SEIKO EPSON: Σ5000 / Σ3000 / Σ2000 เทิร์นเทเบิ้ลสัญชาติญี่ปุ่น หนึ่งในตำนานซุปเปอร์แรร์ เริ่มต้นที่ 1.4 – 3.2 ล้านเยน ราคาและคุณภาพแรงเกินเบอร์ มานานกว่า 34 ปี

0

ผลิตจำกัดสำหรับตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น (ไม่ได้ผลิตส่งออก) โดดเด่นด้วยจานแพลตเตอร์สีทองแดงอมเหลือง (Yellow-Copper Platter) สวยสะดุดตา พร้อมระบบขับหมุนแบบ ลูกยาง (Magnetic Idler) ควบคู่กับ DC Coreless Motor ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

…นี่คือ เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่พัฒนาโดย Mr.Teragaki จากสถาบันวิจัยเทรากากิ (Teragaki Research Institute) ร่วมกับ Seiko Epson ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเครื่องเล่น (Player) ที่ใกล้เคียงกับเครื่องแปลงสัญญาณต้นฉบับให้ได้สมบูรณ์แบบที่สุด การพัฒนาเครื่องเล่นนี้จึงมุ่งเป้าหมายมุมมองของการออกแบบจุดหมุน (Fulcrum) อย่างเข้มงวดที่สุด และได้ผลิตเครื่องเล่นที่มีความแม่นยำสูงมาก ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น “หน่วยบ่งบอกความหยาบพื้นผิว” (Surface Roughness Meter)

ด้วยราคาจำหน่ายสูงถึง 1,400,000 เยน แต่กระนั้น Σ 2000 ก็ยังนับว่า เป็นรุ่นราคาประหยัด โดยผลิตขึ้น 2 ครั้งรวมทั้งหมด 100 ยูนิต เมื่อเทียบกับ Σ 3000 ที่มีราคา 2,300,000 เยน ในปี 1987 และ Σ 5000 ที่ออกจำหน่ายในปี 1994 ซึ่งมีราคาสูงถึง 3,200,000 เยน และผลิตเพียงแค่ 50 ยูนิตเท่านั้น (Σ 5000 ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็น Σ-5000 II ในปี 1997 ด้วยราคา 3,200,000 เยน)

ตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงถือได้ว่า โดดเด่นสะดุดตาอย่างไม่ธรรมดา ได้รับการตกแต่งโดยเครื่องกลึงที่มีความแม่นยำสูงมาก หลังจากการอบอ่อนวัสดุทองเหลืองอัดขึ้นรูปอย่างเพียงพอ ไม่มีกระบวนการชุบ หรือ เคลือบใดๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพเสียง

Mr.Teragaki ยังได้ออกแบบให้ใช้ตัวทับแผ่นเสียง (Stabilizer) เพื่อช่วยกดแผ่นเสียงให้แนบกับแพลตเตอร์เครื่องเล่นแผ่นเสียง และทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงตั้งตรงได้อย่างมั่นคง หน้าตัดของเครื่องเล่นแผ่นเสียงได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรสโซแนนซ์ (Standing Waves) ส่วนตัวเพลาหลัก (Main Shaft) และเครื่องเล่นแผ่นเสียงไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันโดยตรง (Not Simply Fitted) แต่ยึดผสานเข้ากับส่วนหน้าแปลน (Flange) อย่างแน่นหนาด้วยสกรู 4 ตัว และมีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม

โทนอาร์มที่ใช้เป็นแบบ Static Balance System ที่ออกแบบซับซ้อนสุดพิเศษ น้ำหนักส่วนของเฮดเชลล์มากกว่า 300 กรัม และตำแหน่งอ้างอิงของหัวเข็มได้รับการปรับถ่วงให้เสถียร (Stabilized) ซึ่งหากใช้โครงสร้างนี้ในระบบสมดุลแบบคงที่ทั่วไป จำเป็นต้องใช้ตุ้มถ่วงน้ำหนักมากกว่า 2 กก.!!

แท่นหมุนขับเคลื่อนด้วยวิธีการเฉพาะ (Unique Method) โดยใช้มอเตอร์ไร้แปรงถ่านแบบ ไม่มีแกนที่พัฒนาขึ้นใหม่ (Newly Developed Coreless Brushless Motor) เมื่อมอเตอร์หมุน ลูกยาง (Idler) จะหมุน แล้วขบ (Biting) ลงบนแท่นหมุน และหมุนโดยอัตโนมัติในตำแหน่งที่เสถียรที่สุด เพื่อถ่ายทอดแรงบิด (Torque) ด้วยประสิทธิภาพสูงมาก

นอกจากนี้ เป็นที่ทราบกันวงในว่า Audio Technica ได้ลงทุนให้ Mr.Teragaki มากกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาเครื่องเล่นแผ่นเสียงในแนวทางของเขา (Prototype ใช้ชื่อว่า Audio Technica: T1) อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในขั้นสุดท้ายที่จะไม่ทำการตลาด ผลิตออกจำหน่ายในฐานะผลิตภัณฑ์ (Product) …ซึ่งอาจจะเพราะว่า ในช่วงเวลานั้นซีดีก็ขึ้นชั้นอยู่ และเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ราคา 100,000 เหรียญสหรัฐ (ณ ตอนนั้น) ก็ดูจะไม่สามารถจำหน่ายได้จริงในสมัยนั้น…

แนวทางนั้นว่ากันว่า Mr.Teragaki ได้ออกแบบ Audio Technica: T1 ไว้ให้พื้นผิวด้านบนแพลตเตอร์เป็นระบบสูญญากาศ (Vacuumed surface) พร้อมระบบปรับศูนย์กลางแท่นหมุนอัตโนมัติ (Auto Disk Centering) ส่วนโทนอาร์มเป็นแบบ แขนตรง (Linear Sracking Arm) แต่ว่าโทนอาร์มนี้มีขนาดใหญ่ และติดตรึงไม่กระดกขึ้น-ลงในแนวระนาบ (The massive tonearm does not go up and down) ทว่าตัวเทิร์นฯ (แพลตเตอร์) จะเป็นส่วนเลื่อนขึ้น-ลงได้ (The turn table does go up and down) …น่าทึ่ง ทำเอาอึ้งไหมละท่าน