EXCLUSIVE ! Interview with Accuphase Staffs
Mr. Jim S. Saito – Chairman
Mr.TakayaInokuma – Sound Engineer
Mr.KoheiNishigawa – Marketing Officer
โดยกองบก. What Hi-Fi?
Accuphase Laboratories, Inc. กำลังผันผ่านสู่ปีที่ 44แล้ว ณ ปัจจุบัน นับตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ.1972 และยังคงสามารถดำรงความเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเสียงบริษัทเล็กๆ ในญี่ปุ่นที่มีศักยภาพสูงมากจนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ทั้งทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้าและคุณภาพการผลิตอันสุดพิถีพิถัน (ปัจจุบันสเตอริโอ ปรีแอมป์รุ่น C-200, สเตอริโอ เพาเวอร์แอมป์รุ่น P-300 และอินทีเกรทแอมป์สเตอริโอ รุ่น E-202 รวมทั้งจูนเนอร์รุ่น T-100 ผลิตภัณฑ์แรกจำหน่ายของ Accuphase ยังคงสามารถใช้งานได้ดีอย่างน่าทึ่ง แม้จะผ่านกาลเวลามากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม) โดยมีพนักงานรวมทั้งวิศวกรมือฉมังทำงานอยู่ร่วมกันจำนวนเพียงแค่ไม่ถึงร้อยคน…!!
ทุกวันนี้ Mr.Shigemasa Saito หรือ Jim S. Saito ซึ่งก็คือ วิศวกรหนุ่มไฟแรงในอดีตที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกับ 2 พี่น้องตระกูล Kasuga (NakaichiKasugaและ JiroKasugaซึ่งเคยก่อตั้ง Kenwoodมาแล้ว) รวมทั้ง Yasumasa Ishizuka ก่อตั้งบริษัท ‘Kensonic’ขึ้นมา ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็นAccuphase Laboratories, Inc. ได้ก้าวขึ้นมาเป็นท่านประธานใหญ่ (Chairman) คนปัจจุบัน
ซึ่งเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา “Jim S. Saito”ร่วมกับทีมงานระดับผู้บริหารสำคัญของทาง Accuphase Laboratories, Inc. ได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อเยี่ยมเยียน “HI-END GROUP” ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่าย Accuphase ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (จนถือเป็นหมายกำหนดการณ์ประจำในแต่ละปี) โดยในครั้งนี้ได้มี Mr.TakayaInokuma- Manager Engineering Division / Professional Engineerและ Mr.KoheiNishigawa – International Marketing Division ร่วมเดินทางมาด้วยซึ่งแน่นอนว่า นิตยสาร What Hi-Fi? ได้รับเกียรติจากทาง HI-END GROUP ให้พวกเราเข้าสัมภาษณ์ทีมงานของ Accuphase Laboratories, Inc.ทั้ง 3 ท่านดังกล่าวข้างต้นอย่างเป็นการเฉพาะ‘เพียงฉบับเดียวเท่านั้น’ จึงขอขอบคุณทาง “HI-END GROUP”เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
What Hi-Fi? : ก่อนอื่นเลยขอถามวัตถุประสงค์ที่เดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้ครับ ที่สำคัญเป็นครั้งแรกที่ Mr.TakayaInokumaในฐานะProfessional Engineer ได้ร่วมเดินทางมาเยือนที่นี่ด้วยถือเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ?
Mr.TakayaInokuma: ก่อนอื่นเลยนั้นเหตุผลที่ผมได้ร่วมคณะมาที่นี่ เนื่องมาจาก Mr.Mark M. Suzukiซึ่งเป็นเจ้านายของผมโดยตรงและได้เดินทางมาที่นี่เมื่อปีที่แล้วนั้น ณ ปัจจุบัน ได้เลื่อนตำแหน่งไปดำรงตำแหน่ง Executive Vice President; APEC Engineer จึงทำให้ผมต้องรับหน้าที่แทนในส่วนนี้ จุดประสงค์หลักของการเดินทางมาในครั้งนี้ของผม ก็เพื่อสำรวจตลาดเครื่องเสียงทั่วโลกว่าพัฒนาไปไกลแค่ไหนแล้วในขณะนี้ โดยเฉพาะประเทศไทย
What Hi-Fi? : Accuphaseมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับทิศทางของตลาดเครื่องเสียงในปัจจุบัน และมีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปในทิศทางใดบ้างครับ?
