Electronluv

0

นี่เป็นแอมป์ที่ออกแบบพิเศษ ฝีมือของ Josh Stippich ผ่านแบรนด์ Electronluv (ตั้งอยู่ที่ Salt Lake City, UT, United States, Utah.) โดยใช้หลอดสุญญากาศ VV45 (ด้านหน้า) ขับหลอดสุญญากาศ 845 ที่เรคติฟายด์ด้วยหลอด Mercury Vapors 866 2 หลอด (หลอดแสงสีฟ้าด้านขวา) ในขณะที่ RCA 83 (หลอดสุดท้าย) ซึ่งเรคติฟายด์ด้วย VV45 ได้กำลังขับที่ 20 วัตต์ ซึ่งดูแล้วมีความน่าสนใจมิใช่น้อย ทั้งในแง่รูปลักษณ์ที่โดดเด่น และความแตกต่างไม่เหมือนใครในแนวคิดการออกแบบ

Stippich ในวัยใกล้จะ 30 ปี เริ่มสร้างอุปกรณ์สเตริโอ เมื่อเขามีสตูดิโอบันทึกเสียงในไฮแลนด์, รัฐยูทาห์ ตอนช่วงทศวรรษ 1990 เขาบันทึกเสียงให้กับ Red Bennies, Stretch Armstrong, Ether และศิลปินท้องถิ่นชื่อดังคนอื่นๆ ที่สตูดิโอ Stippich มีแรงบันดาลใจในความพยายามสร้างเสียงที่ต้องการ ผลงานในช่วงแรกของเขา ณ เวลานี้ได้กลายเป็นระบบที่ให้เสียง Immense Sound Systems อันน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งมักจะขายได้ในราคาหลักห้าหลัก และได้รับการแนะนำในสิ่งพิมพ์ด้านเสียงระดับไฮเอนด์

แนวการออกแบบของ Stippich ไปในทาง Art Deco Designs เช่น เครื่องจักรไอน้ำเก่าๆ และรถยนต์เก่าๆ แรงบันดาลใจของเขาเริ่มต้นจากยุคทองของเครื่องเสียงไฮ-ไฟในยุค 60 ซึ่งต้องใช้เทคนิคและฝีมือช่างมากมาย “งานของ Stippich เป็นงานที่มีหลากหลายสาขาเข้ามาผสมผสานกัน เช่น งานกลึง งานเชื่อม งานออกแบบ งานอิเล็กทรอนิกส์ และงานวิศวกรรม โดยต้องรู้จักวัสดุและวิธีการทำงานกับวัสดุเหล่านั้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ” ซึ่ง Stippich บอกว่า ตัวเขาชื่นชอบ “เสียงที่อบอุ่นและสดสะอาด”

Stippich ยังระบุว่า “เราใช้เทคโนโลยีจริงๆ เราใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบสิ่งเหล่านี้ และเรามีเครื่องจักรที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการผลิต เทคโนโลยีบางอย่างก็เก่าแล้ว เช่น หลอดสุญญากาศ เครื่องเล่นแผ่นเสียง และแผ่นเสียงไวนิล” ผลิตภัณฑ์ของ Electronluv จัดเป็นสินค้าระดับไฮเอนด์ด้วยเหตุผลที่ว่า “ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการผลิต และคุณภาพของวัสดุก็มีราคาแพง และส่วนประกอบต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่คุณผลิตสินค้าเพียงชิ้นเดียว จะต้องใช้เวลามาก” แต่ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ของ Electronluv งานส่วนใหญ่ของเขาทำขึ้นตามคำสั่งซื้อพิเศษ

Stippich ใช้เวลาหลายปีในการทดลองและค้นคว้า เพื่อสร้างผลงานศิลปะด้านเสียงเหล่านี้ Stippich เคยบอกว่า “สิ่งที่ผมทำมาตลอดคือ นั่งเฉยๆ และเล่นกับมันจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ สำหรับหลอดฯแล้ว ไม่มีโรงเรียนสอนอีกต่อไปแล้ว มันเป็นเพียงพื้นฐานของอิเล็กทรอนิกส์ คุณต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง มันเป็นศิลปะที่สูญหายไปในทุกวันนี้”

ในความเป็นจริงแล้ว Stippich ได้สังเกตเห็นการกลับมาของหลอดฯในอุปกรณ์สเตริโอและเครื่องขยายเสียงกีตาร์ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เขารู้ว่า “เสียงนั้นดูเป็นธรรมชาติ อบอุ่น และฟังดูเป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวามากขึ้น (Organic-Sounding)” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Stippich มีความชื่นชอบในเครื่องหลอดสุญญากาศ แน่นอนว่า เครื่องหลอดสุญญากาศ นั้นจะปลดปล่อยความร้อนออกมามาก และของที่ใช้หลอดสุญญากาศมักจะหนักกว่า (Heavier) การกลับมาของแผ่นเสียงไวนิลก็มาช่วยในแนวทางนี้ด้วยเช่นกัน Stippich ได้ออกแบบระบบลำโพงไว้เช่นกัน และมักเป็นแบบที่ทำงานร่วมกับ Horn Loading แม้ว่าจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง “มีกฎฟิสิกส์บางประการที่กำหนดรูปร่างและขนาดของฮอร์นแต่ละตัว สำหรับความถี่เสียงที่ต้องการเจาะจง ภายใต้ความพยายามเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ขนาดของลำโพงทำให้กินกำลังขับน้อยลง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเรียบง่ายในการออกแบบของ Stippich และกำลังทำด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์

________________