What HI-FI? Thailand

Aesthetix : Mimas อินทิเกรตแอมป์ไฮบริด

Garoonchart  Bukkavesa

เครื่องเสียงทุกแบรนด์พยายามออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว​ เช่น​ สไตล์,  เฉดสี​ ฯลฯ เพื่อต้องการให้นักเล่นมองเห็นแม้ในระยะไกลจะรับรู้ทันทีว่ายี่ห้อะไร​

ถ้าพูดถึงเรื่องปุ่มกด​ เครื่องที่ใช้ปุ่มทรงกลม​ จะพบว่ามีมากมาย​ ปุ่มสี่เหลี่ยมจะเหลือแค่หยิบมือ​ เดาไม่ยาก​ แต่ถ้าบอกว่า “ปุ่มสามเหลี่ยม”​ นั่นจะมีเพียงหนึ่งเดียว คือ Aesthetix  มองปุ๊ปทราบทันทีว่ายี่ห้ออะไร ไม่เหมือนใครแน่นอน เว๊บไซด์คือ http://aesthetix.net ผลิตภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา Ceo คือ MR.Jim White

รุ่นที่ส่งมาทดสอบครั้งนี้คือ Mimas อินทิเกรตแอมป์หลอดไฮบริด ซึ่งใช้พื้นฐานภาคปรีจากรุ่น Calypso และภาคเพาเวอร์รุ่น Atlas นำมารวมเป็นตัวถังเดียวกัน โดยที่ยังเป็นวงจรบาล้านซ์แท้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ภาคอินพุตสเตจซิงเกิ้ลเอ็นด์ใช้หลอดมาขยาย 

ติดตามความพิเศษของ Aesthetix : Mimas กันครับ

คุณสมบัติพิเศษ Aesthetix : Mimas

สเปค Aesthetix : Mimas

อุปกรณ์ร่วมพรีวิว Aesthetix : Mimas

ผลการฟัง Aesthetix : Mimas

ผมนำเครื่องมาทดสอบที่ห้องฟังผมเอง นับว่าโชคดีมาก ๆ ได้เทียบอะไรหลาย ๆ อย่าง Aesthetix : Mimas นับเป็นผลิตภัณฑ์ตัวที่สองของค่ายนี้ที่มาเยือนในห้องฟังของผม ตัวแรกคือ ปรีแอมป์ Aesthetix : Calypso

ตอนเปิดเครื่องด้วยเมนสวิตช์ ตัวเครื่องจะรันโปรแกรมซอฟท์แวร์ต่าง ๆ ใช้เวลาสักพักจากนั้นเข้าสู่โหมด Standby เมื่อเปิดเครื่อง ตัวเครื่องจะขึ้นคำว่า WarmUP ใช้เวลาสักพักเช่นกันเมื่อพร้อมระบบจะบังคับโหมด Mute ไว้ ต้องกดยกเลิกเพื่อให้ได้ยินเสียง ระดับโวลุ่มเองจะกลับมาเริ่มทำงานที่ 0 เสมอไม่ว่าก่อนปิดเครื่องโวลุ่มคุณจะอยู่ที่เท่าไหร่

ด้านหลังติดต้ั้งขั้ว XLR ทุกช่อง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ดี เนื่องจากอินทิเกรตบางตัวมี XLR แค่ 1 ช่อง ถ้าคุณมีแหล่งโปรแกรม 2-3 เครื่องมี XLR Out ทั้งหมด คุณจะต้องเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่ง มิฉะนั้นคุณจะต้อง “ถอดสลับ” สายเข้าทุกครั้ง (ระยะยาวอาจจะหลวม) แต่ Aesthetix Mimas มีให้ครบทุกอินพุท คุณใช้เครื่องที่มี XLR Out ได้ท้งหมด ไม่ว่าจะเป็นซีดี. โฟโนแยก สตรีมมิ่ง ฯลฯ ยิ่งมีสายบาลานซ์หลายชุด จะยิ่งคุ้มค่าครับ นอกจากนี้สำหรับคนหูไว มือซน อาจเลือกเสียบแต่ละอินพุทที่เสียงดีที่สุดตามลำดับ 1-2-3 เน้น ๆ ได้ด้วยครับ

