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือ การอุทิศตนอย่างน่าทึ่งให้กับงานฝีมือของ Andy Payor ที่น่ายกย่อง  

ต้องยอมรับว่า ลำโพงบางรุ่นในระดับไฮ-เอ็นด์ที่เคยรับฟังสามารถสำแดงให้เห็นถึงการตอบสนองสัญญาณฉับพลัน (transient) ได้อย่างเที่ยงตรง และยอดเยี่ยม แต่สำหรับ Lyra นั้นนับว่า ให้ในความ ‘แตกต่าง’ ที่สามารถตอบสนองสัญญาณฉับพลันในความเป็นเชิงเส้นได้ตลอดช่วงความถี่สเปกตรัมเสียง โดยไม่มีแถบช่วงความถี่ใดจะช้ากว่า หรือว่า ขาดน้ำหนัก และแรงกระทบกระแทกเมื่อเทียบกับความถี่อื่นๆ ซึ่งความแตกต่างนี้มักจะสามารถรับรู้ได้ในความมีชีวิตชีวาจากลำโพงที่เป็นแบบฮอร์นเท่านั้น นี่จึงนับเป็นความโดดเด่นประการแรกที่น่ายกย่องของ Lyra …สืบเนื่องมาจากการใช้งานมิดเรนจ์สองตัวทำงานคู่ขนานกัน และตัวหนึ่งถูกออกแบบให้ “ยึดขยาย” ความถี่ตอบสนองให้ขึ้นไปสอดรับกับทวีตเตอร์ ส่วนอีกตัวหนึ่งถูกออกแบบให้ “ทอดตัว” ความถี่ตอบสนองให้ลงมาสอดรับกับวูฟเฟอร์ กลายเป็นความกลมกลืน-กลมกล่อม ต่อเนื่อง-ไหลลื่นทางเสียงอันน่าประทับใจ ในขณะที่ได้มาซึ่งความฉับพลันทันใดอันน่าทึ่งควบคู่กัน  

Lyra ให้ความชัดเจนเป็นพิเศษกับความสอดประสานกัน สรรพเสียงที่เป็นเนื้อเดียวกัน เครื่องดนตรีทุกชิ้นถูกนำเสนอด้วยรายละเอียดที่แจ่มชัด แม้กระทั่งชิ้นดนตรีที่ฝังแทรกอยู่ในแต่ละช่วง แต่ละท่อนของบทเพลง …แน่นอนว่า Lyra สามารถนำเสนอการจำแนกแยกแยะของเสียงสองเสียงที่แตกต่างกันออกมาให้รับรู้ได้อย่างชัดเจน ในระดับองศาที่มากกว่าที่เคย “Lyra” สำแดงถึงไดนามิกอย่างน่าทึ่งมากๆ ออกมาให้รับรู้ จนพูดได้เลยว่า คุณสมบัติที่โดดเด่น และให้ความสำคัญทางเสียงดนตรีมากที่สุดของ Lyra คือสิ่งที่ว่านี้ …ลำโพงตัวนี้รวดเร็ว ฉับไว และสดสะอาด โปร่งกระจ่างอย่างไม่น่าเชื่อ เสียงฉับพลันทันใด (transient) ปรากฏขึ้นมาอย่างฉับไว รวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ !! โดยไร้ซึ่งการลดทอนแรงกระทบ-ปะทะ จนราวกับแรงกระแทกจากของจริง “Lyra” นั้นเร็วมากๆ จนแทบไม่เห็นความแตกต่างในความเร็วตอบสนองของแอมปลิฟายเออร์ชนิดที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน 

