Krairerk Sintavanuruk
Nagra Kudelski แบรนด์นี้เมื่อพูดถึงแล้ว สิ่งแรกที่เราจะคิดถึงคือ Studio เครื่องบันทึกเสียง tape recorder ระดับตำนาน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ ขนาด compact , แม่นยำ เที่ยงตรง , functions หลายหลาก และเสียงดี เครื่องเล่นและบันทึกเทปที่เป็นตำนานและ stereo ก็จะเป็นรุ่น IV-S (1971) และรุ่นใหญ่สุดคือ T audio (1981)รุ่นก่อนหน้านั้นก็จะเป็น mono recording มีขนาดหลากหลายตั้งแต่ใหญ่กว่าฝ่ามือเล็กน้อยจนถึงสะพายกระเป๋า อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์คลาสสิคมากก็คือ meter ของเขา เรียกว่า modulometerออกแบบอย่างชาญฉลาดใช้จอเดียวแต่มีสองเข็มสำหรับ channel ซ้ายและขวา และเอกลักษณ์นี้ก็ถ่ายทอดต่อมาในผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงสายอื่นๆ (classic line , HD line) ตามมาอีก
ประวัติของ Nagraนั้นสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ทนะครับ ก่อตั้งโดย Stephan Kudelski ชาวสวิสเชื้อสายโปแลนด์ เมื่อปี 1951 สิ่งประดิษฐ์ในช่วงแรกจะเป็นเครื่องบันทึกเทปสำหรับการบันทึกภาคสนาม ภาพยนตร์และstudio เรื่อยเรียงมาจนถึงยุค stereo นอกจากเครื่องเล่นและบันทึกเทปแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆที่น่าทึ่งมากด้วยเช่นลำโพง active (เสียงดีมากๆ) พอเข้าถึงยุคของ digital ทาง nagraก็ทำเครื่องบันทึกเสียงระบบ digital ทั้ง digital audio tape และ solid state ตามมาอีก จนถึงปี 1997 ทาง Nagraเริ่มเข้าสู่วงการ High end ด้วยผลิตภัณฑ์ตัวแรกคือ ปรีหลอดแบบ full function รวมภาค phono ด้วย คือรุ่น PL-P (ถ้าไม่มีภาคโฟโนคือรุ่น PL-L) รุ่น PL-P นี่ผมเกือบจะได้จับมือสองมาเล่นแล้วเมื่อสิบปีก่อน
ไล่เรียงมาถึงปัจจุบัน Nagraก็ได้มีผลิตภัณฑ์ High end แบ่งใหญ่ๆเป็นสองกลุ่มคือ HD line กับ Classic line โดยกลุ่ม HD line จะเป็นเครื่องแบบ full size และเป็นระดับอ้างอิง (reference) ของแบรนด์ ขณะที่กลุ่ม classic line จะเป็นเครื่องที่คงเอกลักษณ์ของ nagraยุคเดิมที่มีขนาด compact แต่อัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน ในช่วง covid ระบาดนี้ถือเป็นโอกาสอันดี ในช่วงที่ showroom ของ Deco2000 ต้องปิดตามนโยบายรัฐบาล phono stage ตัวนี้เลยมีเวลาพักให้ผมได้ทดสอบฟังยาวๆที่บ้าน ต้องขอขอบคุณทาง Deco2000 มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
Physical property