มีการใช้คาปาซิเตอร์รวมเกือบ 180,000 UF ถือว่าเยอะมาก ๆ ขนาดแอมป์ดูหนัง 7 แชนแนล ส่วนมากยังใช้แค่ 120,000 uF เอง พละกำลังจึงหายห่วง เมื่อรวมกับหม้อแปลงสั่งทำ ชีลด์ด้วยสแตนเลส ลดการกวนได้ดี จุดนี้ไม่ใช่เล่น ๆ นะครับ พวก diy จะทราบดี ไม่มีฮัมมีจี่แม้แต่น้อย

ลำโพงอ้างอิงเป็น Aerial Acoustic : Model 7T ซึ่งความต้านทานเฉลี่ย 4 โอห์ม ดังนั้น เมื่อใช้ Aesthetix : Mimas มาขับ เท่ากับว่าตอนนี้ขับด้วยกำลัง 280 วัตต์!! ถ้าคุณใช้ลำโพงมีความต้านทาน 8 โอห์ม จะได้กำลังขับเพียง 150 วัตต์ที่ 8 โอห์มเท่านั้น ดังนั้น เมื่อลำโพง Aerial Acoustic : Model 7T ถูกขับด้วยวัตต์สูง 280 วัตต์ เสียงจะดียิ่งขึ้นแน่นอน

การเปิดเครื่องแล้วลองฟัง “วัดผล” ทันที! ไม่ใช่เรื่องที่สมควรทำกับเครื่องที่มี “หลอด” เป็นส่วนประกอบ ขอแนะนำว่าควรอุ่นเครื่องก่อนฟังสัก 1 ชั่วโมงเพื่อให้หลอดร้อน และวงจรอื่น ๆ เข้าสู่อุณหภูมิการทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อลองฟังอัลบั้มคุ้นชิน ความใส รายละเอียดดีขึ้น เสียงกลางมีการย้ำหนักเบาดีอีกนิด อักขระชัดเจนอีกนิด เบสนิ่งมีโฟกัสเป็นตัวตนขึ้น เมื่อเทียบกับการวอร์มแค่ 30 นาที

ลองฟังโน๊ตแรก เล่นด้วยเครื่องเล่นซีดี Studer D731 ลองฟัง The Wonderful Sound of Three Blind Mice (Golden String – GSCD 004) แทรค Bridge Over Troubler Water ขับร้องโดย Ayako Hosakawa เร่งเบากว่าปกติ เสียงที่ได้ยินยังมาครบ ไม่จมไม่ทึบ เสียงกลางเด่น มีโทนัลบาลานซ์ดี เบสออกแนวอวบเล็กน้อย ซึ่งแน่นอนว่าผลจะแปรเปลี่ยนไปแบบที่ผมบอก…เมื่อคุณวอร์มหลอดในภาคปรีให้ร้อนเข้าที่ และฟังในระดับโวลุ่มปกติ ผมวอร์มต่ออีกราว 1 ชั่วโมงแล้วฟังซ้ำ พบว่า เสียงกลางโดดเด่น น่าฟัง ลูกคอจากเดิมมี 7-8 ชั้น ตอนนี้รับรู้ได้ว่าเสียงลูกคอของ Ayako มี 9 ชั้น!! มีความใสที่ดี ไม่ขุ่นมัว ไทมิ่งถูกต้อง ไม่ถูกดึง “ช้า” ลงไป ต้องขอบคุณภาคปรีที่เป็นหลอด 6922/6dj8 

The Symphonic Sound Stage (Delos D/CD 3502) ถ่ายทอดรายละเอียดแผ่วเบาได้ดี ได้ยินโน๊ตเบสที่เล่นระดับเบามากถ่ายทอดให้ผมได้ยินมากกว่าทุกครั้ง!! แสดงถึงระดับสัญญาณรบกวนต่ำมาก ๆ

Aesthetix : Mimas มีความเป็นมอนิเตอร์สูง การลองเปลี่ยนสายลำโพงหรือองค์ประกอบอื่นใหม่ เสียงเปลี่ยนไปตามบุคลิกนั้น ๆ โดยเฉพาะสายไฟเอซี ถ้าได้เส้นใหญ่กว่า 10 AWG เสียงจะมีมวลอิ่มหนาขึ้น 