เสียงแหลมที่เป็นเบอริลเลียมโดมของ Lyra ที่ผสานรวมกับเสียงกลางด้านบนนั้น ต้องยอมรับอย่างไร้ที่ติว่า ยอดเยี่ยมมากๆ ด้วยน้ำเสียงมีความราบรื่น พละพลิ้ว และสอดคล้องต้องกัน ต่อเนื่องเป็นพื้นเสียงเดียวกัน โดยไม่มีความรู้สึกถึงปลายเสียงแหลมสูงๆ ที่แยกจากกัน …ปลายสุดของช่วงย่านด้านบนได้รับการขับขานอย่างประณีต ละเมียดละไม พร้อมด้วยรายละเอียดยิบย่อย อันไร้ซึ่งความคมคาย-จัดจ้า (brightness) หรือว่า ความเป็นโลหะ (metallic) ของ beryllium dome ที่อาจพบเจอในลำโพงบางรุ่น …ซึ่งยิ่งฟังจะยิ่งเห็นได้ชัดว่า Lyra นั้นให้ความผ่อนคลาย ละมุนละไม อ่อนโยน และลื่นไหลไพเราะเป็นอย่างยิ่ง “Lyra” ต้องเป็นลำโพงที่มีความผิดเพี้ยนต่ำมากๆ พื้นเสียงรบกวน (background noise) ก็ต่ำสุดๆ รายละเอียดจึงเด่นชัด และฉับไว แทบจะไร้ซึ่งความเหลื่อมล้ำ-ล้าช้าทางค่าเวลาของการตอบสนองอันสมจริง ทั้งยังไม่มีเกรนเสียง (grain) หยาบกร้าน กระด้างหู 

“Lyra” นั้นส่งมอบเสียงร้อง (vocal) ที่ให้ความเป็นธรรมชาติโดยสิ้นเชิง เต็มเปี่ยมด้วยพลัง แต่ไร้ซึ่งความกระด้าง (sizzle) หรือ ความสากกร้าน (harsh) น่ารำคาญในช่วงพีคของเสียง ซึ่งนี่ได้สร้างความรู้สึกเสมือนกำลังรับฟังนักดนตรีแสดงจริงๆ มากกว่าฟังผ่านซิสเต็ม “Lyra” ให้เสียง “ใหญ่” ในทุกแง่มุมของคำจำกัดความ ทั้งการยึดขยาย-ทอดตัว และพละกำลัง รวมไปถึงในแง่ของไดนามิก และอิมแพค เสียงเบสของ Lyra นั้นทั้งรวดเร็วกว่า หนักแน่นกว่า และแม่นยำกว่า ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการใช้วูฟเฟอร์ขนาด 10 นิ้ว สองตัวทำงานร่วมกันในแต่ละข้าง มวลที่เบากว่าของตัวกรวยจึงให้แรงผลักดันมวลอากาศที่ฉับพลันกว่า ซึ่งเมื่อวูฟเฟอร์มวลเบาสองตัวทำงานร่วมกัน ความหนักแน่น ทรงพลังของแรงปะทะจึงให้ความโดดเด่นเป็นประการที่สอง นอกเหนือจากการส่งมอบรายละเอียดเสียง และฮาร์โมนิคอันน่าพอใจยิ่งนัก 

กระทั่งการส่งมอบสเกลเสียง รวมถึงการจัดรูปวง-ตำแหน่งชิ้นดนตรีในสภาพเวทีเสียงก็นับว่า ให้ความสมจริงอย่างน่าทึ่ง ซึ่งหากคุณเดินเข้าไปในห้องฟังโดยหลับตาไม่มอง และได้ยินแค่เสียง …คุณจะตกใจ !! เมื่อลืมตาขึ้น แล้วเห็นว่า Lyra มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบเคียงกับเสียงที่รับรู้ ปลายเสียงเบสช่วงล่างสุดก็ทอดตัวลึกล้ำ เพียบพร้อมด้วยความหนักแน่น และฉับพลันในไดนามิคทุกย่านเสียง “Lyra” นั้นมี “ความฉับพลัน-ทันใด” อันน่าตกใจ … Lyra นำเสนอด้วยความสมจริงอย่างเหมือนกำลังอยู่ท่ามกลางในเหตุการณ์จริง เปี่ยมในมวลอากาศอย่างยากที่จะอธิบายให้เข้าใจ… Lyra เป็นลำโพงที่คุณสามารถรับฟังได้เพลิดเพลินใจในทุกระดับการรับฟัง เร่งเสียงดังๆ แล้วฟังต่อเนื่องได้เป็นเวลานานโดยไม่เมื่อยล้าโสตประสาท กลับจะชักนำให้คุณได้เข้าถึงซึ่งความเสมือนจริงในบรรยากาศการแสดงสด (live performance) ของบทเพลงที่รับฟังอย่างดื่มด่ำอิ่มเอมใจเสียด้วยซ้ำ 