Nagra classic phono มีขนาดกลางๆเมื่อเทียบกับเครื่องขนาด full size 19 นิ้ว คือมีหน้ากว้าง 11 นิ้ว ลึก 15 นิ้ว และสูง 3.2 นิ้ว หน้ากว้างใกล้เคียงกับเครื่องเล่นเทปรีล Nagra IV-S มาก (ขณะที่รุ่น HD line จะมีขนาด full size หน้ากว้าง 17-18 นิ้วทั้งสิ้น) ตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียมอย่างดีเนื้อละเอียดไม่มีอาการสากเสี้ยนเมื่อสัมผัส ผิวด้านข้างและมุมต่างๆลบคมให้มนไม่บาดมือมาดู panel ด้านหน้ากัน ไล่เรียงจากฝั่งซ้ายมือ จะเป็นปุ่มปรับเพิ่มลดแสงสว่างหน้าจอ modulometer ถัดมาก็เป็นตัว modulometerอันเป็นเอกลักษณ์ของ Nagraปุ่มสวิทช์โยกถัดมาเป็นการปรับ EQ curve เลือกได้สามค่าคือ RIAA , Teldec (เหมาะกับแผ่นค่าย Deutsche Gramophone) และ Columbia
มาทางฝั่งขวาก็จะเป็นการเลือกเล่นแบบ mono และ stereo ซึ่งตรงนี้ผมได้ทดลองทั้งหัวเข็ม mono 2 channels และหัวแบบ true mono 1 channel อันจะกล่าวต่อไป สวิทช์ถัดมาเป็นการการเลือก high / low gain ของแต่ละขนิดหัวเข็ม คือ หัว MM จะเลือกเกนได้ 2 ค่า (38 / 48 dB) และหัว MC ด้วยเช่นกัน (54 / 64 dB) ส่วนการปรับค่าหัวเข็มอื่นๆนอกจากนี้จะต้องเปิดฝาเครื่องเข้าไปปรับบน board ซึ่งจะกล่าวต่อไป ปุ่มสุดท้ายเป็นการเลือก input ตัวเครื่องนั้นจะมี master switch อยู่ด้านหลัง เราต้องเปิด on ด้านหลังก่อน แล้วเมื่อหมุนจากตำแหน่ง off มาเป็น mute เครื่องจะใช้เวลาประมาณ 2 นาทีในการวอร์มเครื่องและหลอด จึงจะพร้อมทำงาน
ด้านหลัง ทางซ้ายจะเป็น input 1 และ 2 แบบ unbalanced RCA เท่านั้น ถัดมาเป็น output ที่มีให้ครบทั้ง XLR และ RCA เราสามารถเลือกใข้ output ได้ทีละอย่างเท่านั้น ไม่สามารถต่อสัญญาณ output ออกพร้อมกันทั้ง RCA และ XLR
Nagraในรุ่น Classic line ยังมี option ที่ใส่เพิ่มได้สองอย่าง คือ ตัว classic PSU ที่เป็น power supply unit จ่ายไฟผ่านช่อง DC 12 volt ด้านหลังขั้ว limo
และอีกตัวนึงคือ isolation base plate สองชิ้นประกบกัน เรียกว่า classic VFS และ spike เปลี่ยนแทน feet เดิมใต้เครื่อง ที่จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากแท่นวางสู่เครื่อง
Internal configuration
ทีนี้การตั้งค่าหัวเข็มที่มากไปกว่านี้ จำเป็นจะต้องเปิดฝาเพื่อตั้งค่าบน board ที่จะเป็น jumper เรามาดูวงจรข้างในเครื่องกัน
เครื่องเคราข้างในแน่นมากๆ ทาง Nagraเน้นหลักการของเครื่องคือเพื่อให้ signal path สั้นที่สุด เมื่อเรามองในเครื่องจะเห็นว่า วงจรไม่ใช่แบบ fully balance แน่ๆ ส่วนที่เราจะปรับตั้งค่าต่างๆได้จะอยู่ข้างหลังทางขวามือ ตัว board ที่อยู่แนวนอนมองแล้วจะทราบทันทีว่า บอร์ดไหนเป็น MM หรือ MC input บอร์ดที่เป็น MC input ก็จะเห็น step up transformer ลูกใหญ่สองลูกอยู่นั่นเองตัวบอร์ดในแนวตั้ง สามารถดึงออกเพื่อปรับค่าต่างๆได้ด้วย jumper และ card (รูปทางขวาข้างล่างนี่คือ board MC ที่ผมลองถอดมาปรับค่า เวลาถอด ตัวบอร์ดจะมีร่องเว้าให้เราวางนิ้วดึงขึ้นมาตรงๆ)
