What HI-FI? Thailand

Classical Music Community #1 Antonin Dvorak (1841 – 1904)

ดร. สมนึก จันทรประทิน

American Suite in A major, Op. 98b

        Antonin Dvorak ประพันธ์ American Suite (ซึ่งดั้งเดิมแล้ว เป็นคีตนิพนธ์สำหรับให้บรรเลงด้วยเพียโนที่ประกอบด้วย 5 ลีลา) ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม ค.ศ. 1894 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิแห่งปี ค.ศ. 1894 ซึ่งเป็นระยะเวลาครึ่งหนึ่งของการดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการแห่ง The National Conservatory ที่ New York สำหรับ Piano Version นั้น ได้รับการนำออกบรรเลงไม่นานหลังจากประพันธ์สำเร็จ แต่ Dvorak ก็ไม่ได้ดำเนินการกำหนดให้คีตนิพนธ์บทนี้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีของวงดุริยางค์ (Orchestration) ให้สำเร็จสมบูรณ์แต่อย่างใด จนกระทั่งหลังจากที่ Dvorak ได้เดินทางกลับ Prague ในปี ค.ศ. 1895

Antonin Dvorak

        Dvorak ดำเนินการร่างการประพันธ์ครั้งแรกของคีตนิพนธ์บทนี้ในวันปีใหม่แห่ง ค.ศ. 1894 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงสองสัปดาห์หลังจากการนำซิมโฟนี หมายเลข 9 ของ Dvorak ออกบรรเลงเป็นครั้งแรกซึ่งประสบความสำเร็จ ตามที่ได้ระบุไว้ในต้นฉบับ Dvorak ได้เริ่มดำเนินการประพันธ์ร่างการประพันธ์สุดท้ายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่ “New York ซึ่งเป็นวันแห่ง St. Matthew อุณหภูมิ 11 ดีกรีต่ำกว่าศูนย์” Dvorak ประพันธ์สำเร็จในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1894 หนึ่งปีต่อมา Dvorak ได้ดำเนินการ Orchestration คีตนิพนธ์บทนี้ในขณะที่กำลังดำเนินการประพันธ์ Cello Concerto ของ Dvorak อย่างไรก็ตาม Version ของ American Suite ที่บรรเลงด้วยวงดุริยางค์ ไม่ได้รับการนำออกบรรเลงและไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่จนกระทั่งหลังจากมรณกรรมของ Dvorak

        สำหรับการนำ The Orchestral Version ของ American Suite ออกบรรเลงเป็นครั้งแรกนั้น เกิดขึ้น ณ คอนเสอร์ทแห่งปีค.ศ. 1910 นอกจากนี้ The Orchestral Version ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่จนกระทั่งปีค.ศ. 1911 ซึ่งเป็นเวลา 7 ปีหลังมรณกรรมของ Dvorak ในปี ค.ศ. 1904

        Dvorak ได้เคยกล่าวไว้ว่า อิทธิพลของอเมริกาต่อดนตรีของ Dvorak สามารถที่จะรู้สึกและประจักษ์โสตได้ แต่เป็นสิ่งซึ่งยากกว่าที่จะระบุลักษณะที่เป็นอเมริกันได้อย่างเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ ทำนองหลักและจังหวะที่ปรากฏอยู่ใน American Suite ก็ปรากฏอยู่ในคีตนิพนธ์ที่ Dvorak ได้ประพันธ์ในช่วงแรกๆตอนที่ Dvorak อยู่ที่ยุโรป ดังนั้น แม้ว่าการประพันธ์ทำนองหลักจะได้รับอิทธิพลจากอเมริกันก็ตาม แต่ร่องรอยต่างๆของดนตรีสำหรับการเต้นรำแห่งยุโรปยังคงปรากฏประจักษ์โสตในคีตนิพนธ์บทนี้ โดยเฉพาะในลีลาที่ 3 (alla polacca – ในสไตล์ของชาวโปแลนด์)

        สกอร์ (Score) ของ American Suite, Op. 98b ของ Dvorak (Orchestral Version) กำหนดให้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้: 1 พิคโคโล, 2 ฟลู้ท, 2 โอโบ, 2 คลาริเน็ท, 2 บาสส์ซูน, 1 คอนทราบาสส์ซูน, 4 เฟร็นช์ ฮอร์น, 2 ทรัมเพ็ท, 3 ทรอมโบน, 1 ทูบา, กลองทิมพะนี, กลองเบสส์, ฉาบ, สามเหลี่ยม และวงเครื่องสาย