Mr.TakayaInokuma : ในปัจจุบันนี้ความนิยมในการฟังเพลงมีมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องส่วนของ เน็ตเวิร์ก ออดิโอ อาทิ เช่น High Resolutionaudio ที่กลายมาเป็นเจนเนอเรชั่นใหม่ของการฟังเพลงต่อจาก แผ่นเสียง และซีดี นอกจากนี้วิธีการเล่นก็เน้นไปที่ความสะดวกสบายมากขึ้นด้วย อาทิ เช่น การเล่นเพลงผ่านพอร์ท USB ที่แค่เสียบเข้าคอมพิวเตอร์ก็เล่นได้แล้ว ทางเราเองก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีบางรายการ สำหรับการรองรับในกระแสการเล่นไฟล์เพลงจำพวกนี้ที่กำลังได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม Accuphaseยังคงคำนึงถึงเรื่องของ “คุณภาพเสียง” เป็นหลักเหนือสิ่งอื่นใด ซึ่งในจุดนี้เราคิดว่า ยากเกินไปที่จะไล่ตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวันๆ โดยความก้าวหน้านั้น กลับไม่ได้กังวลในเรื่องของคุณภาพเสียงที่ด้อยคุณภาพลงไปจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ดังนั้นมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะพยายามเร่งออกสินค้า เพื่อมารองรับเทคโนโลยีพวกนี้ได้ทัน เพราะเราจะทดสอบทดลองจนได้สิ่งที่ กล้าพูดได้ว่า “ดีที่สุด” ก่อนที่จะนำออกมาสู่ตลาดเครื่องเสียง ประกอบกับการที่เราเป็นแค่บริษัทเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งสินค้าหลักๆ ของเรา คือ “Amplifier” ที่ไม่ว่าลำโพงระดับเทพแค่ไหนก็ต้องใช้ Amplifier ควบคู่ไปด้วยทั้งนั้น…เราจึงมีความสุขกับสิ่งที่เราทำอยู่และไม่คิดที่จะหลงไปกับทิศทางของตลาดโลกแน่นอน
What Hi-Fi? : ในปีนี้ทาง Accuphase มีผลิตภัณฑ์มาเปิดตัวใหม่ล่าสุดกันบ้างครับ?
Mr.Jim S. Saito: มีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน : DC-37, C-37, E-470 และ M-6200 ซึ่งยังถือเป็น Top Secret ที่ขอเปิดตัวกับคุณเป็นที่แรกจริงๆ และสินค้านี้จะออกจำหน่ายในช่วงเดือนเมษายนนี้ครับนH็
What Hi-Fi? : ขอบคุณมากครับ …อยากให้พูดถึงความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดอย่าง DC-37 ก่อนเลยครับ?
Mr.TakayaInokuma: DC-37 เป็น MDSD Digital Processor ที่มีความโดดเด่นในการรองรับ High Resolution Sound ได้ถึงระดับ 384 kHz/32bit ซึ่งเป็นสินค้าตัวแรกจากทาง Accuphase ที่รองรับได้ และยังพร้อมรองรับได้กับการถอดรหัสข้อมูล DSD ในระดับ 5.6448 MHz (MultipleDouble Speed DSD หรือ MDSD) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการรองรับการเชื่อมต่อจากพอร์ทที่หลากหลาย รวมไปถึงในส่วนของตัว DAC ก็มีโครงสร้างและขนาดเทียบเท่าได้กับสินค้าตัวท็อปอย่าง DP-720 ในขณะที่ส่วนของวงจรไฟฟ้านั้นก็ไม่น้อยหน้า เพราะได้ทำการออกแบบให้ได้คุณภาพเกือบที่จะเทียบเท่า DC-901 ซึ่งเป็นสินค้าระดับเรือธง(Flagship) ของ Accuphase อีกทั้งในส่วนของหม้อแปลงภาคจ่ายไฟของภาค Analog และ Digital ก็แยกออกจากกันอย่างชัดเจน สุดท้ายสิ่งที่ภูมิใจนำเสนอมากที่สุด คือ D/A converter ที่มีทั้งหมดถึง 8 ตัว ที่วางรูปแบบการทำงานในลักษณะขนานกัน(Multiple Delta-Sigma++) โดยใช้ DAC Chip ระดับสุดยอดของโลกอย่าง ES9018S(SABRE32 Reference 32-bit 8-Channel Audio DACของ ESS Technology Inc.) เพื่อให้มาซึ่งคุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมที่สุดกันจริงๆ
What Hi-Fi?: ในส่วนของการตั้งชื่อรุ่นที่ใช้ตัวเลข 37 นั้นมีความเกี่ยวข้องกับรุ่น C-37 ด้วยรึเปล่าครับ?
