Audio Physic Cardeas 30 LJE

0

REVIEW by Andrew Quint Nov 09th, 2016

ใครที่ไม่ได้เป็นออดิโอไฟล์ต่างก็เฝ้าจับตาสมาชิกในเผ่าของเรา เพื่อดูว่าจะบอกเล่าถึงลำโพงอะไรแล้วก็มุ่งตรงไปซื้อลำโพงราคาพุ่งแรงนั้น ด้วยความเชื่อว่าเป็นการรับประกันความไม่ผิดหวังด้านเสียงให้แก่พวกเขา พวกเราสมาชิกของเผ่ารู้ดีซึ้งว่า ความเข้าใจนั้นเป็นประเด็นของการผสานความตื่นเต้น และความกังวลเข้าไว้ด้วยกันต่อการตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนอะไรออกไป อันมีส่วนสำคัญในชุดเครื่องเสียงนั้นๆ

ก็อย่างที่ริงโก้สตาร์ได้ร้องเพลงไว้ (ในตอนที่เขาจำคำศัพท์ต่างๆ ได้), หลายต่อหลายครั้ง “มันไม่ได้ง่ายเลย” ผมเองมีอีกหนึ่งบทเรียนให้ได้เรียนรู้อีกครั้ง ก็ด้วย Audio Physic 30 Cardeas LJE, ซึ่งผมใช้เป็นลำโพงหลักเพียงคู่เดียวตลอดช่วงสองเดือนในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ซึ่งต้องใช้ความวิริยะอย่างมากสำหรับการเลือกแอมปลิฟายด์ที่เหมาะเจาะมาใช้งานร่วมกับมัน เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงที่ดีที่สุด แต่ความสำเร็จของการเลือกสรรอย่างพิถีพิถันนั้น คุ้มค่าแน่นอน และผมรู้สึกเสียใจมากจริงๆ ที่จะได้เห็นลำโพงระดับโลกคู่นี้ต้องจากผมไป หลังการฟังและเขียนรีวิวของผมสิ้นสุดลง

‘LJE’ ที่ต่อท้ายชื่อรุ่นของผลิตภัณฑ์นี้ ย่อมาจาก “Limited Jubilee Edition” อันเป็นวาระเฉลิมฉลองการครบรอบ 30 ปีของบริษัท Audio Physic ที่ตั้งอยู่ในเยอรมนีเมื่อปีค.ศ.2015 โดยทาง Audio Physic ได้ประกาศว่า จะสร้างสรรค์ลำโพงขึ้นมา 30 คู่ และนั่นหมายถึงว่า จะมีเพียงแค่ 30 คู่สำหรับลำโพงรุ่นนี้บนโลกใบนี้ แน่ล่ะ Audio Physic ย่อมไม่ได้ออกแบบลำโพงใหม่ถอดด้ามนี้ โดยมีแผนจะสร้างเพียง 60 ตัวเท่านั้น

ยิ่งกว่านั้น, ลำโพงรุ่นนี้ ยังแสดงถึงการปรับแต่งขั้นสุดยอดของ Cardeas Plus+ ที่ได้เปิดตัวในช่วงต้นปีค.ศ. 2014 ซึ่งก็ได้วิวัฒน์มาจาก Cardeas ดั้งเดิม ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปีค.ศ. 2009 “Cardeas Plus+” ยังคงอยู่ในสายพานการผลิต และตั้งราคาไว้ที่ $32,995 หรือ $35,995 ขึ้นอยู่กับการตกแต่งผิวตัวตู้

Manfred Diestertich คือ มือออกแบบลำโพงของ Audio Physic มาเป็นเวลา 17 ปีแล้ว ได้บอกกับผมว่าเมื่อ ‘LJE’ สามสิบคู่ถูกขายออกไป เขาได้คาดการณ์ไว้ว่า “Cardeas รุ่นที่ไม่ใช่รุ่น วาระครบรอบ 30 ปีจะมีการวิวัฒน์ต่อเนื่องจากความก้าวหน้าด้านการออกแบบล่าสุดนี้ และพร้อมสำหรับการวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ใครที่สนใจจะยังคงสามารถซื้อลำโพงแบบเดียวกันนี้ โดยมีพื้นฐานที่ยืนยันได้ว่า ถอดแบบ ‘LJE’ หลังจากที่ ‘LJE’ ที่มีหมายเลขกำกับขายหมดแล้ว ด้วยชื่อรุ่นที่ต่างออกไป …เป็นไงล่ะกับการตลาด ?

ลำโพง Audio Physic ทุกรุ่น ล้วนพุ่งเป้าไปที่ความทุ่มเทในการออกแบบอันโดดเด่นเพียงประการเดียว นั่นคือ จุดประสงค์ในการกำจัดเสียงกำทอน (resonance) อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ ออกไป ซึ่งสามารถส่งผลกระทบโดยตรง ลดทอนต่อสมรรถนะขององค์ประกอบต่างๆ ทางเสียงที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา (การเน้นที่ปัจจัยทางกลนี้เป็นที่เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาจากภูมิหลังทางวิศวกรรมของ Manfred Diestertich) การตัดสินใจออกแบบหลายครั้งมีเป้าหมายในการแยกองค์ประกอบที่มีแนวโน้มต่อการสั่นสะเทือนออกจากตัวขับเสียงต่างๆ คือเริ่มจากตัวขับเสียงเองเลยนั่นแหละ

เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงกำทอนที่สัมพันธ์กับความเป็นกรวยโลหะ ซึ่งทาง Audio Physic ชื่นชอบกรวยโลหะนี้ยิ่งนัก Manfred Diestertich จึงใส่วงแหวนซิลิโคน/ยางเพื่อกดลงที่ตัวกรวยโดยตรง Audio Physic เรียกสิ่งนี้ว่า  Active Cone Damping โดยระบุว่า นี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการขจัดเสียงสั่นค้าง (ringing) ที่ตามมาด้วย “เสียงคมแข็ง” (metallic sound) ของตัวขับเสียง

ตัวขับเสียงทั้งหมด รวมทั้งทวีตเตอร์ที่ Audio Physic ใช้ล้วนเป็นกรวยอลูมิเนียมเคลือบเซรามิกที่สร้างขึ้นตามข้อกำหนดของ Audio Physic โดย Wavecor (Audio Physic เป็นเจ้าของเครื่องมือต่างๆ) ซึ่งด้วยความเป็นไปในทิศทางเดียวกันของวัสดุตัวขับเสียงต่างๆ นี่เองที่ทำให้มั่นใจได้ว่า จะได้มาซึ่งความราบรื่นกลมกลืนกันทางเสียงอย่างสมานฉันท์ไร้ซึ่งรอยต่อใดๆ เมื่อได้ฟังในทุกย่านความถี่เสียงจากสูงสุดสู่ต่ำสุด

ตัวขับเสียงของ Audio Physic มีตัวโครงยึดแบบ dual basket ซึ่งแน่นอนล่ะตั้งใจที่จะเพื่อแยกลอย (decouple) ตัวขับเสียงออกจากตู้: ตัวโครงด้านนอกเป็นวัสดุอลูมิเนียมรับประกันความแข็งแรง  ส่วนตัวโครงพลาสติกด้านในให้การหนืดหน่วง (damping) ที่เหมาะสม ซึ่งเคยใข้ใน Cardeasเป็นครั้งแรก และยังคงใช้อยู่ในเวอร์ชัน LJE — ใช้ไดรเวอร์หกตัว กับการออกแบบสามทางครึ่ง (three-and-a-half way design) ส่วนบนสุดบนช่วงแคบของแผงหน้าตู้ลำโพงติดตั้งตัวขับเสียงกลางแบบ HHCM III (Hyper Holographic Cone Midrange) ขนาด 5.9 นิ้ว และต่ำลงมานั้นติดตั้งตัวขับเสียงทวีตเตอร์ HHCT III ขนาด 1.75 นิ้ว ที่ออกแบบใหม่สำหรับเวอร์ชัน LJE โดยเฉพาะ — และใช้อยู่ในอีกหลายต่อหลายรุ่นในสายการผลิต ณ ตอนนี้

ถัดลงมาเป็นตัวขับเสียงมิดเรนจ์/วูฟเฟอร์ขนาด 5.9 นิ้วจำนวน 2 ตัว และตัวขับเสียงที่ติดตั้งไว้ใกล้กับพื้นมากที่สุด ก็คือวูฟเฟอร์ HHC ขนาด 10.2 นิ้วจำนวน 2 ตัว ซึ่งเป็นแบบยิงเสียงด้านข้างตัวตู้   ที่ทำงานร่วมกันในลักษณะดัน-ดึง-ดัน (push-pull-push configuration) ตัวขับเสียงทวีตเตอร์, มิดเรนจ์ และมิดเรนจ์/วูฟเฟอร์ (ทั้ง 2 ตัว) ล้วนติดตั้งบนตัวตู้แบบปิดสนิท (sealed chamber) แยกเป็นอิสระของใครของมันในแต่ละตัว และยังแยกลอยออกจากโครงสร้างตัวตู้หลักด้วยเทคโนโลยี SSC (String Suspension Concept) ของ Audio Physic ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไดรเวอร์ต่างๆ ไม่ได้ยึดติดโดยตรงกับแผ่นหน้าลำโพง

สำรวจดูภายนอกของตัวลำโพง อาจสรุปได้ว่า โครงสร้างตัวตู้ของวูฟเฟอร์เป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยส่วนล่าง 45% ของมิติด้านแนวตั้งของ LJE ราวๆ 47 นิ้วโดยประมาณ ในความเป็นจริง ตู้กักอากาศ (chamber) ของตัวเบสแบบตู้ปิด (ไม่มีท่อเปิด) นั้นใหญ่กว่ามาก โดยขยายออกไปทางด้านหลังตัวตู้ของเสียงกลาง/วูฟเฟอร์, มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์

สำหรับ Cardeas Plus+ นั้น Diestertich ได้เลือกใช้วัสดุโฟมเซรามิกแบบแข็ง (stiff ceramic foam material) บรรจุไว้ภายในตู้เบสเพื่อให้โครงสร้างมีเสถียรภาพ และเนื่องจากการมีความพรุนสูงของวัสดุนี้ โฟมจึงช่วยดูดซับเสียง รวมถึงเพิ่มความเฉื่อยของตัวตู้ โดยไม่ได้ไปลดปริมาณความจุภายในของตู้เบสลงแต่อย่างใด แผงด้านหน้าและแผงด้านล่างตัวตู้เป็นอะลูมิเนียมขัดเงาวาววับสีดำ (black high-gloss aluminum) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเวอร์ชั่น LJE

อีกนัยหนึ่ง, ตัวตู้สอบลู่ไปด้านหลัง (backward-tilted cabinet) ซึ่งมีความลึกเป็น 2 เท่าของความกว้าง พื้นผิวด้านข้างและด้านหลังมีความโค้งมน ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีในแง่เชิงกล และอคูสติก ‘Cardeas 30 LJE’ มีผิวไม้อัดให้เลือกได้ 2 ลักษณะสำหรับความเป็น “jubilee” ได้แก่ black ebony high-gloss กับ rosewood high-gloss ซึ่งผมยืนยันได้ว่า ถ้าคุณเลือกอย่างหลัง จะได้พบกับความน่าทึ่ง ซึ่งสวยงามราวกับเฟอร์นิเจอร์ชั้นดีเชียวละ