        American Suite ของ Dvorak ประกอบด้วย 5 ลีลา ดังต่อไปนี้

       ลีลาที่ 1: Andante con moto

                  (ช้าปานกลางด้วยความเคลื่อนไหว/การดำเนินไปข้างหน้า) 

                   (บรรเลงอยู่ในกุญแจเสียง A major)

        เริ่มต้นการบรรเลงลีลาที่ 1 ด้วยทำนองหลักแห่งบทเพลงพื้นเมืองอเมริกัน (Spiritual) ซึ่งมีความไพเราะงดงามอย่างยิ่ง ให้บรรยากาศและความรู้สึกแห่งการเปิดกว้าง ความอภิรมย์ และความเบิกบานใจยิ่งนัก รวมทั้งให้อารมณ์แห่งความสดชื่นและความเป็นชนบท ซึ่งได้รับการบรรเลงเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ได้รับการบรรเลงซ้ำในรูปแบบ/คีตลักษณ์การซ้ำ/การคงรักษาทำนองหลักไว้ (Thematic/Melodic Ostinato)

        ลีลาที่ 2: Allegro (เร็ว)

                   (บรรเลงอยู่ในกุญแจเสียง C-sharp minor)

        การบรรเลงลีลาที่ 2 ให้อารมณ์ความรู้สึกที่มีชีวิตชีวาจากการบรรเลงคีตลักษณ์ Trio ที่ร่าเริงและไพเราะ

        ลีลาที่ 3: Moderato (alla polacca)

                  ปานกลาง (ในสไตล์ของชาวโปแลนด์ –

                   In the Polish Style)

                    (บรรเลงอยู่ในกุญแจเสียง A major)

        ลีลานี้ประกอบด้วยทำนองหลักของ American Indian และมีคีตลักษณ์ Polonaise โดยได้รับการบรรเลงอยู่ในลักษณะจังหวะประจุด (Dotted Rhythms) ที่ร่าเริง ว่องไวและเบาสบาย

        ลีลาที่ 4: Andante (ช้าก้าวย่างสบายหรือช้าปานกลาง)

                   (บรรเลงอยู่ในกุญแจเสียง A minor)

        ลีลาที่ 4 บริบูรณ์ไปด้วยความก้าวหน้าทางด้านคอร์ดและกุญแจเสียง ซึ่งคือคุณลักษณะของแห่งคีตนิพนธ์ที่เป็น Bohemian ของ Dvorak ทั้งหมด และขัดแย้งกับลีลาที่ 5 ซึ่งวลีดนตรีมีโทนเสียงที่เป็นอเมริกันอย่างแท้จริง คีตลักษณ์ของลีลานี้ คือ Nocturne (ดนตรีแห่งราตรี) ที่ร่าเริงอย่างอบอุ่น ซึ่งเริ่มต้นการบรรเลงด้วยทำนองหลักที่สละสลวยจากการบรรเลงของโอโบ

        ลีลาที่ 5: Allegro (เร็ว)

                   (บรรเลงอยู่ในกุญแจเสียง A minor)

        ลีลาสุดท้ายเป็นลีลาที่ให้อารมณ์ความรู้สึกที่สดชื่น มีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า และทรงพลานุภาพยิ่งนัก โดยการบรรเลงทำนองพื้นบ้านพร้อมด้วยการบรรเลงที่เด่นสะดุดโสตของโอโบ ในที่สุด American Suite ได้สิ้นสุดลงด้วยการย้อนกลับมาบรรเลงของทำนองหลักที่เรียบง่าย (ซึ่งเป็นทำนองหลักที่ใช้ในการเริ่มต้นคีตนิพนธ์บทนี้) ด้วยการบรรเลงที่ให้ความรู้สึกแห่งความกระฉับกระเฉง ความมีชีวิตชีวา ความโอ่อ่า ความสง่างาม ความมโหฬาร และชัยชนะ


Discography

1.

วงดุริยางค์: Royal Philharmonic Orchestra

วาทยากร: Antal Dorati

บันทึก: Kingsway Hall, London, ตุลาคม ค.ศ. 1983

สังกัด: Decca

หมายเลขแผ่น: 460 293 – 2 DF2 (2CDs) (DDD)