แผ่นโปรด Rain Forest Dream (Saydisc CD-SDL 384) มีความเป็น 3 มิติ วงกว้าง แหลมอบอุ่น เจือด้วยความหวาน มีความไหลลื่น ไม่มีการบาดหูแม้แต่น้อย เสียงกลางสะอาด เบสนุ่มนวลมากกว่าเน้นลำหักลำโค่นเป็นลูก ๆ ประเด็นนี้ผมว่าพอเหมาะ บางคนจะชอบเสียงทุ้มแบบนี้

What Hi-Fi? 2017 แทรค Bridge Over Trouber Water เสียงร้องเจือด้วยความหวาน ฟังเพลินจริง ๆ ลีลาการขับร้องไพเราะ ไทมิ่งดี หางเสียงทอดตัวกังวานพอเหมาะ ไม่เน้นลากยาวให้ฟุ้งเกินไป

Mokave Volume 1 (AudioQuest AQ-CD1006) เสียงสังเคราะห์ถ่ายทอดได้อย่างน่าฟัง มีความต่อเนื่อง และกลมกลืน เข้ากันได้ดี ทำให้เกิดความรื่นรมย์เสมอในยามที่ฟัง  

ลองฟังแผ่นที่บันทึกบ้าน ๆ นรีกระจ่าง (SSI MC-3008) รับรู้ได้เลย Aesthetix : Mimas พยายามรังสรรค์โน๊ตดนตรีให้มีความ “น่าฟัง” เสียงร้องไพเราะ หวานลื่น อาจไม่หวานหยดย้อยเหมือนแอมป์หลอด 300B แต่ก็ทำให้แผ่นราคาถูกฟังได้อย่างไพเราะ ไม่ต้องเล่นแผ่นแพงเสมอไป

ตัว Aesthetix : Mimas ติดตั้งบอร์ดโฟโนมาด้วย จะไม่ลองก็ใช่ที่ ผมลองต่อกับเทิร์น VPI : Scout โทนอาร์ม ; SME : M2-9 หัวเข็ม ; Ortofon : MC20 (25th Anniversary) พบว่าเร่งดังกว่าฟังซีดีบ้าง​  เป็น 70-78 (ซีดี 52-62) แล้วแต่แผ่น เริ่มจาก To Mr.Wonderful (Three Blind Mice TBM-3008) ร้องได้นุ่มนวลลื่นไหล แต่แฝงด้วยพลัง มีความน่าฟังจริง ๆ 

Jacintha Here’s to Ben (Groove Note GRV1001-1) แทรค Danny Boy, Look of Love, Over The Rainbow ร้องได้น่าฟังดี​ ลื่นไหล ออดอ้อนดี ไพเราะ แบ๊คกราวน์น๊อยส์เงียบสงัด ได้ยินรายละเอียดแผ่วเบาดี ​

All Star Percussion Ensemble (First 1000 Pressings, Fim-GS LP 001-LE) เครื่องเคาะใส​หวาน​สุกสกาว​กังวานดี​ ลองเร่งดังกว่าปกติเป็น ​80​ เสียงยังแต่ควบคุมตัวได้ดี​ ไม่พร่าเพี้ยน เสียงยังหวาน​ ลื่นไหล​ ผมกะว่าฟังแค่แทรคเดียว​ แต่กลายเป็นฟังจนหมดหน้า!! เพลินจริงๆ ครับ

Super Strings (Toshiba LF-95010 Pro-Used Series Direct Cutting) เหมือนวงมาเล่นต่อหน้า ลำโพงล่องหน​ เวทีกว้างขวาง​ชิ้นดนตรีมีโฟกัสที่ดี ไล่เป็นลำดับชั้น ๆ ได้ชัดเจน

คิดถึงคาราบาว​ vlv012 ฟังด้วยแผ่น Test Pressing ​เสียงหวาน​น่าฟังออดอ้อนมาก ย้ำหนักเบาดี อักขระต่าง ๆ ขึ้นตัวโน๊ตได้น่าฟัง

Charly Antolini Knock Out 2000 2k (สปีด45 inakustik 90531) เสียงตีกลองเบสแน่น​ มีมวลกำลังดี​ ไม่บาง ไม่บวม ​ไทมิ่งดีไม่ช้าหรือเร็วเกินไป

MK Super Sampler บันทึกแบบ Direct to Disc แทรค Flamenco Fever  เบสแน่น​กระทืบเท้ามีมวล​ ไม่บาง หางเสียงทอดตัวกังวานได้ดี มีบรรยากาศรายล้อมรอบชิ้นดนตรีไม่แห้ง