วงจรครอสโอเวอร์ (มาพร้อมกับ Clarity Cap capacitors และ copper foam technology เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ) ได้รับการแยกลอยออกจากตัวตู้ลำโพง ด้วยวัสดุ SSC ทั้งนี้ Audio Physic ได้ใช้รูปแบบของ “กราวด์ลอย” (a “floating” configuration) สำหรับวงจรครอสโอเวอร์นี้มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่า ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในครอสโอเวอร์ที่ต่อพ่วงกันแบบอนุกรม จะถูกจัดเรียงไว้รองรับทั้งในซีกบวกและซีกลบของเส้นทางสัญญาณ แทนที่จะรองรับแต่จำเพาะขั้วใดขั้วหนึ่งเท่านั้น

Manfred Diestertich ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับโทโพโลยีนี้ ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ เหมือนไม่ใช่วิศวกรรมเยอรมัน: “ค่าสมรรถนะที่วัดได้ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรไปเลย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ฟังนั้นน่าทึ่งมาก” Diestertich บอกผมอีกว่า อันที่จริงแล้ว, ผู้ผลิตลำโพงรายอื่นๆ จำนวนไม่น้อยที่ได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว รวมถึง Gauder Akustik, GoldenEar และ Sonus faber

ความทุ่มเทของ Audio Physic ต่อการแยกตัวทางอะคูสติก (acoustic isolation) ยังได้รวมไปถึงขั้วต่อสายลำโพง (binding posts ) และส่วนต่อประสานระหว่างลำโพงกับพื้นอีกด้วย ซึ่งประการแรกเลยนั้นมันให้ข้อดีตรงที่ว่า โดยทั่วไปสายเคเบิลมักไม่ค่อยถูกประเมินว่า สามารถส่งผ่านการสั่นสะเทือนกลับไปยังลำโพง และส่งต่อไปยังไดรเวอร์ต่างๆ ได้ ลำโพงทุกรุ่นในระดับท้อปของ Audio Physic จึงติดตั้งขั้วต่อสายลำโพงแบบ Vibration Control Terminals (เวอร์ชันที่ใช้อยู่ใน LJE ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยเฉพาะ) โครงสร้างอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ยึดติดขั้วต่อสายลำโพงไว้ โดยมีปะเก็นยางติดตั้งรองรับอยู่อย่างมั่นคง จึงมั่นใจได้ในการแยกสลายทางเชิงกลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับตัวตู้ลำโพง

ข้อดีประการที่สอง, แทนที่จะใช้เดือยแหลม (spikes) ที่สัมผัสโดยตรงกับพื้นผิวที่รองรับ, Audio Physic กลับใช้วิธีขันเดือยลงสู่ด้านล่าง ผ่านส่วนรองรับของแขนค้ำ (outrigger) ด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อยึดติดกับขาตั้งลูกกลมพลาสติก (plastic ball foot) ทำให้การสั่นสะเทือนส่วนใหญ่จะถูกแปลงเป็นความร้อนกระจายตัวออกไป แทนที่วิธีการระบายพลังงานสั่นสะเทือนจากลำโพงลงสู่พื้นอย่างที่ปกติวิธีเขาใช้กัน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว ลำโพงยังสามารถส่งผลกระทำในแง่ร้ายต่อเสียงที่ปล่อยออกมาได้

นอกจากนี้ขาตั้งลูกกลมพลาสติก (plastic ball foot) ยังช่วยให้ง่ายดายต่อการเคลื่อนย้ายลำโพงขนาด 163 ปอนด์ในระหว่างกระบวนการหาตำแหน่งตั้งวางลำโพง โดยไม่ทำให้พื้นหรือพรมเสียหาย อนึ่งนั้นท่านเจ้าของ LJE จะได้รับชุด VCF V Magnetic Feet เพื่อใส่แทนที่ขาตั้งลูกกลมพลาสติกนี้ เมื่อเจอตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับตั้งวางลำโพงนี้แล้ว

อุปกรณ์ VCF V Magnetic Feet นี้มีแม่เหล็กนีโอไดเมียมพลังสูง ซึ่งให้ประโยชน์ในการลดภาระของวัสดุ SSC ที่รองรับน้ำหนักของลำโพงอยู่ (ขาแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ Cardeas Plus+ รุ่นมาตรฐาน โดยสามารถซื้อแยกต่างหาก เพื่อใช้กับลำโพงยี่ห้ออื่นๆ ได้เช่นกัน ทว่าราคาไม่ใช่ถูกๆ นะครับ — ประมาณ 1,500 ดอลลาร์สำหรับแปดตัวต่อเซต)

Cardeas 30 LJE เข้าแทนที่ระบบลำโพงสองแชนเนลที่ผมใช้งานอยู่ประจำ ซึ่งก็คือ Wilson Duette 2s ที่เสริมด้วยซับวูฟเฟอร์ Wilson WATCH Dog ห้องฟังโดยเฉพาะของผมมีขนาด 15 x 15 ฟุต โดยมีความสูงเพดานแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 11 ฟุต ถึง 13 ฟุต ซึ่งในแง่ประเด็นความสมมาตรของห้องฟัง ผมขอบอกต่อผู้ที่กังวลใจในเรื่องขนาด LxW ให้มั่นใจได้ว่า มีโถงทางเดินที่ต่อเชื่อมจากผนังข้างด้านหนึ่งอยู่ใกล้กับด้านหน้าห้องฟัง ทำหน้าที่ “ปลดปล่อย” เป็นพื้นที่โล่ง: คลื่นสั่นค้าง (Standing waves) จึงไม่ก่อปัญหาใดๆ