Mr.Jim S. Saito: มีความเกี่ยวข้องกันในส่วนของระดับตัวผลิตภัณฑ์ (Class) ที่ทาง Accuphaseต้องการจัดให้สินค้าทั้งสองตัวอยู่ใน Range เดียวกัน ส่วนตัวอักษร ‘D’ที่กำกับอยู่หน้ารุ่น “DC-3”7 จะบ่งบอกถึงระบบการเล่นเพลงที่เป็น Digital Format ซึ่งโดยปกติแล้วรุ่นที่ตั้งเป็นตัวเลข 2 หลักจะเป็น Optional Products และรุ่นที่ใช้ตัวเลข 3 หลักจะเป็น Main Products
What Hi-Fi?: ขออนุญาตถามถึงผลิตภัณฑ์เด่นในด้านของอนาล็อกอย่าง C-37 กันบ้างนะครับว่ามีความพิเศษอย่างไร?
Mr.TakayaInokuma: C-37 เป็น Stereo Phono Amplifier รุ่นที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก C-27 ที่ออกมาเมื่อประมาณ 6 ปีก่อน ซึ่งในรุ่นพัฒนาล่าสุดนี้มีการออกแบบวงจรข้างในใหม่ทั้งหมด เพื่อลด Noise ลงจากเดิมกว่า 30% เลยทีเดียว สามารถเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในระดับโลกได้อย่างสมฐานะ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกภาค Phono Stage สำหรับหัวเข็มของ Turntable ได้ทั้งแบบ MM หรือ MCซึ่งจะทำงานคล้ายกับการใช้ Step up Transformer (SUT) ที่สามารถเลือก Gain ได้ (Low/High) และยังสามารถ Memorize ค่าการปรับตั้งต่างๆ ได้โดยเฉพาะสำหรับ Inputs ในแต่ละช่องได้โดยตรง นอกจากนี้เราได้ออกแบบให้แยกภาคการทำงานของ MC Headamp ออกจาก Equalizer amp ไว้อย่างเป็นการเฉพาะอีกด้วย แถมยังออกแบบตัวหม้อแปลง Toroidal ให้เป็นแบบแยกส่วนโดยเฉพาะในแต่ละแชนแนล เสียงที่ให้จะมี Dynamic และ Focus มากขึ้นด้วย ในขณะที่มี Noise ต่ำมากๆ ซึ่งส่งผลให้ได้รายละเอียดที่มากยิ่งขึ้น
What Hi-Fi?: มาถึงสินค้าตัวถัดไปคือ E-470 สินค้าตัวนี้มีจุดเด่นอย่างไรบ้างครับ?
Mr.TakayaInokuma :สำหรับ E-470 เป็น Class AB StereoIntegrated Amplifier สามารถให้กำลังขับที่สูงถึง 290 วัตต์ต่อข้างที่ 4 โอห์ม และยังมีระดับของ Noise ที่ต่ำมากในระดับ Ultra Low Noise แค่ 34 ไมโครโวลต์เท่านั้น เทียบเท่ากับรุ่นE-600 ซึ่งเป็น Class A Stereo Integrated Amplifier นั่นเลยทีเดียว นอกจากนั้นลูกค้ายังสามารถเลือก Option Board มาใช้งานตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นภาค Phono หรือว่าจะเป็นภาคDAC เพิ่มลงไปได้ด้วย (อย่างเช่นDAC-40)ที่สำคัญในส่วนของDamping Factors นั้นก็นับเป็น Super high Damping Factor ในระดับเทียบเท่ารุ่น flagship กันจริงๆ คือทำได้ถึงค่า 500เทียบเท่ากับรุ่น E-600ซึ่งนับว่าสูงกว่า E-460 รุ่นเก่าถึง 2.5 เท่า
What Hi-Fi?: เอาละครับ มาถึงรุ่นTop Secret อย่างM-6200 ว่ามีความพิเศษอย่างไรกันบ้างครับ พิเศษสุดเลยหรือครับท่าน?
