…สนับสนุนโดย Audio Excellence Co., Ltd และ Groove Note Records/Analog Archive
แอนาล็อกแท้ ดวลกับ DSD: งานนี้จะพิสูจน์ว่า คุณนั้นบอกความแตกต่างได้ไหม? คุณนั้นเป็น “หูทอง” ขนานแท้หรือไม่?
สืบเนื่องจากได้มีการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มออดิโอไฟล์ที่บ่งบอกออกมาอย่างแน่ชัด และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ที่ยืนยันว่า ผู้ฟังที่เป็นออดิโอไฟล์ส่วนใหญ่ (อาจไม่ใช่ทั้งหมด) ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง LP ที่ตัดแผ่นจากมาสเตอร์เทปแบบแอนาล็อก กับอีกแผ่นหนึ่ง ซึ่งตัดแผ่นจากแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่มีความละเอียดสูง
ดังนั้น Audio Excellence (AE) และ Groove Note Records (GRV) ร่วมกับนิตยสาร What Hi-Fi? Thailand จึงได้จัดกิจกรรมสุดพิเศษขึ้นมา ในช่วงงาน BIAV SALES 2022 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการรับฟังเปรียบเทียบกันชัดๆ ระหว่างตัวแลคเกอร์ที่ตัดแผ่นจากแหล่งเทปแอนาล็อกคุณภาพสูง (เทปแอนาล็อก 30 ips 1/4 นิ้ว) เทียบกับตัวแลคเกอร์ที่ตัดแผ่นจากไฟล์ดิจิทัลความละเอียดสูง (DSD256) โดยไม่มีใครใน Audio Excellence หรือ Groove Note ที่ทราบลำดับในแหล่งที่มาของตัวแล็คเกอร์แต่ละแผ่นที่ BGM ทำการตัดแผ่นเปรียบเทียบดังกล่าว
โดยได้มีการจัดเป็นเซสชั่นในแต่ละวัน เพื่อให้กลุ่มนักฟังออดิโอไฟล์ชาวไทย ได้มีโอกาสทดสอบทักษะการฟังที่เคร่งครัด-เข้มข้นตามแบบฉบับของนักฟังออดิโอไฟล์ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเน้นไปที่ความสามารถของผู้ฟังที่เป็นออดิโอไฟล์โดยเฉพาะ ดังนั้นการเล่นกลับ (playback) เพื่อการรับฟังเปรียบเทียบในแต่ละเซสชั่นดังกล่าว จึงได้มีการจัดเตรียมซิสเต็มสำหรับการสาธิตผ่านระบบสเตอริโอที่ให้ไดนามิกและความโปร่งกระจ่างสูงที่มีคุณภาพสูงสุดจาก Audio Excellence และ Innovative Audio Video ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด อีกทั้งโปรแกรมเสียงเพลงสำหรับการทดสอบนี้จัดทำโดย GRV โดยใช้แผ่นแล็กเกอร์อ้างอิงที่สร้างขึ้นโดยวิศวกรระดับตำนาน Bernie Grundman ที่โรงงาน Bernie Grundman Mastering (BGM) ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก
ดังนั้น BGM จึงได้ตัดชุดแล็คเกอร์อ้างอิงจำนวน 4 ชุด โดยใช้แหล่งข้อมูล (Source) ต่อไปนี้: – ต้นฉบับเทปแอนาล็อก 30 ips 1/4 นิ้วที่จัดเตรียมโดย Groove Note Records – สำเนาดิจิทัล Flat DSD256 ของต้นฉบับ 30 ips 1/4 นิ้วที่ใกล้เคียงกันมากๆ กับต้นตำรับเทปแอนาล็อกโดยที่ BGM จะตัดเพลงหนึ่งเพลงบนแล็กเกอร์อ้างอิงด้านเดียวใน 2 เวอร์ชัน รวมเป็น 4 Lacquer ด้วยกัน (หนึ่งเพลงที่เป็นแอนาล็อกและอีกหนึ่งเพลงที่เป็น DSD) ฟังแต่ละเพลงในแต่ละด้านที่แยกอิสระจากกัน โดยใช้เพลงที่รู้จักกันดีของสังกัด GRV
ทั้งนี้เซสชั่นการฟังในแต่ละวันได้ถูกจำกัดไว้ 2 เซสชั่น ดังนี้:-
วันที่ 24 พฤศจิกายน (วันพฤหัสบดี) = Lacquer 1 (Anthony Wilson: Chinatown) สำหรับเซสชั่น 1 และ Lacquer 2 (Roy Gaines: Stormy Monday) สำหรับเซสชั่น 2
วันที่ 25 พฤศจิกายน (วันศุกร์) = Lacquer 3 (Jacintha: Light My Fire) สำหรับเซสชั่น 3 และ Lacquer 4 (Vanessa: Here But I’m Gone) สำหรับเซสชั่น 4
วันที่ 26 พฤศจิกายน (วันเสาร์) = Lacquer 1 (Anthony Wilson: Chinatown) สำหรับเซสชั่น 5 และ Lacquer 2 (Roy Gaines: Stormy Monday ) สำหรับเซสชั่น 6
วันที่ 27 พฤศจิกายน (วันอาทิตย์) = Lacquer 3 (Jacintha: Light My Fire) สำหรับเซสชั่น 7 และ Lacquer 4 (Vanessa: Here But I’m Gone) สำหรับเซสชั่น 8
