Max Bruch (1838 – 1920) Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 8

0
Max Bruch

ลำดับที่ 49

Max Bruch เป็นคีตกวี นักไวโอลิน ครูดนตรี และวาทยกรชาว German Bruch ได้รับการฝึกอบรมทางด้านดนตรีในช่วงเริ่มแรกโดย Ferdinand Hiller (1811 – 1885) [Robert Schumann (1810 – 1856) อุทิศ Piano Concerto in A minor แด่ Ferdinand Hiller] ต่อมา ศาสตราจารย์ Heinrich Carl Breidenstein (ซึ่งเป็นเพื่อนของคุณพ่อของ Max Bruch) เป็นผู้สอนทฤษฎีดนตรีให้กับ Max Bruch เป็นครั้งแรกที่ Bonn ในปี ค.ศ. 1849 และในช่วงเวลาดังกล่าว Max Bruch ได้ใช้เวลาในการประพันธ์ดนตรี

Ferdinand Hiller

หลังจากการศึกษาปรัชญาและศิลปะเป็นเวลาสั้น ๆ ที่ Bonn ในปี ค.ศ. 1859 แล้ว Bruch ก็ได้ดำเนินอาชีพที่ยาวนาน เป็นครูดนตรี วาทยกร และคีตกวี โดยได้ดำรงตำแหน่งทางด้านดนตรีใน Germany ดังต่อไปนี้:

ที่ Mannheim (1862 – 1864), Koblenz (1865 – 1867), Sonderhausen (1867 – 1870), Berlin (1870 – 1872), และ ที่ Bonn (1873 – 1878) ซึ่ง Bruch ทำงานส่วนตัว และ Bruch ได้ใช้เวลา 3 ฤดูกาลในการเป็นวาทยกรแห่ง The Liverpool Philharmonic Society (1880 – 1883)

Bruch สอนการประพันธ์ที่ The Berlin Hochschule fur Musik ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 จนกระทั่งการเกษียณของ Bruch ในปี ค.ศ. 1910

ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของ Max Bruch อาทิ Ottorino Respighi (1879 – 1936) และ Clara Mathilda Faisst (1872 – 1948)

Ottorino Respighi
Clara Mathilda Faisst

Bruch ถึงแก่มรณกรรมที่บ้านของ Bruch เอง ที่ Berlin-Friedenau ในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งศพของ Bruch ได้รับการฝังติดกับศพของภรรยาของ Bruch (Clara Tuczek) ณ สุสาน The Old St. Matthaus Churchyard ที่ Berlin-Schoneberg

Max Bruch ประพันธ์คีตนิพนธ์ไว้มากมาย ดังต่อไปนี้:

1. ประเภท Orchestral Works ได้แก่: Suite No. 1 on Russian Themes, Op. 79b (1903); Suite No. 2 for Orchestra (Nordland Suite) (on Swedish Themes) Op. posth. (1906); Suite No. 3 for Orchestra and Organ, Op. posth. (1904 – 1915); Swedish Dances (1892); Symphony No. 1 in E-flat major, Op. 28 (1868); Symphony No. 2 in F minor, Op. 36 (1870); Symphony No. 3 in E major, Op. 51 (1887); และ Serenade after Swedish Melodies, Op. posth. (String Orchestra) (1916)

2. ประเภท Works for Soloist(s) and Orchestra อาทิ: Adagio appassionato for Violin and Orchestra in C-sharp minor, Op. 57 (1891); Adagio on Celtic Themes for Cello and Orchestra in C-sharp minor, Op. 56 (1891); Ave Maria for Cello and Orchestra, Op. 61 (1892); Canzone for Cello and Orchestra, Op. 55 (1891); Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 (1911); Concerto for Two Pianos and Orchestra in A-flat minor, Op. 88a; Kol Nidrei, for Cello and Orchestra, Op. 47 (1881); In Memoriam, Adagio for Violin and Orchestra, Op. 65 (1893); Romance for Viola and Orchestra in F major, Op. 85 (1911); Romance for Violin and Orchestra in A minor, Op. 42 (1874); Scottish Fantasy, for Violin and Orchestra in E-flat major, Op. 46 (1880); Violin Concerto No. 1 in G minor, Op. 26 (1866-7, rev. 1868); Violin Concerto No. 2 in D minor, Op. 44 (1878); Violin Concerto No. 3 in D minor, Op. 58 (1891); Konzertstuck (Concert Piece) for Violin and Orchestra in F-sharp minor, Op. 84 (1903); และ Serenade in A minor for Violin and Orchestra, Op. 75 (1899)