หนึ่งบอร์ด สำหรับ 1 input แบ่ง jumper เป็น channel ซ้ายและขวาเรียงเป็นแบบ mirror image กัน คือ 6,5,4,…,1แล้วอีกข้างจะเป็น 1,2,3,…,6 ดังนั้นเวลาเสียบ jumper ต้องตั้งสติดีๆ ตรงกลางมีปุ่มโยก mono switch อีกจุดนึง เหนือต่อปุ่มนี้เป็นตำแหน่งใส่ card เพื่อปรับ impedance ขาเข้า
Jumper แต่ละตำแหน่ง on คือตำแหน่ง A ส่วน off คือตำแหน่ง B คือดังนี้
- 6 on = additional 47 kohm on tube grid อันนี้คู่มือไม่ได้อธิบายอะไรต่อ ผมก็งงแพร๊บ ได้ลองเสียบทั้งตำแหน่ง A (on) และ B(off) ในทั้งสอง input เสียงไม่เปลี่ยนแปลงเลย ตรงนี้เลยตั้งตาม factory setting ไว้ คือเป็น off (B position)
- 5 on = ผ่าน transformer ซึ่งก็คือ step-up transformer ดังนั้นบอร์ดสำหรับ MC input จะต้อง on ส่วน MM จะ off (ถ้าจะใช้ step-up transformer ภายนอก ก็ต่อกับช่อง MM หรือจะต่อช่อง MC ก็ได้แต่ให้ปรับตำแหน่ง jumper นี้ให้ bypass internal transformer)
- 4 on = MM input ดังนั้นจะ on ในบอร์ดของ input 2 และ off ที่ input 1
- 3 on = MC input ก็จะ on ในบอร์ดของ input 1 ที่มี step-up trans และ off ที่ input 2
- 2 off = ไม่ใช่ impedance load card slot ในช่องกลาง แต่ถ้าต้องการload ให้ขยับเสียบ jumper ที่ on (ตรงนี้คู่มือไม่ได้เขียนชัดเจนว่า ถ้าเป็น off แล้ว input impedance จะเท่ากับเท่าใด)
- 1 on = symmetrical input ตรงนี้ควรอยู่ตำแหน่ง on ตลอด ถ้าสัญญาณมาซ้ายขวาเท่ากันไม่มีเอียง
ส่วน card slot ก็จะมีค่า impedance ต่างๆสำหรับหัวเข็ม mc ให้เราเลือกใช้งาน ตัวcard ที่ 6 จะเป็นสำหรับหัว mm ในการเปลี่ยนค่า capacitance เป็น 100 pico farad ถ้าต้องการค่าที่นอกเหนือจากนี้สามารถแจ้งทางผู้ผลิตได้
ตลอดที่ทำการทดสอบ ผมได้ตั้งค่า jumper ต่างๆเป็นค่า factory setting ในส่วนของ MM input (input 2) ส่วนใน input 1 นั้นปรับเปลี่ยนแต่ค่า 2 และลอง impedance card ต่างๆ สรุปมาลงตัวกับ card หมายเลข 5 ที่ 1 Kohmเพื่อให้สามารถใช้ได้กับหัวเข็มทั้งหัว EMT และหัว MC low ตัวอื่นๆ
Associated equipments
อุปกรณ์ทดสอบร่วม ในช่วงแรก จะมีTech-DAS airforce V premium ซึ่งยังไม่ได้ส่งคืน กับหัวเข็มPhase Tech P3 (MC low) และ Dynavector 10X4 mk2 กับภาค MM ของ classic phonoภายหลังพ้นเบิร์นเรียบร้อยแล้ว แท่นหลักที่ทดสอบจะเป็น Dr.Feickert Firebird กับอาร์ม Fidelity Research FR64s และ Denon DA308 arm