รถบรรทุกที่ขนลำโพงมาส่งที่บ้านผม มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง 3 คนร่วมมาด้วย — Roy Feldstein หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของ VANA, Ltd. (ปัจจุบันเป็นผู้จัดจำหน่าย Audio Physic ในอเมริกาเหนือ), Justin Feldstein กรรมการผู้จัดการของ VANA และ Micah Shevaloff ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ดูแลด้านการตลาด/ประชาสัมพันธ์ของ Audio Physic

พวกเขาสละเวลาหลายชั่วโมงทำการปรับตำแหน่งของ LJE อย่างระมัดระวัง และติดตั้งฐานแม่เหล็กเข้าแทนที่ขาตั้งลูกกลม โดยวางตำแหน่งลำโพงแยกจากกัน 8 ฟุต (กึ่งกลางถึงกึ่งกลาง) และอยู่ห่างจากผนังด้านหลังลำโพง 2 ฟุต ระยะห่างจากแผงหน้าลำโพงจนถึงตำแหน่งนั่งฟัง (sweet spot ) ก็เท่ากับ 8 ฟุตเช่นกัน พร้อมด้วยองศาของการโท-อินเข้าหาตำแหน่งนั่งฟังประมาณ 15 องศา

การใช้งานนี้, มองได้ว่าเป็นรูปแบบการฟังแบบ Nearfield นั้น ได้ผลค่อนข้างดี และผมเองก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรหลังจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสามคนจากไป คู่มือใช้งาน, ซึ่งรวมถึงแนวทางการปรับตั้งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งแนะนำว่า ไดรเวอร์สำหรับลำโพง Audio Physic ได้รับการ burned-in จนเต็มที่แล้วจากโรงงานที่ Brilon และเพียงแค่เปิดฟังเพลง หรือใช้คลื่นเสียง white/pink noise สักไม่กี่ชั่วโมง ก็จะนำพาลำโพงนี้ให้ถึงจุดศักยภาพทางเสียงที่ดีที่สุด

อันที่จริงแล้ว, ช่วงท้ายของวันที่ติดตั้งลำโพงนี้ ผมยืนยันได้เลยว่า ผมกำลังได้ฟังเสียงลำโพงระดับชั้นบนสุด ประชันกับรุ่นอื่นๆ ที่ได้รับการยกย่องในระดับชั้นเดียวกันอย่างเช่น Wilson, YG, Magico, Von Schweikert และอื่นๆ

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการรับฟังลำโพงนี้เป็นดิจิทัลทั้งหมด โดยมาจากเครื่องเล่น universal player ของ Oppo รุ่น BD-103 หรือไม่ก็ music computer ของ Baetis Reference โดยป้อนข้อมูลเข้าสู่โปรเซสเซอร์ Anthem D2v ที่ผมใช้อยู่ประจำ ในตัวของ Anthem นี้มี room-correction software ใช้งานอยู่ โดยรองรับได้สูงถึง 800Hz ซึ่งก็เหมือนกับลำโพงอื่นๆ แทบทุกตัวที่ผมเคยใช้ในห้องนั้น เพื่อควบคุมความผิดปกติของเสียงเบสที่การวางตำแหน่งลำโพงนั้น แก้ไขอะไรไม่ได้ การเดินสายส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันของ Transparent Audio แต่หากคุณถามผมว่า เพาเวอร์แอมป์ตัวไหนล่ะ? นั่นเป็นวิถีที่คุณจำต้องได้ผจญเอง

โดยปกติ, ผมตั้งต้นการรับฟังด้วยแอมพลิฟายเออร์ที่ผมใช้อ้างอิงประจำ ซึ่งก็คือ Class A monoblocks ของ  Pass Labs รุ่น XA 60.8 จากนั้นจึงเริ่มต้นประเมินการฟังอ้างอิงโดยสโลแกนที่ใช้โฆษณาของ Audio Physic ว่า “No Loss of Fine Detail” ซึ่ง LJE คู่นี้สามารถเปิดเผยถึงความแตกต่างทางดนตรีเล็กๆ น้อยๆ ทางด้านของ microdynamic shadings และการเบี่ยงเบนในสีสันอันละเอียดอ่อน — ซึ่งทำได้ดีในระดับเดียวกับลำโพงอื่นๆ ที่ผมเคยได้ฟัง รวมทั้งจากลำโพงประเภท electrostatic และ ribbon

เริ่่มต้นด้วยเพลง Thriller ของ Michael Jackson ที่ดาวน์โหลด HDtracks ขนาด 176/24 เพื่อตรวจสอบถึงการแยกชั้นเลเยอร์ของชิ้นดนตรีต่างๆ รวมทั้งเสียงร้อง, ความละเอียดอ่อนของเสียงที่ค่อนๆ จางหายไป และเสียงก้องของซินธิไซเซอร์ที่ใช้ รวมทั้งเสียงอุทานไกลๆ ของ Michael Jackson ในเพลง “Beat It” บางทีอาจไม่จำเป็นต้องได้ยินสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มากมายนัก ที่ทำให้อัลบั้มนี้ได้รับยกย่องให้เป็นผลงานชิ้นเอกของวงการเพลงป็อป แต่ประเด็นก็คือ คุณได้ยินมันไงล่ะ