Mr.TakayaInokuma: ความพิเศษเริ่มขึ้นตั้งแต่กล่าวถึงแล้ว …ประการแรกของ M-6200 นี่ก็คือเป็นMonophonic Power Amplifier รุ่นนี้ยังไม่ได้ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ ซึ่งสำหรับนิตยสาร What Hi-Fi? แล้ว…ทาง Accuphase พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลลับสุดยอดให้ทราบ…!!!ว่าแท้จริงแล้วทางเราได้เตรียมกำหนดการณ์วางขาย “M-6200” ไว้ในช่วงเดือนเมษายนนี้โดยที่ความลับตรงจุดนี้ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อนความจริงแล้ว Accuphase มีสินค้าที่เป็นตัวท็อปสุดในประเภท Monoblock อยู่ทั้งหมดด้วยกัน 2 รุ่น คือ A200 ที่รู้จักกันดีว่าเป็น Class A และรุ่นล่าสุดนี้ คือ M-6200 ที่จัดว่าเป็น Class AB ที่พัฒนามาจากรุ่นต้นแบบ M-6000 ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งออกจำหน่ายมาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว (M-6200มีน้ำหนักมากกว่า M-6000 ถึง 1.7 กก. แม้ว่าจะมีขนาดตัวเครื่องที่เท่ากัน) …โดยมีการออกแบบวงจรใหม่ทั้งหมด ใช้ลวดพันคอยล์แบบ Rectangular wire coil ซึ่งทำให้ไม่มีช่องว่างเลยภายในตัวหม้อแปลง ต่างจากแบรนด์อื่นๆ ที่ล้วนพันกันด้วยลวดแบบกลม ตรงจุดนี้จะช่วยเรื่องของ Efficiency ลดปัญหาเรื่องการ “ฮัม” ของเครื่องได้อย่างหมดจด เรียกได้ว่าเป็น Humless Transformer ก็ว่าได้…
ส่วน Noise ก็มีระดับที่ต่ำมากๆ (Ultra Low Noise) ลดลงกว่าตัว M-6000 กว่าครึ่งหนึ่งจาก 23 ไมโครโวลต์ เหลือแค่ 11 ไมโครโวลต์เท่านั้น ส่วนในเรื่องของ Damping Factors ก็เพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิมกว่าสองเท่าตัว โดยที่ M-6200 มีระดับของ Damping Factors อยู่ที่ระดับมากกว่า 1,500 เทียบเท่ากับ A200 ตรงจุดนี้สามารถช่วยเรื่องการขับขานลำโพงให้มีสมรรถนะและประสิทธิภาพมากขึ้นโดยตรง ดีกว่า Class AB ทั่วไป ทั้งยังสามารถให้กำลังขับได้สูงถึง 1,250 วัตต์ที่ค่าความต้านทานต่ำสุดๆ เพียงแค่ 1โอห์ม แต่ทว่าM-6200 กลับกินไฟน้อยลงเพราะวงจรภายในถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Eco-Friendly) จุดเด่นอีกหนึ่งอย่าง ก็คือ Parallel Operation ที่สามารถลด Impedance เหลือแค่ 50%
What Hi-Fi? : คิดว่าตลาดเครื่องเสียงในประเทศไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆในแถบอาเซียนบ้างไหมครับ?
Mr.TakayaInokuma :ความจริงแล้วดูไม่แตกต่างกันเลย เพราะว่าในขณะนี้กระแสด้าน Digital Source กำลังมาแรง ทุกคนต่างหันไปสนใจกันหมด ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการฟังเพลงแบบนั้นจะเน้นแค่ความสะดวกสบายเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้คุณภาพเสียงที่แท้จริง เนื่องจากฟังผ่านหูฟังหรือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตต่างๆ นานา…ทางเราจึงคิดว่ามันเป็นแค่กระแสที่สักวันนึง มันก็จะกลายเป็นของเก่า เพราะเทคโนโลยีมักจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้คนคอยไล่ตาม แต่สิ่งเดียวที่ Hi-End Audio เหนือกว่า Source เหล่านั้น ก็คือ คุณภาพเสียงที่โดดเด่นเหนือชั้นกว่า แบบคนละชั้นกัน และ Accuphaseก็นับเป็น Hi-End Audio ขนานแท้ที่มุ่งเน้นเรื่องของ Quality และ Reliability เป็นสิ่งสำคัญควบคู่กัน มิใช่มุ่งตามกระแสนิยมที่ถือเป็นแค่แฟชั่นเฉพาะช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็ผ่านไป
What Hi-Fi?: อยากให้ฝากอะไรทิ้งท้ายถึงแฟนๆนิตยสาร What Hi-Fi? สักเล็กน้อยครับ?