หัวเข็มที่ใช้ทดสอบภาค MM จะเป็นหัว mc high output ของ Dynavector 10X4 mk2 ส่วนภาค mc ก็ไล่เรียงแทบทุกหัวที่มีในบ้าน ตั้งแต่ emttsd 15 , Phase tech P3 , Denon DL103 , Benz micro Glider โดยเลือกหัวเข็มที่มีมวลหนัก ก้าน cantilever แข็ง อย่างหัว Denon 103 และ Phase tech P3 เล่นกับอาร์ม FR64s ส่วนหัวที่ compliance สูงที่เหลือ เล่นกับอาร์ม Denon 308 ส่วนภาคหัว mono หลักๆจะใช้หัว true mono ของ emtรุ่น OFD25
แผ่นเสียงที่ใช้ทดสอบก็มีดังต่อไปนี้
- Charlie Byrd Trio – The guitar artistry of Charlie Byrd (Nimbus supercut RLP9451) track : house of the risingsun
- Charly Antolini – Menue (Jeton 100.3327) track : tarzan dinner
- Gene ammons – Nice an’ cool (MVLP18) track : Till there was you
- Sonny Rollin : way out west (London LY1004 japan) track : way out west
- Hank Mobley – soul station (Classic records BN 4031 mono) track : dig dis EMT OFD25
- Chen Jia – We met again Teresa (one step UHQR 45 rpm) track : feeling the mist again
- Joe Beck trio : Venus best of best (vhjd180) track : Girl talk
- La fille mal gardee Thomas and Alain (ORG 109 45 rpm)
- Concerto grosso in D minor : Il SolistiItaliani / Denon hifi strings (REX9913LP)
- Timothy B Schmit – Playin’ it cool :(Asylum 60359-1) track : TSo much in love
ผมเลือกแผ่นเสียงหลากหลายแนวเพลงทั้ง mono และ stereo ในการทดสอบเพื่อให้ครอบคลุมการฟังของนักเล่นเครื่องเสียงมากที่สุด แต่ที่เหมือนกันคือทุกแผ่นบันทึกเสียงดี และทั้งหมดได้ริปผ่าน phono ตัวนี้เป็น wav file ที่ 24 bit 44.1 KHz และแชร์ไว้ใน google drive ท่านสามารถกดเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านลิงค์นี้ bit.ly/3ES3NIq หรือสแกน QR code ด้านล่างนี้ครับ
Sound on please!
เริ่มทำการทดสอบเสียง เป็นการดีที่ผมกำลังจะจบ session การทดสอบ Tech-DAS air force V premium พอดี เลยได้ลองเสียงของแท่นนี้กับ phono ตัวนี้ ถือว่ามีดีกรีที่สูสีกันทั้งแท่นและโฟโน ภาค MM จะเป็นการทดสอบด้วยหัว mc high output ที่ 2.5 mV อย่าง Dynavector 10X4 mk2 บนอาร์ม Jelco 750L และภาค mc ด้วยหัว phase tech P3 บนอาร์ม FR64s
แนวเสียงของ Nagra นั้นผมว่ามีความผสมผสานกันระหว่าง ความเนียน ละเอียด รายละเอียดพร่างพราย แต่ว่าเมื่อถึงจังหวะที่ต้องการไดนามิค หรือความฉับพลันของเสียง Nagra ให้ได้ไม่ขาดเลย ถ้าให้เทียบกับนักแสดงก็คือ เจมส์บอนด์ ล่ะครับ มีความเนียบ เรียบร้อยทุกกระเบียดนิ้ว แต่เมื่อถึงบทบู๊ก็ฝีมือร้ายกาจไม่แพ้ใคร