บางครั้ง, เราก็อ้างอิงในความโปร่งใสในการบันทึกเสียงวงออร์เคสตร้าชั้นยอด แท้จริงแล้วเป็นการวัดถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกส่งมอบออกมา ไม่มีตัวอย่างใดที่ดีไปกว่าบทนำสู่ส่วนที่ 2 ของ The Rite of Spring ของ Stravinsky ตามที่ได้ยินจากการดาวน์โหลด HDtracks ของการแสดงในปี 2013 จาก Yannick Néget-Séguin และ Philadelphia Orchestra

ดนตรีเงียบสงัดแต่เต็มไปด้วยบรรยากาศแจ่มชัด LJE ทั้งคู่เผยให้เรารับรู้ได้ในทุกๆ การเปลี่ยนแปลงความหนักเบา, ทุกๆ ความแตกต่างของ timbral ที่ผู้ประพันธ์เพลงได้เสกสรรค์ขึ้นไว้ เพื่อชักนำไปสู่ค่ำคืนที่ไร้จันทร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยการเสียสละของมนุษย์แห่งวาระการชุมนุม

ผมคิดเห็นว่า มันแจ่มแจ้งว่า ความใส่ใจต่อปัญหาการกำทอนเสียง/การสั่นสะเทือน (resonance/vibration ) ของ LJE คือ สิ่งที่สนองตอบต่อรายละเอียดอันมีนัยยะมากมาย และนั่นก็แปลความไปสู่การบ่งบอกให้รับรู้ได้ถึงความเวิ้งว้างแผ่กว้างอันเหนือยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน: ความวูบวาบไม่แจ่มชัดชั่วขณะ (temporal smearing ) สามารถบดบังความรู้สึกถึงการรังสรรค์จินตภาพ (imaging) และสภาพเวทีเสียงที่สอดคล้องต้องกัน

ด้วยผลงานการบันทึกเสียง Handel’s Op. 4 organ concertos ของ Philips ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 บนแผ่น PentaTone SACD, ลีลาความเคลื่อนไหว — เสียงกระทบคลิกและแกร็ก — ของเครื่องดนตรีขนาดเล็กในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเล่นโดยศิลปินเดี่ยว Daniel Chorzempa ในโบสถ์ของชาวดัตช์ สามารถได้ยินจากระนาบที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งดูเหมือนว่า เสียงออร์แกนและวงออเคสตราก็จะมาจากบริเวณนั้น

เมื่อฟังกับการบันทึกที่จัดทำมาอย่างดี, ลำโพงคู่นี้จะหายตัวไป อย่างที่ออดิโอไฟล์เขาพูดกัน แต่ว่ามันใช่เลยนะ ฟังจาก L’histoire du soldat เวอร์ชัน nonpareil ของ Paavo Järvi (PentaTone SACD อีกแผ่นหนึ่ง) สามารถจับสังเกตตำแหน่งนักดนตรีทั้งเจ็ดคนที่กำลังเล่นอยู่เป็นคนๆ ได้เลย ตลอดจนถึงการบ่งบอกขนาดชิ้นดนตรีโดยประมาณ (scaling) อันหลายหลากได้อย่างถูกต้อง ทั้งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม, เครื่องทองเหลือง, เครื่องสาย รวมทั้งเครื่องเคาะจังหวะ

ใครจะพูดอะไรได้ ถ้าความสมานเสมอในโทนเสียงของ Cardeas 30 LJE จากบนลงล่างนั้นเป็นผลมาจากไดรเวอร์ทั้ง 6 ตัวในลำโพงแต่ละข้างที่ทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน นั่นทำให้กรวยลำโพงทั้ง 6 ตัวนี้เปล่งออกมาเป็นเสียงเดียว (one voice) ด้วยเสียงแหลมที่เปิดโล่ง, โปร่งสบาย และปราศจากความเครียดเค้นใดๆ เสียงโซโลปิกโคโล (piccolo) ราวกับไม่ได้มาจากส่วนหนึ่งส่วนใดบนแผงหน้าลำโพง

เสียงนักร้องช่างเป็นเสียงที่ไม่มีวันลืมได้เลยจริงๆ, การบันทึกเสียงในช่วงสุดยอดของพวกเขา (their prime) — ศิลปินอย่าง Billie Holiday, Johnny Cash, Neil Young หรือ Adele — ล้วนมีแก่นแท้แห่งพลังของเสียงร้องที่เปล่งออกมา โดยไม่มีความผิดปกติใดๆ ในย่านเสียงของแต่ละคน

แผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งที่ผมมีอยู่, ซึ่งเหนือชั้นยิ่งกว่าแผ่นอื่นใด บอกให้ผมได้ทราบถึงอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรู้ในด้านความแม่นยำต่อโทนเสียงของลำโพงนั้น นี่เป็นหนึ่งในสามแผ่นซีดีที่มาพร้อมกับ coffee table book เล่มหนึ่งที่ชื่อว่า The Miracle Makers ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์และภาพถ่ายของไวโอลินที่ดีที่สุดของโลก 30 คัน นั่นคือ 15 ชิ้นงานจากของตระกูล Stradivari และ 15 ชิ้นงานโดย Giuseppe Guarneri del Gesù [รีวิวไว้ใน TAS ฉบับที่ 125].