Mr.TakayaInokuma: ศิลปินต่างๆ ที่หลายๆ คนชื่นชอบ พยายามผลิตผลงานดีๆออกมาให้ฟังอยู่ตลอด เพื่อให้บรรดาแฟนเพลงหายคิดถึงพวกเขา และรู้สึกเฉกเช่นว่ามาร้องเพลงให้ฟังอยู่ตรงหน้าแฟนๆ เฉกเช่นเดียวกับทาง Accuphase ที่จะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมออกมาเรื่อยๆ เพื่อช่วยเหล่าศิลปินรวมทั้งแฟนเพลงให้ได้รับคุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมที่สุดเสมอ แม้ว่าเราจะเป็นแค่บริษัทเล็กๆ ที่ออกผลงานต่อปีแค่ไม่กี่ชิ้นก็ตามที ส่วนแฟนๆ Accuphaseในเมืองไทย รวมถึงตัวแทนจำหน่ายก็ล้วนสนับสนุนพวกเราให้ได้รับกำลังใจที่ยอดเยี่ยมเสมอมา ซึ่งเราก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป เพื่อเป็นแรงผลักดันให้พวกเราทำงานอย่างมีความสุขเช่นนี้ตลอดไป
What Hi-Fi?: ขอบคุณมากครับ / สวัสดี
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ส่งท้าย…
Mr.Mark M. Suzuki – Executive Vice President; APEC Engineer, Mr.TatsukiTozuka – Supervisor International Marketing Division และ Mr.Kohei Nishigawa
ซึ่งในครั้งนี้ ทาง “HI-END GROUP”กรุณาให้ต่อทาง
…เริ่มต้น What Hi-Fi ? ได้สอบถามถึงจุดประสงค์ของการเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ของทีมงาน ACCUPHASE
– ซึ่ง ‘Jim S. Saito’ ได้ตอบว่า เป็นการเยี่ยมเยียน “มิตรของเรา” (Friends of us) อย่างเป็นเช่นปกติ ในประมาณช่วงต้นปีอย่างนี้ “เรา” มักจะใช้เป็นโอกาสเดินทางพบปะ-เยี่ยมเยียนกันสักครั้งในแต่ละปีๆ ซึ่งแน่นอนว่า “เรา” ก็คงต้องสอบถามถึง ตลาดเครื่องเสียงในเมืองไทยว่าเป็นอย่างไร ACCUPHASE อยู่ในระดับไหน (Position) รวมไปถึงเรื่องของความต้องการ และคำแนะนำในด้านต่างๆที่ HI-END GROUP จักมีให้กับ “เรา”ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญยิ่งสำหรับ “เรา” เพื่อการนำไปปรับปรุง หรือสรรสร้างผลิตภัณฑ์ ACCUPHASE ให้ตรงใจท่านผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดในวาระต่อๆ ไป
…จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นอะไรกันบ้างที่ได้วางแผนว่า จะออกจำหน่ายในช่วงประมาณกลางปีนี้เป็นต้นไป
– ครานี้ Mr.Mark M. Suzuki ได้ตอบว่า ในช่วงกลางปี-ปลายปีที่แล้ว “เรา” ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไปบ้างแล้ว อย่างเช่น รุ่น C-2120 ซึ่งออกมาแทนที่ C-2110 ด้วยคุณสมบัติการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น นับตั้งแต่เรื่องของเสียงรบกวน-แทรกซ้อน (Noise) ที่น้อยยิ่งกว่า พร้อมต่อการรองรับกับแหล่งข้อมูลดิจิตอลใหม่ๆ ผ่านทาง USB; รุ่น C-2420 ซึ่งออกมาแทนที่ C-2410 ที่ “เรา” พูดได้เลยว่า สมรรถนะและประสิทธิภาพนั้น-ใกล้เคียง-กับรุ่น C-2820 (เป็น “น้องรอง” ของ C-2820) ทั้งยังมีช่องเสียบหูฟังที่ใช้วงจรภาคขยายที่แยกออกมาเฉพาะ ‘Discrete Circuit Headphone Amplifier’ และยังสามารถปรับตั้งเกนการขยายสัญญาณ (gain) ได้อีกด้วย; รุ่น C-2820 ซึ่งออกมาแทนที่ C-2810 ด้วยความที่ C-2810 นั้นออกจำหน่ายมากว่า 5 ปีแล้ว ‘C-2820’ จึงเป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ ให้สมรรถนะและประสิทธิภาพนั้นก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับขั้น