เพลง The house of rising sun ของแผ่น Charlie Byrd Trio คือตัวอย่างที่ดี รายละเอียดเส้นสายไนล่อนกีตาร์ของ Charlie ออกมาทุกเม็ด ทั้งจังหวะดีด ทั้งการดีดแบบ harmonic และเมื่อถึงท่อนบู๊อย่างจังหวะ solo กลองเนี่ย Nagra ทำได้ถึงใจมาก (นาทีที่ 2:15 – 3:14 ของแทรคตัวอย่างใน google drive) คนเล่นกลองอยู่ลึกไปทางเวทีทางขวา เสียงกระเดื่องกลองให้ความรู้สึกสมจริง สะเทือน และแผ่ตัวออกชัดเจน
กับเพลงแจ๊สหวานๆของ Gene Ammons แผ่นของสังกัด Analogue Production ชุด Nice An’ cool ให้เสียงที่แยกแยะซ้ายขวาได้เด็ดขาดตามที่บันทึกมา ความต่อเนื่องไหลลื่นของเพลง เสียงแซกของ Gene หวานมากๆ เรื่องของ stereo image นั้นดีกว่า phono ที่ผมใช้ประจำการอย่างชัดเจน เวทีเสียงแผ่ทั้งกว้างและลึก เบสคม หัวหางมาครบ ไม่ขาดไม่ห้วน
กลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง เมื่อผมต้องส่ง Air force V premium กลับคืน ฟัง Nagra classic phono นี้กับแท่นโบราณ EMT930 พร้อมอาร์มและหัวเข็มของเขา TSD15 ผมเลือก setting load impedance ไว้ที่ 1 KOhm ตลอดในการทดสอบช่วงหลังในภาค mc input เนื่องจากการปรับเปลี่ยนค่าไปมานั้นค่อนข้างจากลำบากเล็กน้อย ที่จะต้องเปิดฝา (ปิดไฟเลี้ยงเครื่องก่อนนะครับ อันนี้สำคัญ) แล้วถอดบอร์ดมา config ใหม่
จะมองว่าลำบากก็ใช่ แต่มองอีกแง่หนึ่งคือ มันเป็นการปรับค่าด้วยการเปลี่ยนแปลง hardware จริงๆ ไม่ใช่การใช้ software ในการ config ค่าการทำงานต่างๆของเครื่อง ทั้งสองวิธีก็อยู่ที่ความเชื่อของผู้ผลิต ปรัชญาการออกแบบเครื่อง ประสบการณ์ของวิศวกรผู้ออกแบบ สุดท้ายก็อยู่ที่งบประมาณและรสนิยมการรับฟังของเราว่า มันตอบโจทย์เราหรือไม่
ลงเข็มแผ่นใหม่ที่เรียกได้ว่า สุดของวงการปัจจุบันแผ่นนึงคือเป็น one step pressing UHQR และสปีด 45 Chen Jia : we met again Teresa แผ่นเสียง virgin clear vinyl พื้นเสียงสงัดมาก ผมเลือกเพลง feeling the mist again มาเป็นตัวอย่าง nagra phono รายงานผลการ mix & remaster ของอัลบั้มนี้ได้ความแตกต่างจากปั้มเดิมดีและง่ายมากยิ่งขึ้น การแยกแยะรายละเอียดต่างๆดีเยี่ยม background noise ต่ำมาก เสียงเปิดเป็นอิสระ เสียงร้องที่ลอยเด่น แผ่นดีและ phono ที่ดีก็ต่างช่วยหนุนกันให้เสียงออกมาดีเยี่ยมเช่นนี้แล
แนวเพลงที่ Nagra classic phono ทำได้ดีเยี่ยมเฉียบขาดกว่าเครื่องอื่นๆก็คือแนวเพลงคลาสสิคครับ ไม่ว่าจะเป็น orchestra วงใหญ่ หรือ string ensemble มันให้เสียงที่น่าตื่นเต้น สมจริง อย่างเช่นแผ่น La Fille Mal Gardee แผ่นสังกัด ORG รีมาสเตอร์งานเดิมของ Decca / London เลือกแทรคกลางๆของหน้าแรก Thomas and Alain ให้เสียงยิ่งใหญ่ของวง Royal opera orchestra of Covent garden ได้อย่างดี การไล่เสียงจากเบาไปดัง ความเฉียบพลันและเฉียบขาดของเสียงเป็นที่ประทับใจผมมาก กระหึ่ม โอ่อ่า อลังการ คือนิยามของการฟังเพลงคลาสสิคจาก phono ตัวนี้