ซีดีแผ่นนั้นระบุว่า Elmar Oliveira เป็นผู้เล่นเดี่ยวไวโอลิน Sibelius Violin Concerto สลับกันระหว่าง Strads และ Guarneris จำนวน 30 บาร์ (30 bars) โดยไม่มีผู้ช่วย ในประสบการณ์อันยาวนานของผมกับการบันทึกนี้ ไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน, ผมเคยได้ยินความแตกต่างที่ดีกว่าระหว่างไวโอลินสองยี่ห้อนี้ — เสียงที่สะอาดกว่า, หวานกว่า, โทนเสียงที่เน้นกว่าของเครื่องดนตรี Stradivarius ซึ่งตรงข้ามกับเสียงที่เข้มกว่า, เป็นธรรมชาติกว่า, มีความเย้ายวนกว่า และละห้อยโหยหาของ Guarneris มันใกล้เคียงกับการได้ยินเสียงของเครื่องดนตรีเองจริงๆ โดยไม่มีเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อคั่นกลาง

มันเปี่ยมด้วยไดนามิกและการส่งมอบเสียงเบส ที่คำถามเกี่ยวกับแอมป์ขยายสัญญาณปรากฏขึ้นมาลางๆ สมรรถนะของ Cardeas 30 LJE ที่สำแดงออกมาเข้าทางได้กับงานดนตรีอันหลากหลายรูปแบบ (ไม่ว่าจะเป็น chamber music, ออร์เคสตร้าในยุคศตวรรษที่ 18, jazz, folk, pop, เดี่ยวเปียโน, และอื่นๆ) ซึ่งชัดเจนว่า นี่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ฟังมาในห้องของผมนี้เลยทีเดียว

ทว่ากับงานดนตรีวงใหญ่ดูเหมือนจะเตือนผมว่า ใกล้ถึงขีดจำกัดแล้ว ในขณะที่กำลังขยายซึ่งได้แนะนำไว้ของ LJE คือ 40 ถึง 350 วัตต์ที่ 4 โอห์ม และ XA 60.8s ได้รับการระบุกำลังขับไว้ที่ 120 วัตต์ที่ค่าโหลด 4 โอห์ม, แอมป์ของ Pass Labs ไม่ได้มีค่าแดมปิ้ง แฟคเตอร์ที่สูงเป็นพิเศษ และแอมป์นี้ก็แสดงต่อผมราวกับว่า ไม่มีกำลัง ผมจึงตั้งใจที่จะลองหาแอมป์ที่มีกำลังมากขึ้นยิ่งกว่านี้

Manfred Diestertich กับภูมิหลังด้านวิศวกรรมของเขา

Manfred Diestertich เป็นผู้รับผิดชอบด้านเสียงของลำโพง Audio Physic มาตั้งแต่ปีค.. 1999, เขาเองมีพื้นฐานทางเทคนิคที่แตกต่างจากนักออกแบบเครื่องเสียงชั้นนำส่วนมาก ผมขอให้เขาเล่าถึงเส้นทางสู่การเป็นวิศวกรลำโพงด้วยมุมมองเฉพาะตัว

พื้นฐานทางเทคนิคของผมคือ เริ่มต้นในงานด้านวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างเหล็ก — ผมทำงานนี้เป็นเวลาหลายปีในตำแหน่งผู้จัดการโครงการ กับหน้าที่อันหลายหลาก รวมถึงการทำงาน 1½ ปีในไคโร ผมจึงได้รับประสบการณ์อันมีค่านี้มากทีเดียว อย่างไรก็ตามความสนใจที่แท้จริงของผมนั้น มักจะเป็นในด้าน hi-fi ผมหาความรู้จากนิตยสารเครื่องเสียงสารพัดเท่าที่จะหาได้ และลงทุนเงินจำนวนมากกับอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกประเภท ผมฝังตัวเองในโครงงาน DIY หลายต่อหลายโครงงาน และฝึกฝนแนวทางการปรับแต่ง, ซึ่งทำให้ผมได้พบกับ Joachim Gerhard ในช่วงต้นยุค 80 ก่อนที่เขาจะเริ่มงานกับ Audio Physic

ผมอ่านงานเขียนที่น่าสนใจทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบลำโพง รวมทั้งทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐาน ในช่วงที่ผมกำลังปรับแต่งส่วนประกอบต่างๆ (เปลี่ยนตัวเก็บประจุ, เดินสายสัญญาณต่างๆ, ตัวออพแอมป์ ฯลฯ) ผมก็ได้พบว่า การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางกล หรือ ระบบกันสะเทือนของชิ้นส่วนต่างๆ มักจะส่งผลต่อคุณภาพเสียงมากกว่าการเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆ

เมื่อซีดีออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก ผมไม่ชอบเสียงมันเลย ผมเริ่มปรับแต่งเครื่องเล่นด้วยวิธีปกติ (การทำงานกับ op-amps กลายเป็นสนามเด็กเล่นอันสุดโปรดปรานของผม) และผมก็ได้รับการติดต่อจากบริษัทที่สร้างเครื่องเล่นคอมแพคดิสก์เพื่อช่วยในการออกแบบใหม่

ในระหว่างขั้นตอนของการค้นหาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องเล่นซีดีนี้ ผมได้ตัดสินใจลองทำในสิ่งที่ค่อนข้างแปลกกว่าใครเขา ผมใช้เครื่องเล่นซีดีราคาถูกมากที่ใช้ภาคขับหมุนแผ่น (transport) ของ Philips แล้วโยนทิ้งชิ้นส่วนเสริมทั้งหมดไป แล้วยึดโยงภาคขับหมุน “เปลือยเปล่า” นี้ไว้ด้วยเส้นลวด 4 เส้นที่บริเวณมุมทั้งสี่ของแชสซี