‘DP-720’ ก็เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 1 รุ่น (ออกมาแทนที่ DP-700) ซึ่งได้ชื่อว่า อภิวัฒน์ให้ “เหนือชั้น” กว่า SA-CD/CD Player ทั้งปวง!! ด้วยโครงสร้าง Ultra-Heavy, High-Rigidity, High-Precision Mechanism ก้าวสู่ระดับ Ideal Transport Design อย่างแท้จริง ทำให้ระบบการอ่านข้อมูลแผ่นดิสก์มีความสมบูรณ์สูงสุด ร่วมกับ Digital Processor Section ที่ใช้เทคโนโลยีระดับ Cutting-Edge Circuit Topology ในการถอดรหัสข้อมูลดิจิตอลความเร็วสูงแบบ MDSD (Multiple Double Speed DSD) ที่เป็นนวัตกรรมเฉพาะของ ACCUPHASE ที่ทั่วโลกยอมรับ(ใช้ DAC chip จำนวนถึง 8 ตัวต่อแชนแนลนอกจากนี้ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ประเภท Clean Power Supply ออกใหม่อีก 2 รุ่น :- PS-520 กับ PS-1520
….สรุปว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่นี่จะใช้ Suffix ต่อท้ายชื่อรุ่นด้วยตัวเลข “20” ใช่ไหมครับ
– Mr.Mark M. Suzukiได้ตอบว่า ก็ไม่เชิงทั้งหมดครับ “เรา” ยังมี-รุ่นพิเศษ-ที่ขออุบไว้ก่อน ซึ่งไม่ได้มีตัวเลข “20” ต่อท้ายชื่อรุ่น โดยอาจจะถือเป็นซีรี่ส์ใหม่เอี่ยมอ่อง (Brand New) ของ Accuphase เลยก็ว่าได้ โดยจะได้ออกจำหน่ายในช่วงประมาณใกล้ๆ ปลายปีนี้ครับ
นี่ไงครับ ผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ใหม่ที่ว่า (Mr.Mark M. Suzuki เปิดกระเป๋าหยิบเอาเอกสารปึกใหญ่ขึ้นมา พร้อมโชว์รูปถ่ายเกี่ยวกับเครื่องรุ่นใหม่นี้) นี่คือ A-70 ที่อาจจะพูดได้ว่า ออกมาแทนที่ A-65 แต่ทว่าจริงๆแล้ว “A-70” ยิ่งใหญ่มากไปกว่านั้น คงพอจำได้ว่า A-200 เป็น Class-A Monophonic Power Amplifier ระดับ Flagship รุ่นล่าสุด ที่ออกจำหน่ายในวาระครบรอบ 40 ปีของ Accuphase ซึ่งสำหรับ A-70 นี่คือ Class-A Stereo Power Amplifier ระดับ Flagship รุ่นล่าสุดนั่นเองครับ เพราะใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับที่ใช้อยู่ใน A-200 เพียงแค่ต่างกันตรงที่ว่า เป็นระบบสเตอริโอเท่านั้น
Dimensions & Weight ของ A-70 เป็นดังนี้ครับ กว้าง 465 มม.สูง 238 มม. ลึก 515 มม. ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ต่างไปจากรุ่น A-65 ทว่าพอมาดูที่เรื่องของน้ำหนักตัว โอ้โฮ.. กลับหนักกว่ารุ่น A-65อยู่ถึง 1.3 กก. (44.3 กก.) จึงแน่นอนว่า ต้องมีอะไรดีๆ ที่ซ่อนอยู่ในความเป็น A-70
เริ่มต้นมาดูกันที่แผงหน้าเครื่องกันก่อน …A-70 จะมี Digital Power Meters พร้อมทั้ง 32-point LED Bar graph Indicators ทำหน้าที่บ่งบอกสถานะอัตรากำลังขับที่ใช้อยู่ ณ ขณะนั้น ซึ่ง “Digital Power Meters” นี้จะทำหน้าที่แสดงถึง ‘True Power Output’ (เป็นค่าตัวเลข) ที่ A-70กำลังจ่ายอยู่จริงๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับค่าความต้านทานของลำโพงที่เสียบต่อใช้งานร่วมกัน ส่วนแผงหลังเครื่องนั้น ติดตั้งขั้วเสียบต่อสายลำโพงได้ 2 ชุด สะดวกต่อการใช้งานแบบไบ-ไวร์