The O-Zone Percussion Group The Percussion Record (Clearaudio : LP83058) แทรค Jazz Varient  เครื่องเคาะใส​สะอาด​ เบสอิ่มมีบอดี้โน๊ต เบสดี​ไม่บาง เสียงตีกลองมีไดนามิครุนแรงดี ไม่เนือย

ลองฟังการตีกลอง 3 แผ่นถือว่า  ​Aesthetix : Mimas ให้ความลงตัวดี​ ฟังได้ทุกแนว​หวาน​ดุดัน​ ฯลฯ​ แพงแต่คุ้มไม่ใช่ได้แนวเดียว   ทำให้คุณต้องมีแอมป์อีกตัวให้วุ่นวาย​และอาจบายปลายโดยไม่รู้ตัว​ เมื่อคิดได้อาจจ่ายเงินไปเกินค่าตัว Aesthetix : Mimas แล้วก็เป็นได้!!!

มาถึงช่วงท้าย ฟังไฟล์เพลงผ่าน  Aesthetix : Mimas ที่ใส่ออปชั่นบอร์ดดิจิตอลมาด้วย ใช้โน๊ตบุ๊ค  Asus x455d +สาย USB Monster พบว่า

Hoff Ensemble : Quite Winter Night ไฟล์ FLAC 24/352.8 (2L-087) เบสอิ่ม​อุ่น มีบอดี้ มวลเข้มข้น​ ไม่มีสากเสี้ยน  เสียงลมออกจากท่อแซกฯ ได้ชัดเจน ไม่มีอาการขึ้นขอบหรือรู้สึกว่าฟังดิจิตอลเลย! คิดว่าฟังจากระบบอนาลอก!!

The Staff Band of The Norwegian Armed Forces​ ​แทรค Bozza Children’s Overture ไฟล์ FLAC 24/352.8 (2L-086)​ ตีกลองทิมปะนีกระหึ่ม​ อิ่มแน่น​ วงกว้างโอ่อ่า​ ลำโพงล่องหนไปง่ายๆ

Barb Jungr อัลบั้ม Love Me Tender ไฟล์ 24/96 Khz (Linn Records) แทรค Alway on My Mind, Love Me Tender ไพเราะ​น่าฟัง​ ร้องได้อารมณ์ ลูกคอดี ดื่มดำกับเสียงดนตรีอย่างแท้จริง

แทรค Smoke Gets in Your Eyes ไฟล์ 24/352.8 เสียงร้องลื่นไหล ออดอ้อน สะอาด มีรายละเอียดแผ่วเบาดี

สรุปผลการฟัง Aesthetix : Mimas

Aesthetix : Mimas เป็นอินทิเกรตแอมป์หน้าตายูนีค ใครชอบหน้าตาที่ไม่จำเจน่าจะถูกใจ มองไกล ๆ 3-4 เมตรทราบเลยยี่ห้ออะไร คุณภาพเสียงดีมาก ๆ อิ่มหวาน ลื่นไหล เป็นธรรมชาติจริง ๆ ต้องขอบคุณภาคปรีที่เป็น “หลอด” ช่วยเติมความหวานได้อย่างลงตัว ถ้าคุณเลือกลำโพงที่เหมาะสมมาแมชชิ่งได้ นับจากนี้คุณจะพบแต่ความเป็นดนตรี ซึ่งยี่ห้ออื่นอาจมีเช่นกัน แต่มีอย่าง “ไม่รู้เบื่อ” นี่หาไม่ง่ายนะครับ ถ้าเป็นแอมป์หลอดทั้งหมด คุณอาจจะพบว่าฟังได้ไม่กี่แนวเพลง และทุกเพลงจะมีสไตล์ที่ซ้ำๆ กันทั้งหมด ฟังนาน ๆ ก็เบื่อ!!

แต่ Aesthetix : Mimas คุณจะไม่รู้สึกแบบนั้น ฟังได้อย่างไม่รู้เบื่อเลย กลายเป็นหนทางที่นำไปสู่คำว่า “คุ้มค่า” อย่างที่สุดครับ!!


ขอบคุณ Image Music & Film โทร. 02 297 0890 ที่เอื้อเฟื้อให้ยืมเครื่องทดสอบ

Exit mobile version