สำหรับการฟังทดสอบครั้งต่อมา, ผมใช้เอาต์พุตดิจิทัลเท่านั้น เวอร์ชันที่สองของเครื่องเล่นตัวเดิม อันไร้ซึ่งการโมดิฟายด์ใดๆ (unmodified) นับเป็นข้อมูลเปรียบเทียบอ้างอิงของผมเลยทีเดียว ใช้เวลาฟังชั่วแป๊บเดียวแค่ไม่กี่วินาทีก็ได้ยินเครื่องเล่นที่โมดิฟายด์นั้นต่างจากเครื่องเล่นมาตรฐานดั้งเดิมชัดเจน เหตุการณ์นี้เปลี่ยนความคิดของผมเกี่ยวกับเสียงของซีดี และสถาปัตยกรรมการออกแบบส่วนประกอบเครื่องเสียงไปตลอดกาล

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ SSC (String Suspension Concept) และปลูกฝังให้ผมเข้าใจถึงความสำคัญยิ่งยวดของการแก้ปัญหาทางกลไกเชิงกลมากกว่าทางอิเล็กทรอนิกส์ หากรูปกรวยมีแนวโน้มที่จะสั่นค้าง (ringing) ผมก็จะใช้วิธีหนืดหน่วงเป็นการป้องกัน ด้วยกรวยแบบแอคทีฟมีความหมาดๆ (active cone damping) ของเราเอง ในฐานะนักออกแบบหลัก, ผมพิจารณาโซลูชันทางกลทั้งหมด ในขณะที่ออกแบบและปรับแต่งลำโพง Audio Physic แต่ละตัว สิ่งนี้มีส่วนสนับสนุนความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ของเรา และเป็นมรดกตกทอดอันยั่งยืนของแบรนด์ Audio Physic

เริ่มแรกเลยคือ แอมปลิฟายเออร์สเตอริโอ Parasound HCA-2200 II ที่ออกแบบโดย John Curl ของผมเอง ซึ่งให้ความคุ้มค่ามากในยุคนั้น (และตอนนี้ในตลาดมือสอง) โดยให้กำลังขับได้ 385 วัตต์ที่ 4 โอห์ม Parasound ให้การควบคุมช่วงย่านความถี่ต่ำ (low-end) ได้ดีทีเดียว และมี dynamic headroom ที่ดีมาก แต่การส่งมอบสภาพอิมเมจนั้น ยังไม่ถึงขั้น holographic ทั้งยังให้ความแจ่มชัดในระดับที่ไม่ผิดธรรมชาติ อย่างที่ผมได้ยินมาตั้งแต่วันแรกด้วย Pass XA 60.8s

ต่อมา, ผมลองกับ Primare A60 ซึ่งทาง VANA จัดหามาให้ผมใช้ โดยเป็นแอมปลิฟายด์ที่ดีไซน์ Class D ระบบสเตอริโอซึ่งให้กำลังขับ 500 วัตต์ต่อข้างที่ 4 โอห์ม แต่ทว่าดูท่าจะไปกันไม่ได้ดีกับระบบของผมนัก — ฟังแล้ว Cardeas 30 LJE ให้เสียงที่ขาดมิติ และความแม่นยำของเสียง ดังนั้นผมก็เลยต้องขอยืมเครื่องขยายเสียงของเพื่อนออดิโอไฟล์ที่อยู่ใกล้เคียงมาใช้งาน

แอมปลิฟายเออร์สเตอริโอของ Mark Levinson 532 ให้มัดกล้ามที่เต็มเปี่ยม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ Pass Labs แล้ว ก็ดูท่าว่าจะหยาบกร้าน – แข็งกร้าว (harshness ) และให้สเกลของชิ้นดนตรีที่ไม่ดีเท่าแอมป์โมโนบล็อกอ้างอิงของผม …แล้วผมก็ได้แอมป์ David Bernings มาร่วมใช้งาน

โมโนบล็อกของ David Berning รุ่น Quadrature Z เป็นแอมปลิฟายเออร์หลอดแบบ OTL ราคา $30,000 ต่อคู่ ที่ส่งมอบกำลังขับ 270 วัตต์ที่โหลด 4 โอห์ม ภาคจ่ายไฟควบคุมแรงดันเป็นแบบสวิตชิ่ง (regulated switching) จึงอธิบายได้ว่า ทำไมแอมป์นี้จึงไม่หนักเป็นพิเศษ และไม่ร้อนมากนัก Quadrature Z ทั้งคู่ทำให้ผมได้เข้าถึงศักยภาพสูงสุดของลำโพง Cardeas 30 LJE

ไดนามิกดีอย่างน่าทึ่ง: เมื่อฟัง “Glorification of the Chosen One” ใน Le sacre ซึ่งมีกลองทิมปานีสี่ใบ และกลองเบสใหญ่ให้เสียงสนั่นราวกับคลื่นแผ่นดินไหว และผมยังสามารถแยกความแตกต่างของเสียงตีกลองทิมปานีออกจากเสียงกลองใหญ่ได้ ในทำนองเดียวกัน, ความเดือดดาลในช่วงมูฟเมนต์ Rondo-Burleske ของ Symphony No. 9 ของ Mahler (Michael Tilson Thomas/San Francisco บน SFS Media SACD) ก็ให้ความรับรู้สะท้านทั่วทั้งฮอลล์

กับเพลงออร์แกนโบสถ์ที่ทำเอาถึงกับทึ่ง จนหยุดทุกอย่างไว้ (ต้องเอามาพูดบอก) ในช่วงมูฟเมนต์สุดท้ายของ La Nativité du Seigneur ของ Messaien “Dieu Parmi Nous” ที่เล่นโดย Mary Preston ในซีดีบันทึกอ้างอิงชื่อ Organ Odyssey เป็นเรื่องที่ทำเอาน่าตื่นเต้นมากๆ ในไดนามิก และพลังงานเสียงความถี่ต่ำ