คงต้องยกยอดความดีงามส่วนใหญ่ให้กับ Rockport Technologies ที่สามารถผลักดันความล้ำสมัยในการออกแบบ Lyra ให้เป็นลำโพงที่สมบูรณ์แบบในทุกด้าน ด้วยโครงสร้างที่ประณีต และสร้างสรรค์ ตลอดจนคุณภาพเสียงอันเต็มเปี่ยมใน “ความมีชีวิตชีวา” ในแบบที่หาได้ยากในลำโพงอื่นใดจะมาเทียบเคียง …ไม่น่าจะมีลำโพงแบบ ไดนามิค (dynamic) หรือ  moving coil ใดๆ ที่จะส่งมอบความฉับไวทางเสียงได้ปรู๊ดปร๊าด เปล่งประกาย “ความมีชีวิตชีวา” โดยไม่เกินจริงในสมรรถนะและประสิทธิภาพ แทบไม่ต่างจากความเป็นลำโพงฮอร์นระดับสุดยอดได้เหมือน Lyra อีกแล้วกระนั้น …นี่คือ ความสำเร็จของ Rockport Technologies อันแท้จริง โดยมี Karan Acoustic และ Esoteric เป็นตัวร่วมสนับสนุนความสุดยอดในซิสเต็มให้ทุกๆ อย่างที่รับฟังเป็นเหมือนฝันที่เกิดขึ้นจริงๆ ตรงหน้าตลอดช่วงเวลาที่รับฟัง 

สรุปส่งท้าย 

Rockport นั้นเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาวิธีการสร้างตัวตู้ที่เป็นนวัตกรรมมายาวนาน และสำหรับ Lyra บริษัทได้ดึงเอาทั้งหมดออกมา ชนิดที่ว่าไม่เคยมีการสร้างตู้ลำโพงอื่นใดให้มีความซับซ้อนในระดับนี้ …ในปัจจุบันคงไม่เกินจริงสำหรับแนวทางและวิธีการสร้างตัวตู้ให้แข็งแกร่งและหนืดหน่วงได้ดี (well damped) ที่คงไม่มีใครจะยิ่งใหญ่เท่า Rockport Technologies รุ่น Lyra ใหม่นี้อย่างแน่นอน  

สำหรับ Lyra ทาง Rockport แสดงให้เห็นว่า การลดเสียงกำทอนของตู้ (cabinet resonances) ไม่ใช่แค่เพียงแต่ทำให้เสียงดีขึ้นเท่านั้น ทว่ายังเผยให้เห็นชัดเจนว่า เสียงเพลงเล่นกลับที่รับฟังอยู่นั้นสามารถฟังดูเป็นอย่างไร เมื่อปราศจาก “เสียงรบกวนในตัวเอง” (self-noise) ทั้งยังเผยให้เห็นได้ว่า ตัวตู้ที่เฉื่อย (inert cabinet) นั้นเป็นวิธีการที่ดีมากๆ ของการออกแบบ และการสรรค์สร้างที่ไม่ธรรมดาของ Lyra ทั้งนี้ทั้งนั้นการลดเสียงเรสโซแนนซ์ของตัวตู้เป็นประเด็นที่นักออกแบบลำโพงให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มดังกล่าวสามารถสืบย้อนไปถึงต้นกำเนิดของการลดเสียงเรสโซแนนซ์ได้จากตัวตู้ที่เต็มไปด้วยทรายของ Wharfedale ในทศวรรษ 1960 นับตั้งแต่เทคนิคดั้งเดิมในยุคแรกนั้น นักออกแบบได้ใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นในการสร้างตู้ลำโพงที่เพิ่มความบิดเบือนให้กับเพลงน้อยลง ซึ่งอันที่จริงผู้ผลิตได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันอย่างแท้จริงเพื่อพัฒนาตัวตู้ลำโพงที่เฉื่อยที่สุด (the most inert cabinet) 