3. ประเภท Operas ได้แก่: Claudine von Villa Bella, Op. posth.; Die Loreley, Op. 16 (1861); Hermione, Op. 40 (1872); และ Scherz, List und Rache, Op. 1; 

4. ประเภท Choral Works, Lieder, และ Chamber Works อีกมากมาย

Max Bruch ประพันธ์ Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 ในปี ค.ศ. 1911 และอุทิศแด่ Max Felix Bruch ลูกชายของ Max Bruch ซึ่งเป็นนักเป่าแคลริเน็ตที่มีพรสวรรค์   

Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 ได้รับการนำออกบรรเลงเป็นครั้งแรก โดยมี Max Felix Bruch และ Willy Hess เป็นผู้เดี่ยวแคลริเน็ตและผู้เดี่ยววิโอลา ที่ Wihelmshaven, North Germany เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1912

Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 ของ Max Bruch ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่โดย Eichmann ในปี ค.ศ. 1913

ภาษาทางด้านดนตรีของคอนแชร์โตบทนี้ คือ คุณลักษณะแห่งความมีสีสันทางด้านกุญแจเสียงซึ่งมีทำนองที่ไพเราะสวยงามและซึ่งให้อารมณ์ความรู้สึกออกมาอย่างเต็มที่ (Romantic)  

สกอร์ (Score) ของ Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 ของ Max Bruch กำหนดให้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้: เดี่ยว: (Solo:) แคลริเน็ต และวิโอลา

วงดุริยางค์: 2 ฟลูต, 2 โอโบ, 1 อิงลิชฮอร์น, 2 แคลริเน็ต, 2 บาสซูน, 4 เฟรนช์ฮอร์น, 2 ทรัมเป็ต, กลองทิมปานี และวงเครื่องสาย

Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra in E minor, Op. 88 ของ Max Bruch ประกอบด้วย 4 ลีลา ดังต่อไปนี้

ลีลาที่ 1: Andante con moto (ซ้าปานกลางด้วยการเคลื่อนไหว / ด้วยการดำเนินไปข้างหน้า)

            ลีลานี้บริบูรณ์ด้วยอารมณ์และความรู้สึกแห่งดนตรียุคโรแมนติคตอนปลายที่ไพเราะสวยงามและอบอุ่นยิ่งเริ่มต้นการบรรเลงลีลาที่ 1 ด้วยการบรรเลงเดี่ยววิโอลา ซึ่งเปิดฉากการบรรเลงอย่างกล้าหาญ และตามด้วยการบรรเลงเดี่ยวแคลริเน็ตในทันทีทันใด โดยให้อารมณ์และความรู้สึกที่เศร้าโศกแห่งฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งต่อมาได้มีการบรรเลงของสองเครื่องดนตรีทั้งในลักษณะแห่งความเป็นอิสระและความร่วมมือกัน ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนกุณแจเสียงในขณะที่กลุ่มเชลโล บรรเลงในลักษณะแห่งการดีดสาย (Pizzicato) หลังจากนั้น เดี่ยวแคลริเน็ตได้บรรเลงโน้ตเขบ็ตสองชั้น (Semiquavers) และตามด้วยการบรรเลงเดี่ยววิโอลา ต่อมาอารมณ์และความรู้สึกแห่งความสงบเงียบได้ย้อนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของลีลานี้       

ลีลาที่ 2: Allegro moderato (เร็วปานกลาง)

            ลีลาที่ 2 บรรเลงอยู่ในอัตราจังหวะ 3/4 และมีความไพเราะสวยงามอย่างยิ่ง โดยเดี่ยวแคลริเน็ตและเดี่ยววิโอลาได้บรรเลงควบคู่กันไปรวมทั้งการบรรเลงของวงดุริยางค์ที่บรรเลงในลักษณะแห่งการบรรเลงคลอ (Accompaniment)

การสิ้นสุดแห่งลีลานี้ คือ การให้บรรยากาศแห่งความไพเราะและความซาบซึ้ง  

ลีลาที่ 3: Allegro molto (เร็วมาก)