A-70มีโครงสร้างภายในที่เป็นแบบ Reinforced (เสริมแรง) เพื่อช่วยให้เกิดความแข็งแกร่งทางโครงสร้าง ด้วยการใช้ Aluminum Square bar ขนาด 20×15 มม. คาดยึดทางขวางของทั้งแผงหน้าและแผงหลังเครื่อง มาถึงเรื่องของอัตรากำลังขับ “A-70” สามารถกระทำได้ 60 วัตต์ต่อข้างที่ 8 โอห์ม แต่ทว่าที่ค่าความต้านทาน 1 โอห์มนั้น “A-70” สามารถกระทำได้สูงมากอย่างเหลือเชื่อถึงกว่า 500 วัตต์ต่อข้างเลยทีเดียวซึ่งนี่แสดงถึงว่า “A-70” นั้นมี “กำลังสำรอง” (Headroom) อันเหลือเชื่อจริงๆ อยู่ในตัว
อีกทั้งยังมีคุณสมบัติการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ในเรื่องของเสียงรบกวน-แทรกซ้อน (Noise) ที่น้อยยิ่งกว่าทำให้รายละเอียดเสียงต่างๆ ได้รับการนำเสนออย่างเด่นชัดมากยิ่งขึ้น (เสมือนน้ำลดต่อผุด) Mr.Mark M. Suzukiได้แสดงเอกสารที่บ่งบอกว่า เมื่อแรกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Accuphase (ในปีคศ.1972) นั้น แอมป์ของ Accuphase รุ่น P-300 ก็สามารถวัดค่า Noise Voltage ได้เพียงแค่ 40 ไมโครโวลต์เท่านั้น ซึ่งก็นับว่าต่ำสุดๆในกระบวนแอมปลิไฟเออร์ด้วยกันของยุคสมัยนั้น พอมาถึงปัจจุบันสมัย “A-70” สามารถวัดค่า Noise Voltage ได้เพียงแค่ 13 ไมโครโวลต์…!!!
นั่นหมายถึงว่า “A-70” มีเสียงรบกวน-แทรกซ้อน (Noise) ที่น้อยยิ่งกว่า A-65 ถึงกว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว โดยที่ “A-70” มีค่าสัดส่วนสัญญาณต่อเสียงรบกวน (S/N Ratio) อยู่ที่ 121 ดีบี นอกจากนี้หากพิจารณาในแง่ของ เกนการขยาย (Gain) นั้น จากตัวเลข Total Gain ที่ค่า 28 ดีบีเท่าๆกัน “A-70” จะใช้ Balanced Input Amplifier Block ที่มีเกนการขยายได้สูงถึง 22 ดีบี ทำงานควบคู่กับ Power Amplifier Block ที่มีเกนการขยายแค่เพียง 6 ดีบี ทำให้ภาคขยายกำลังไม่ต้องรับภาระหนัก ส่งผลให้ Noise ลดต่ำลงไปได้อย่างมากๆ ถึงกว่า 33 % (เทียบกับ 12 ดีบี และ 16 ดีบีในเครื่องรุ่นเก่าๆ ของ Accuphase เอง)
ที่สำคัญวงจรภาคขยายใน A-70 ยังเป็นแบบ Discrete Configuration Amplifier โดยไม่มีการใช้ IC ใดๆเข้าไปเกี่ยวข้อง นี่จึงส่งผลทำให้ A-70 มีค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์ (Damping Factor) ที่สูงมากๆ ถึงกว่า 800 (เทียบกับเพียงแค่ 60 เท่านั้นสำหรับรุ่น P-300 เมื่อ 42 ปีที่ล่วงมา) นั่นหมายความว่า “A-70” ให้สมรรถนะในการควบคุมจังหวะจะโคนการขับเคลื่อนของตัวลำโพงได้ดีกว่าอย่างมากๆ
เบื้องหลังกำลังขับ 60 วัตต์ต่อข้างที่ 8 โอห์ม “A-70” ใช้อุปกรณ์ MOS-FET จำนวนถึง 10 ตัวในแต่ละแชนแนล ทำงานร่วมกันในแบบ Push-Pull Configuration ควบคู่กับวงจร Balanced Remote-Sensing คอยทำหน้าที่ “ตรวจจับ” ศักย์ลบป้อนกลับ(Negative Feedback) ที่วิ่งย้อนกลับจากขั้วต่อสายลำโพง ในขณะเดียวกันก็ “ตรวจจับ” ทั้งรูปสัญญาณและกราวด์ไปพร้อมกัน ส่งผลให้ได้ค่า Total Harmonic Distortion และ IntermodulationDistortion ที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วยขั้วต่อสายลำโพงของ A-70ก็มีขนาดใหญ่พิเศษ ที่จับได้ถนัดมือ ช่วยให้การขันยึดสายลำโพงขนาดใหญ่-น้ำหนักมากเป็นไปได้อย่างแน่นหนา-มั่นคง