Rockport ได้นำแนวคิดชนิดสุดขั้วมาใช้สำหรับ Lyra แทนที่จะสร้างเปลือกด้านในและด้านนอกจากไฟเบอร์กลาส หรือ แม้แต่คาร์บอนไฟเบอร์ แต่กลับใช้โครงสร้างในลักษณะ “เปลือกหอย” (shells) สองฝา โดยที่ “shells” ของ Lyra นั้นเป็นโครงสร้างอลูมิเนียมหล่อขนาดใหญ่ โครงตู้ด้านในสวมเข้าพอดีกับด้านในของตู้ด้านนอก ส่วนรอยต่อจะถูกปิดผนึก จากนั้น “โพรง” จะถูกเติมเต็มด้วยวัสดุแกนยูรีเทนความหนาแน่นสูงที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ “โครงภายใน” (ซึ่งก็คือแผ่นหน้าตัวตู้ด้วย) เป็นแบบหล่อที่ได้รับการออกแบบอย่างประณีต พร้อมโครงสร้างเสริมแรงที่กว้างขวางภายในเพื่อค้ำยันตัวขับเสียง (ทาง Rockport เรียกขานเทคนิคโครงสร้างนี้ว่า “Damstif”) ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีความหนาแน่น แข็ง และแดมป์ได้ดีเป็นพิเศษ ทำหน้าที่ลดการสั่นสะเทือนของตัวตู้ให้อยู่ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

หากจะพูดไป… Lyra นับว่า มีขนาดตัว (size) ค่อนข้างเล็กสำหรับความเป็นลำโพงอ้างอิงระดับโลก (world-class reference speaker) ทว่า Lyra ก็มีน้ำหนักเป็นอันดับระดับโลก โดยแต่ละข้างมีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม (560 ปอนด์) ส่วนโค้งของแผงหน้าตัวตู้อันงดงาม แผงด้านบนลาดขึ้นและลู่โค้งกลับมา โดยแคบไปทางด้านหลัง ทำให้รูปลักษณ์ของ Lyra ดูนุ่มนวลขึ้นให้ความรู้สึกสอดรับเป็นธรรมชาติ และให้ความรู้สึกในรูปลักษณ์ทางอุตสาหกรรมน้อยกว่าลำโพงหลายตัวในปัจจุบัน …อาจพูดได้ว่า Lyra ถือเป็นลำโพง Rockport ที่ดูดีและฟังดีที่สุด !!  

Specs & Pricing 

Type: Three-and-a-half-way, dynamic driver, floorstanding loudspeaker 
Loading: Reflex 
Driver complement: 10″ carbon-fiber sandwich composite woofer (x2); 6″ carbon-fiber sandwich composite midrange (x2); 1″ beryllium dome tweeter 
Frequency response: 20Hz–30kHz at –3dB 
Nominal impedance: 4 ohms 
Sensitivity: 90dB 
Dimensions: 14.1 x 53.5 x 26.5 inches  
Weight: 560 lbs. each (net) 
 

ขอขอบคุณ บริษัท Innovative Audio Video จำกัด ที่เอื้อเฟือ Karan Acoustics: LINEa & PSUa; Karan Acoustics: POWERa MONO และ Rockport Technologies: LYRA ในการรับฟังครั้งนี้ 

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’