         ลีลานี้ได้รับการบรรเลงอยู่ในอัตราจังหวะ 2/4 เปิดฉากการบรรเลง ในลักษณะแห่งการประโคมโดยแตร (Fanfare) ด้วยการบรรเลงของกลุ่มทรัมเป็ต (Trumpets) และกลอง Timpani หลังจากนั้นไม่นาน ตามด้วยการบรรเลงของวงดุริยางค์ทั้งวงที่พร้อมเพรียงกัน (Tutti) อย่างยาวนาน หลังจากนั้น เดี่ยวคลาริเน็ทได้เข้าสู่การบรรเลง ตามด้วยการบรรเลงควบคู่กันไปของเดี่ยวแคลริเน็ตและเดี่ยววิโอลา โดยบรรเลงให้อารมณ์และความรู้สึกแห่งความมีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง ซึ่งการบรรเลงดังกล่าวต้องอาศัยทักษะทางด้านเทคนิคในการบรรเลงสูง   

ลักษณะที่สำคัญของลีลาที่ 3 คือ การบรรเลงทำนองหลักที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น การปลุกเร้าใจ และพลังการเคลื่อนไหวที่พุ่งทะลวงและทะยาน นอกจากนี้ ลีลาสุดท้ายยังมีลักษณะแห่งความแข็งแกร่ง ความกระฉับกระเฉง และความกระปรี้กระเปร่า ได้รับการสร้างสรรค์ให้โดดเด่นโดยทำนองหลักที่เป็นหลักที่ทรงพลัง    

ลีลานี้สิ้นสุดด้วยการบรรเลงที่ให้อารมณ์แห่งความปีติปรีดาปราโมทย์ และชัยชนะ

ลีลาสุดท้ายที่มีลักษณะแห่งการบรรเลงที่รวดเร็ว แต่มีเสน่ห์นี้ เป็นลีลาที่ทำให้คีตนิพนธ์อมตะบทนี้สมบูรณ์ โดยได้เปล่งความเรืองรองและแผ่ความอบอุ่นแห่งดนตรีแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตอนปลายอย่างแท้จริง

Discography

1. Paul Meyer

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Gerard Causse

วงดุริยางค์: Lyon Opera Orchestra  

วาทยกร: Kent Nagano

บันทึก: The Auditorium Maurice Ravel, Lyon, กรกฎาคม ค.ศ. 1988

สังกัด: Erato/Warner (Apex)

หมายเลขแผ่น: 8573 89229 2 (DDD)

Paul Meyer
Gerard Causse

ส่วนผสมที่ลงตัวสูงสุดระหว่างการบรรเลงของ Paul Meyer, Gerard Causse, Lyon Opera Orchestra และการอำนวยคีตนิพนธ์ของ Kent Nagano คือ บันทึกซึ่งเป็นความสุดยอดเยี่ยมแห่งทุกมิติ ทุกองค์ประกอบแห่งดนตรี ในทุกลีลา โดยบรรลุถึงการครอบคลุมหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกทั้ง ความไพเราะหวานซาบซึ้ง ความร่าเริงมีชีวิตชีวา และความสนุกสนาน และพลังที่แข็งแกร่ง

วิถีแห่งการบรรเลงของ Meyer และ Causse นั้น อุดมเต็มเปี่ยมด้วยความสวยงาม ความประณีตละเอียดอ่อน ความถูกต้องแม่นยำ ความหวานซึ้ง ความอบอุ่น ความสดใส พลังผลักดัน และความนิ่มนวล รวมทั้งสองท่านได้แสดงพลังฝีมือแห่งการบรรเลงที่ให้หลากหลายอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งทำให้ประจักษ์ชัดถึงความเป็นศิลปินเดี่ยวที่สูงด้วยทักษะการบรรเลงที่ยอดเยี่ยมของทั้งสอง สำหรับมรรคาแห่งการตีความและการอำนวยคีตนิพนธ์ และการบรรเลง Concerto for Clarinet, Viola, and Orchestra ของ Bruch โดย Nagano และ Lyon Opera Orchestra นั้น ให้ความสมบูรณ์สูงสุดแห่งสีสันเสียง ความวิจิตร มนต์เสน่ห์ ความดื่มด่ำ ความลึกซึ้ง และความประทับจิตยิ่งนัก