แผ่น Hifi Strings ของค่าย Denon ผมประทับใจมากกับวง I Solisti Italiani ที่ตัดมาลงแผ่นเสียงแผ่นคู่ชุดนี้ จนต้องริปไว้เป็นเพลงตัวอย่างสองเพลงคือ Canon in D ของ Pachebel และ Concerto Grosso ของ Haydn เพลง Canon นั้นคงคุ้นหูและฟังกันมาเป็นร้อยเป็นพันหนกันแล้วสำหรับนักฟังเพลงคลาสสิคทั่วไป แต่ที่บรรเลงโดยวงนี้นั้น มีจังหวะจะโคนการเล่นที่ดีมาก ผนวกกับบการบันทึกเสียงที่ดี มันสร้างภาพเสมือนให้เราเห็นว่านักดนตรีแต่ละคนกำลังบรรเลงอะไรอย่างไรกับเครื่องดนตรีของตน image ของ string instruments แต่ละชิ้นตำแหน่งนิ่งสนิท เรียกได้ว่าแทบจะ pin point ได้เลยทีเดียว มันให้ perspective ของรูปวงเหมือนกับว่าเราอยู่ในตำแหน่งของผู้ควบคุมวง (แต่การบรรเลงเพลงในยุคบาโร้คนี้ มักไม่ค่อยจำเป็นต้องมี conductor นักครับ ลองสังเกตคลิปของวงต่างๆที่เล่นเพลงยุคนี้อย่าง I musici ใน youtube ได้)
กับเพลง concerto grosso นี่เรียกได้ว่ายอดเยี่ยม แนวประสานของเครื่องสายแต่ละหมู่ที่สอดรับรุกกัน แยกรายละเอียดได้ดีมาก เวลาที่มีใครขึ้น solo ก็จะได้ยิน ambient บรรยากาศรอบๆตัวโน้ตนั้นๆที่ขึ้น ไม่ว่าไวโอลิน cello หรือแม้แต่ harpsichord เองก็ตาม ท่านใดที่นิยมฟังเพลงคลาสสิคจากแผ่นเสียง ผมแนะนำเป็นอันขาดว่า ต้องไปลองหาฟังกับ phono ตัวนี้ให้ได้ครับ
กับแผ่น mono ผมเลือกสองแผ่นคือ way out west ของ Sonny Rollins แผ่นปั้ม japan (ถึงแม้ว่าปั้มญี่ปุ่น แต่ว่าเป็นปั้มแรกของญี่ปุ่นที่ออกเมื่อปี 1957 พร้อมๆกับแผ่น original USA pressing เลยทีเดียว ดังนั้นน่าจะตัดมาจาก copy master tape ที่ส่งไปญี่ปุ่น) และอีกแผ่นเป็นแผ่น blue note mono reissue โดย Classic records ที่ทำเลียนแบบแผ่น original คือมี deep groove ตรง center label เสียด้วย เลือกทดสอบกับหัวเข็ม EMT OFD25 ซึ่งเป็นหัว true mono ที่เสียงออก channel ขวาข้างเดียว (มี 2 pin เท่านั้นที่ shell)
Nagra classic phono นั้นมีประเด็นที่ทำให้ผม และคุณกฤตย์ Deco2000 งงหน่อย เพราะการเล่น mono นั้นสั่งงานได้สองจุดคือ ตรงสวิทช์หน้าเครื่อง และตรงสวิทข์โยกข้างใน board หลัง input (ใต้ต่อจุดเสียบ impedance card) เราเลยเริ่มทดลองที่ปุ่มโยกหน้าเครื่องก่อน เสียงที่เข้ามาถ้าเป็นตำแหน่ง stereo เสียงจะออกข้างขวาข้างเดียว แต่ถ้าโยกมาที่ mono เสียงจะออกเท่ากันสองข้างเป๊ะ แปลว่าเมื่อโยกสวิทช์โมโน มันจะรวมสัญญาณซ้ายขวาเข้าด้วยกันแล้วปล่อยออกทั้ง 2 channels ส่วนการโยกสวิทช์ข้างในอีกจุดนึ่งบนบอร์ด เราลองกันแล้วไม่ได้มีผลต่อเสียงที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เลยงงกันว่าปุ่มโยกข้างในทำไว้ทำไม อันนี้เป็นการบ้านที่เราคงต้องเมล์ไปถามทางผู้ผลิตละครับ