ผมไม่ได้บอกเป็นนัยๆ นะว่า โมโนบล็อกของ Berning เป็นแอมปลิฟายเออร์ตัวเดียวที่จะทำให้ ลำโพง Cardeas 30 LJE เต็มเปี่ยมในชีวิตชีวาขึ้นมาไม่ว่าจะกับแนวเพลงใดๆ ได้อย่างนี้ แต่ผมก็แน่ใจว่า น่าจะมีอีกหลายสิบคนที่ทำเช่นนั้น — และพวกเขาน่าจะขนหน้าแข้งไม่ร่วงแน่ๆ ที่จะต้องจ่ายอีก 30,000 ดอลลาร์ ที่จะเอามาใช้งานร่วมกับ Cardeas 30 LJE ที่มีราคา $ 45,995 คู่นี้

คุณเพียงแค่ต้องตระหนักว่า แอมป์ชั้นยอดที่คุณมีอยู่แล้วนั้น อาจไม่เหมาะกับ Cardeas 30 LJE ก็เป็นได้ ลำโพงเหล่านี้ไม่ใช่ลำโพงที่มีค่าโหลดไม่โหดที่สุดในโลกนะ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือว่า ลำโพงเหล่านี้เผยให้เห็นสารพัดสิ่งในห่วงโซ่เสียง (audio chain) ที่มีมาก่อนมันได้อย่างดีเยี่ยม ลำโพงเหล่านี้จะไม่ทนกับอุปกรณ์โง่เง่า หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อนบางอย่างที่อาจสุกปลั่งในซิสเต็มอื่น

ด้วยการใช้งานร่วมกับแอมป์ที่เหมาะสม, ลำโพง Cardeas 30 LJE จะส่งมอบประสบการณ์การฟังอันโอฬาร, เต็มพิกัดช่วงการรับฟัง ด้วยแหล่งข้อมูลที่ท้าทายสุดๆ ทั้งในห้องขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สำหรับผมลำโพงคู่นี้ประสบความสำเร็จมากกว่าลำโพงตั้งพื้นแบบแยกชิ้นสองตัวตู้ต่อข้างที่ผมเคยได้ฟังในสภาพแวดล้อมการฟังอันคุ้นชิน

Cardeas 30 LJE เป็นลำโพงที่มีความละเอียดสูงมาก ซึ่งคุณอาจต้องตัดสินใจอย่างยากลำบาก  ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับแอมปลิฟายเออร์ที่จะจับคู่อย่างเหมาะเจาะกับพวกมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการใช้แอมปลิฟายเออร์เหล่านั้นร่วมกับพวกมันด้วย ในกรณีของ Quadrature Z มีสวิตช์ที่แผงหน้าเครื่อง ซึ่งให้ผู้ใช้ได้ทำการเลือกค่า negative feedback ที่แตกต่างกัน สอดสัมพันธ์กับลำโพงที่พวกเขาเอามันไปใช้งานด้วย

การตั้งค่า “ปกติ” (normal) ให้การ damping มากที่สุด และกับลำโพงหลายต่อหลายตัว ซึ่งรวมถึง LJE ด้วยนั้น จะให้ประสิทธิภาพเสียงเบสที่หนักแน่น และทรงพลังอย่างยิ่ง — รวดเร็ว หนักแน่น เรี่ยวแรงปะทะ และทรงพลัง การตั้งค่าที่ต่ำกว่านี้ทำให้เสียงสูงไปไกลขึ้นในสเปกตรัมความถี่ โดยสูญเสียค่าการควบคุมเสียงเบสไปเล็กน้อย ซึ่งในท้ายที่สุด, ผมเลือกที่จะตั้งไว้ที่ “normal” setting แต่ก็ใช่ว่าจะให้ตั้งไว้ที่ค่านี้กับลำโพงทุกๆ คู่นะ การตัดสินใจเลือกที่ค่าใดนั้นสำคัญมาก

แล้วก็กลับไปสู่คำแนะนำเชิงเปรียบเทียบของริงโก้ “คุณต้องจ่ายเงินหากต้องการร้องเพลงบลูส์” การสำแดงสมรรถนะระดับโลกของลำโพงรุ่น limited edition จาก Audio Physic นี้อาจได้มา “ไม่ง่าย” เสมอไปนัก แต่ด้วยความวิริยะ คุณจึงยืนหยัดไขว่ขว้าเพื่อให้ได้เสียงที่ดีอย่างที่ชาวออดิโอไฟล์ส่วนใหญ่สามารถคาดหวังว่าจะได้รับผลการรับฟังที่ดีงามได้ในสภาพแวดล้อมในบ้านโดยทั่วไป และนั่นก็คุ้มค่าแก่ความวิริยะอย่างแน่นอน คุณว่าไหมล่ะ?

รายละเอียดจำเพาะ และ ระดับราคา

  • รูปแบบ: Three-and-a-half-way, sealed enclosure
  • ส่วนประกอบตัวขับเสียง: Hyper Holographic Cone Tweeter (HHCT III) 1.75″ x 1, HHCM III midrange 5.9″ x 1, HHCM III midrange/woofers 5.9″ x 2, woofers 10.6″ x 2
  • ช่วงการตอบสนองความถี่เสียง: 25Hz–40Hz
  • ค่าความไวเสียง: 89dB
  • ค่าความต้านทาน: 4 ohms
  • ช่วงกำลังขับที่แนะนำ: 40–350 watts (into 4 ohms)
  • มิติขนาด: 12″ x 46.9″ x 23.4″
  • น้ำหนัก: 163 lbs. each
  • ระดับราคา: $45,995