ซึ่งทั้ง 4 เพลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแทร็คต่างๆ ที่จะอยู่ในอัลบั้ม True Analogue: The Best of Grooove Note Records” ที่กำลังจะออกจำหน่าย ประมาณช่วงต้นปี 2023
เซสชั่นการฟังในแต่ละวันจะมีบัตรแสดงความคิดเห็น (Response cards) ที่มอบให้ผู้ฟังทุกคน บัตรจะมีหมายเลขและลงวันที่ แต่ไม่ระบุชื่อผู้ฟัง ซึ่งจะสามารถติดตามผลโดยรวม และคะแนนส่วนตัวของแต่ละท่านได้ทางออนไลน์หลังจากการสาธิต ผ่านลิงก์ที่จัดทำโดยนิตยสาร What Hi-Fi? Thailand
โดยที่บัตรแสดงความคิดเห็นแต่ละใบ จะมีตัวเลือกต่อไปนี้ให้ผู้ฟังได้ระบุ:-
– แหล่งที่มาของมาสเตอร์ (แอนาล็อก หรือ DSD หรือ ไม่สามารถบอกความแตกต่างได้)
– ผู้ฟังมีความชอบเฉพาะเจาะจงสำหรับการตัดแผ่นใดโดยเฉพาะ (หรือไม่มีเลย)
– อันไหน (แอนาล็อกหรือ DSD) จากการตัดแผ่นทั้ง 2 ครั้ง ที่ซึ่งใกล้เคียงกับการจับคู่ต้นฉบับอ้างอิงมากที่สุด
– คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการครอบครองเครื่องเล่นแผ่นเสียงของผู้ฟัง เช่น เจ้าของเครื่องเล่นแผ่นเสียง
…ที่สำคัญที่สุด เมื่อเสร็จสิ้นการรับฟัง และปิดท้ายการสาธิตระดับไฮ-เอ็นด์ครั้งนี้ แผ่นแล็คเกอร์ทั้งสิ้น 4 ชุด จะถูกประมูลเพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชาราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ***
บรรยากาศคร่าวๆ เล่าสูกันฟังในช่วงของการ SHOOTOUT AT THE M.R.* CORRAL …หลังจากผู้ประสงค์ในการรับฟัง ได้ทำการแจ้ง และตรวจเช็คการลงทะเบียนรับฟังเรียบร้อยแล้ว ทาง Audio Excellence ก็ได้เชิญผู้เข้าทดสอบการฟังทำ การเลือกตำแหน่งนั่งฟังตามที่แต่ละคนชื่นชอบได้อิสระ …ผ่อนคลายกันสักพัก Mr.Ying Tan แห่ง Groove Note Records ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งรุ่นบุกเบิกของ Classic Records ก็ได้ทำการกล่าวอธิบายขั้นตอนของการรับฟังว่า แรกทีเดียวนั้นจะเป็นการให้ได้รับฟังจากออริจินัล แอนาล็อก มาสเตอร์เทปคุณภาพสูงที่จัดทำโดย Groove Note Records (เทปแอนาล็อก 30 ips 1/4 นิ้ว) เล่นกลับบนเครื่องเทป ATR102
เพื่อให้ผู้ร่วมรับฟังได้จับประเด็นในด้านเสียงที่รับฟังเป็นตัวอ้างอิงการรับฟังเปรียบเทียบกับตัวแลคเกอร์ต่างๆ ในลำดับต่อไป ซึ่งเมื่อผ่านการรับฟังออริจินัล แอนาล็อก มาสเตอร์เทปคุณภาพสูงกันแล้ว Mr.Ying Tan ก็นำจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปของการรับฟังตัวแลคเกอร์ที่ได้จัดทำโดย BMG
โดยผู้ให้เกียรติมาเป็นผู้วางหัวเข็มลงบนตัวแลคเกอร์แต่ละแผ่นก็คือ นพ. ไกรฤกษ์ สินธวานุรักษ์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับฟังได้แยกแยะว่า ตัวแลคเกอร์ที่ได้รับฟังนั้นเป็นแอนาล็อก หรือว่า DSD ซึ่งก็จะมีบทเพลงที่แตกต่างกันในแต่ละรอบของการเซสชั่นให้ได้แยกแยะกัน ตามที่ระบุไว้ข้างต้น
ซึ่งหลังการรับฟังในแต่ละเซสชั่น ผู้ฟังก็จะต้องกรอกผลการรับฟังตามที่แต่ละท่านรับรู้ได้นั้น ระบุลงบนการ์ดเชิญของการลงทะเบียนรับฟัง เพื่อมอบกลับให้กับท่านผู้จัด SHOOTOUT AT THE M.R.* CORRAL ครั้งนี้ และรับของที่ระลึก จากนั้นรอรับการประกาศผลของการรับฟังกันต่อไป…
ซึ่ง ณ ตอนนี้ผลของการรับฟัง SHOOTOUT AT THE M.R.* CORRAL ครั้งนี้ ก็ได้เป็นไปตามที่ Bernie Grundman ได้แจ้งมาดังนี้ครับ :-
เพลง Chinatown – Antony Wilson
track 1 = 256 DSD
track 2 = 30 ips Tape
เพลง Stormy Monday Blues- Roy Gains
track 1 = 256 DSD
track 2 = 30 ips Tape
เพลง Light my fire – Jacintha
track 1 = 30 ips Tape
track 2 = 256 DSD
เพลง Here but I’m gone – Vanessa
track 1 = 30 ips Tape
track 2 = 256 DSD
*** ท่านใดรับฟังแล้ว สามารถตรวจคำตอบที่ถูกต้องกันได้เลยนะครับ ทางหน้าเวปเพจของ What Hi-Fi ? (Thailand)