Kent Nagano

บันทึกใน CD นี้ คือ ความเป็นเลิศแห่งการเข้าถึงแก่นแท้ของคีตนิพนธ์บทนี้ ซึ่งทรงคุณค่ามหาศาลแห่งคีตศิลป์ สร้างความตราตรึงใจ และสร้างความพึงพอใจสูงสุด ตอบสนองความปรารถนาของท่านผู้รักเสียงแคลริเน็ต วิโอลา และวงดุริยางค์ได้อย่างสลักจิตและบริบูรณ์สูงสุด

สรุปการประเมินคุณภาพ

การบรรเลงของ Paul Meyer                                         5    ดาว

การบรรเลงของ Gerard Causse                                     5    ดาว

การบรรเลงของ Lyon Opera Orchestra                          5    ดาว

การอำนวยคีตนิพนธ์ของ Kent Nagano                            5    ดาว

ความสมดุลระหว่างการบรรเลงของ Meyer, Causse และการอำนวยคีตนิพนธ์ของ Nagano    5    ดาว

การไหลของโครงสร้าง                                                 5    ดาว

การบันทึก                                                               3½ ดาว

บันทึกนี้ คือ ความสลักจิตแด่ผู้ที่รักคีตนิพนธ์ประเภทคอนแชร์โตที่ทรงคุณค่าสูงแห่งคีตศิลป์ รวมทั้งเป็น State of the Art แห่งการตีความ การบรรเลง และการอำนวยคีตนิพนธ์ที่เป็นเลิศ

2. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ท: Dame Thea King (1925 – 2007)

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Nobuko Imai

วงดุริยางค์: London Symphony Orchestra  

วาทยกร: Alun Francis

บันทึก: ค.ศ. 1997

สังกัด: Hyperion

หมายเลขแผ่น: CDD22017 (DDD)

_______________

3. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Steven Kanoff

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Paul Coletti

วงดุริยางค์: Hannover Radio Philharmonic    

วาทยกร: Tommaso Placidi

บันทึก: ค.ศ. 2005

สังกัด: ASV Living Era

หมายเลขแผ่น:  (DDD)

_______________

4. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Giovanni Punzi

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Eva Katrine Dalsgaard  

วงดุริยางค์: Copenhagen Philharmonic Orchestra 

วาทยกร: Vincenzo Milletari

บันทึก: ค.ศ. 2017

สังกัด: Brilliant Classics

หมายเลขแผ่น: 95673 (DDD)

_______________

5. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Karl Schlechta

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Ekkchard Schloifer  

วงดุริยางค์: Symphony Orchestra of the Sudwestfunk Baden-Baden  

วาทยกร: Michael Boder

บันทึก: ค.ศ. 1991

สังกัด: Aurophon

หมายเลขแผ่น: US 71813 CD (DDD)

_______________

6. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Sharon Kam

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Ori Kam  

วงดุริยางค์: Sinfonia Varsovia  

วาทยกร: Gregor Buhl

บันทึก: ค.ศ. 1988

สังกัด: Berlin Classics

หมายเลขแผ่น: –

_______________

7. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Dmitri Ashkenazy

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Anton Kholodenko

วงดุริยางค์: Royal Baltic Festival Orchestra  

วาทยกร: Mats Liljefors

บันทึก: –

สังกัด: Paladino Music

หมายเลขแผ่น: –

_______________

8. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Ludmila Peterkova

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Alexander Besa

วงดุริยางค์: Prague Philharmonia  

วาทยกร: Jiri Belohlavek

บันทึก: –

สังกัด: –

หมายเลขแผ่น: –

_______________

9. ศิลปินเดี่ยวแคลริเน็ต: Denitsa Laffchieva

ศิลปินเดี่ยววิโอลา: Vittorio Benaglia

วงดุริยางค์: Pazardzhik Symphony Orchestra  

วาทยกร: Alexander Gordon

บันทึก: ค.ศ. 2021

สังกัด: Da Vinci Classics

หมายเลขแผ่น: –

บรรณานุกรม

1. https://en.m.wikipedia.org >

2. https://imslp.org >wiki >

3. https://www.wikipedia.com (Max Bruch)

4. https://www.wikimediacommons.com (Ferdinand Hiller)

5. https://www.wikimediacommons.com (Eugene Gigout)

6. https://www.ricordi.com (Ottorino Respighi)

7. https://www.tamino-klassikforum.at.com (Clara Mathilda Faisst)

8. https://www.interartistsamsterdam.com (Paul Meyer)

9. https://www.oxfordmaymusic.com (Gerard Causse)

10. https://www.medici.tv.com (Kent Nagano)  

_____________________