นอกเหนือจากประเด็นอื่นๆอีกหลายจุดที่คู่มือเขียนไว้ไม่เคลียร์นัก (เช่น nominal impedance และ capacitance ของ input ในกรณีที่ไม่ใส่ load card เป็นเท่าใด , การ load R ในตำแหน่ง jumper ที่ 2 ที่ถ้าเราไม่เลือกเสียบการ์ด มันจะมี nominal impedance ของทั้ง mm และ mc board ที่กี่โอห์ม และตำแหน่ง jumper ที่ 6 เรื่อง impedance ที่ตำแหน่ง tube grid มีให้เลือกเพื่ออะไร (แต่ผมลองเสียบทั้ง on และ off แล้วก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงสักเท่าใดนักครับ แต่ลึกๆต้องถามผู้ผลิตดีที่สุด)
บทสรุป
Nagra classic phono เครื่องเสียงคุณภาพสูงจากผู้ผลิตเก่าแก่ในวงการเสียงและ studio จากประเทศสวิสฯ เป็น phono stage หลอดที่คงเอกลักษณ์ของ nagra ที่ compact และ precision เที่ยงตรงแม่นยำ สามารถขยายสัญญาณหัวเข็มได้แทบจะทุกค่าในท้องตลาด จุดเด่นคือเนื้อเสียงที่ละเอียด เนียน เรียบๆแต่ซ่อนพลังไว้เมื่อต้องการไดนามิกเรนจ์ที่กว้างจากการบันทึก ฟังเพลงแนว acoustic instrument และคลาสสิคได้ดีมากเป็นพิเศษ ผสานกับจุดเด่นของการใช้หลอดสุญญากาศในวงจร ทำให้ได้บรรยากาศของเสียงและน้ำหนักเสียงที่ดี เป็น phono stage ระดับบนที่นักเล่น hi end ควรจะได้มีโอกาสทดลองในซิสเต็มของท่านสักครั้งก่อนจะพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ ยิ่งถ้าท่านที่ใช้แอมป์ ปรีแอมป์ของ nagra อยู่ในระบบแล้วผมว่าไม่ควรพลาดครับ
ขอขอบคุณ Deco2000 โทร. 089 870 8987 ที่เอื้อเฟื้อสินค้าเพื่อทำการทดสอบในครั้งนี้
หมายเหตุ เรื่อง Setting Phono Nagra สรุปได้ดังนี้
- เรื่องการเซทค่า R 47K นั้น มีไว้เซทสำหรับการใช้หัวแบบ MM เพื่อให้เป็นโหลด
- ถ้าเราใช้ R 47K เล่นแบบ MC ก็จะกลายเป็นโหลดให้กับหม้อแปลงด้วย แต่ปกติจะไม่ตั้งค่าแบบนั้น
- เมื่อใช้ R 47K แล้ว ก็จะสามารถใช้ C ในบอร์ด cadtridge Load ได้ด้วย เพื่อการตั้งค่าของหัว MM
- Switch การตั้งค่า Mono บนบอร์ดแนะนำให้ใช้เมื่อใช้หัวแบบ Mono เท่านั้น ส่วนสวิทช์หน้าเครื่องไว้ใช้ตอนที่เล่นแแผ่น Mono ด้วยหัว Stereo
- สำหรับสวิทช์เบอร์ 2 ที่ไม่ใช้ Impedance Load นั้นน่าจะบายพาสกรณีใช้ R 47K สำหรับ MM อย่างเดียวโดยไม่ใส่บอร์ด Input Impedance
กฤตย์ ฮ้อเผ่าพันธุ์ (DECO 2000)