Antal Dorati

Antal Doráti KBE เป็นผู้ควบคุมวงและนักแต่งเพลงชาวฮังการี

        หนึ่งในบรรดาบันทึกซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ (Historic Recordings) แห่ง American Suite ของ Antonin Dvorak คือ บันทึกการบรรเลงของ The Royal Philharmonic Orchestra ภายใต้การอำนวยคีตนิพนธ์โดย Antal Dorati (1906 – 1988) ซึ่งตีความได้เป็นเลิศสำหรับทุกองค์ประกอบและทุกมิติแห่งดนตรี อาทิ การควบคุมความเร็วจังหวะ (Tempi) ได้อย่างประณีตละเอียดอ่อน การควบคุมการไหลของโครงสร้างที่สุดยอดเยี่ยม รวมทั้งความสมดุลแห่งเครื่องดนตรีในทุกลีลา โดย Dorati ได้ตีแผ่รายละเอียดของทุกโน้ท  และความไพเราะงดงามแห่งทุกทำนองหลัก รวมทั้งได้นำเสนอทุกอารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศในระดับที่เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งคีตนิพนธ์อย่างแท้จริง

        Antal Dorati สามารถดึงการบรรเลงที่สุดยอดเยี่ยมออกมาจากวงดุริยางค์ Royal Philharmonic Orchestra ให้ประจักษ์โสต Dorati กำกับและอำนวยการบรรเลงได้วิเศษสุด นับเป็นบันทึกชั้นแนวหน้าที่แผ่ช่วงกว้างแห่งอารมณ์ความรู้สึก ความบรรเจิดจ้า ความคมชัด ความหนักแน่น ความตื่นโสต ความมีชีวิตชีวา พลานุภาพ ความนุ่มนวล การผ่อนคลาย ความอบอุ่น ความสุกใสส่องสกาว รวมทั้งความเพียบพร้อมด้วยความแม่นยำและถูกต้องแห่งการอำนวยคีตนิพนธ์

        บันทึกใน CD นี้ คือ บันทึกซึ่งให้คีตสุนทรียรสได้สุดยอดเยี่ยม โดยมอบความทรงจำแห่งโน้ทที่แท้ต่อโสตและจิต

สรุปการประเมินคุณภาพ

การบรรเลงของ Royal Philharmonic Orchestra                     5  ดาว

การอำนวยคีตนิพนธ์ของ Antal Dorati                                   5  ดาว

การไหลของโครงสร้าง                                                       5  ดาว

การบันทึก                                                                     3 ½ ดาว

        ต้องมี ต้องสดับ ต้องสดับซ้ำให้ซาบซึ้ง และต้องเก็บไว้ใน Collection ที่ทรงคุณค่าของท่าน


2.

วงดุริยางค์: Berlin Radio Symphony Orchestra

วาทยากร: Michael Tilson Thomas

บันทึก: ค.ศ. 1976

สังกัด: Sony Classical

หมายเลขแผ่น: G0100012226568


3.

วงดุริยางค์: Royal Liverpool Philharmonic Orchestra

วาทยากร: Libor Pesek

บันทึก: –

สังกัด: Virgin Classics

หมายเลขแผ่น: 5 62492 2 (DD) หรือ 59505 (DDD)


4.

วงดุริยางค์: Prague Philharmonia

วาทยากร: Jakub Hrusa

บันทึก: –

สังกัด: Supraphon

หมายเลขแผ่น: SU 3882-2 (DDD)


5.

วงดุริยางค์: Budapest Festival Orchestra

วาทยากร: Ivan Fischer

บันทึก: –

สังกัด: Channel Classics

หมายเลขแผ่น: – (SACD)


6.

วงดุริยางค์: Bamberger Symphoniker

วาทยากร: Robin Ticciati

บันทึก: –

สังกัด: Tudor

หมายเลขแผ่น: –


7.

วงดุริยางค์: Janacek Philharmonic Orchestra

วาทยากร: Dennis Burkh

บันทึก: –

สังกัด: Centaur Records

หมายเลขแผ่น: CRC 2121


8.

วงดุริยางค์: Luzerner Sinfonieorchester

วาทยากร: James Gaffigan

บันทึก: –

สังกัด: Harmonia Mundi

หมายเลขแผ่น: HMC 902188


9.

วงดุริยางค์: Russian Philharmonic Orchestra

วาทยากร: Dmitry Yablonsky

บันทึก: –

สังกัด: Naxos

หมายเลขแผ่น: 8.557352


10.

วงดุริยางค์: West Australian Symphony Orchestra

วาทยากร: Vernon Handley

บันทึก: –

สังกัด: ABC Classics

หมายเลขแผ่น: ABC 4763514


Vinyl (LP)

วงดุริยางค์: Berlin Radio Symphony Orchestra

วาทยากร: Michael Tilson Thomas

บันทึก: ค.ศ. 1976

สังกัด: CBS

หมายเลขแผ่น: M 34513


Exit mobile version