… A-70 เปรียบไปก็คือ สเตอริโอ เพาเวอร์ แอมปลิไฟเออร์ที่ออกมาแทนที่ A-65 แต่ทำไมถึงเลือกที่จะใช้เป็นซีรี่ส์ใหม่
– Mr.Jim S. Saitoได้บอกว่า เนื่องจากสมรรถนะและศักยภาพที่ “A-70” สามารถให้ออกมาได้อย่าง “เหนือชั้น” ยิ่งกว่าเมื่อครั้งที่ A-65 กระทำได้ “เรา” จึงตัดสินใจที่จะใช้เป็นซีรี่ส์ใหม่ขึ้นมาเลย
… เมื่อจัดว่าเป็นซีรี่ส์ใหม่ ทำไมจึงยังคงใช้ Dimensions ที่-ไม่ต่าง-ออกไปจาก A-65 ทว่ากลับมีน้ำหนักที่มากกว่า
– Dimensions ที่ “เรา” กำหนด นับว่าเป็นขนาดที่มีความเหมาะสมสำหรับสเตอริโอ เพาเวอร์ แอมปลิไฟเออร์ ไม่ใหญ่โตจนเกินไป กระทั่งรู้สึกเกะกะ หรือว่าสร้างความอึดอัดต่อการตั้งวางในห้องฟัง หรือ คิดเพียงเพื่อโอ้อวดในขนาดที่ใหญ่โต แต่ทว่าภายในกลับไม่มีอะไรแปลกใหม่-ปรับปรุงไปจากเดิม “เรา” คิดคำนึงถึงปัจจัยทุกๆอย่างของการใช้งาน มิใช่เจาะจงไปเฉพาะส่วนใดๆส่วนหนึ่ง พูดได้เลยว่า ACCUPHASE รอบคอบและพิถีพิถันในทุกๆด้าน …Mr.Jim S. Saito กล่าวย้ำ
…ทุกวันนี้ทางเยอรมนียังเป็น “ตลาด” แหล่งใหญ่สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของ ACCUPHASE อยู่ใช่ไหมครับ Mr.Mark M. Suzuki ได้ตอบว่า ถูกต้องครับ ความนิยมในผลิตภัณฑ์ ACCUPHASE ของคนเยอรมันยังไม่เสื่อมคลาย ราวๆ 70 % ของผลิตภัณฑ์ที่ “เรา” ผลิตขึ้นนั้นจำหน่ายในญี่ปุ่นครับ ส่วนอีก 30 % นั้น-ส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ใน 30 % นี้แหละครับที่จำหน่ายในประเทศเยอรมัน ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะ คนเยอรมันนั้นเป็นคนชอบความพิถีพิถัน รวมถึงความทนทานนานปีของการใช้งาน ส่วนราคานั้นดูจะไม่เกี่ยง ซึ่ง ACCUPHASEได้มุ่งเน้นการออกแบบให้ Sophisticate และ Luxury มิใช่ให้ดูหวือหวา หรือ เพื่อตามแฟชั่น ACCUPHASE ได้รับการออกแบบอย่างรัดกุม รอบคอบ ให้ยังคงใช้งานได้ดีไปอีกอย่างน้อยๆ ก็ 30-40 ปีเลยทีเดียว เพราะชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนผ่านการคัดสรรอย่างดี ต่อทั้งสายตา และการจับต้อง รวมไปถึงการตรวจวัดค่า และการประกอบลงแผงวงจรเพื่อลองใช้งานจริงๆว่า ให้คุณสมบัติจากการใช้งานเป็นเช่นไร มีปฏิสัมพันธ์อันใดต่ออุปกรณ์อื่นในวงจรซึ่งต้องทำงานร่วมกัน ที่ไปส่งผลลดทอนประสิทธิภาพการทำงานหรือไม่-อย่างไร นอกจากนี้ในส่วนของอะไหล่ “เรา” ยืนยันเลยว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ตั้งแต่แรกออกจำหน่ายนั้น (ตั้งแต่ปีคศ.1972 เป็นต้นมา) ยังคงมีเก็บรักษาไว้พร้อมให้บริการ
…แน่นอนว่า เมื่อถึงเวลา A-70 เดินทางมาถึงเมืองไทย “What Hi-Fi?” จะเป็นที่แรกที่นำเสนอเรื่องราวรีวิวโดยละเอียดครับโปรดติดตาม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..