พิพัฒน์ คคะนาท
HOODOO MAN BLUES
Junior Wells’ Chicago Blues Band with Buddy Guy
- Label: Delmark Records
- Genre: Blues
- Style: Chicago Blues, Harmonica Blues
- Format: 2 X Reel-to-Reel, 15ips, 2-Track Stereo, 10.5-inch NAB Reel
- Country: United State
- Released: 2019
- Item Number: DRH612
อัลบัม Reel-to-Reel ชุดนี้ หากเปรียบกับแผ่นไนวีลทางด้านกายภาพแล้ว ก็เหมือนแผ่นที่มี Side A กับ Side B เพียงแต่หน้า A กับหน้า B ของเทปรีลชุดนี้แยกอยู่คนละกล่องกัน ปกกล่องม้วนเทปของแต่ละหน้าจึงแตกต่างกันอย่างที่นำมาให้ชมกันนี้ เป็นภาพแอ็คชันของศิลปิน Junior Wells รูปเดียวกัน แต่นำมาวางเลย์-เอาท์ปกที่แตกต่างกันด้วยตัวหนังสือ
อัลบัมเปิดตัวครั้งแรกในรูปของแผ่นไวนีล โดย Delmark Records ในปี ค.ศ.1965 โดยบันทึกเสียงในเดือนกันยา’ ของปีเดียวกัน จากการรังสรรค์ผลงานโดยศิลปินนักร้อง และนักเป่าฮาร์โมนิกา Junior Wells กับวงดนตรี Chicago Blues Band และเป็นการทำงานร่วมกันในช่วงต้นๆ กับศิลปินนักกีตาร์ Buddy Guy ต่อมาได้มีการนำกลับมาพิมพ์แผ่นซ้ำทั้งในรูปของแผ่นซีดี และแผ่นไวนีล ทั้งโดยสังกัดเดิมและค่าย Analogue Productions
อัลบัมในแนวดนตรีชิคาโก บลูส์ ชุดนี้ ได้เกิดขึ้นจากการรบเร้าและร้องขอของ Bob Koester ผุ้ก่อตั้งค่าย Delmark Records ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชื่นชอบแนวทางในการทำพลง และดนตรี ของจูเนียร์ เวลลส์ เป็นอย่างมาก และยินดีปล่อยให้เวลลส์และกลุ่มศิลปินของวงได้นำเสนอผลงานต่างๆ ในอัลบัมชุดนี้ได้อย่างเป็นอิสระ โดยที่มิพักได้มีความสนใจในเชิงพาณิย์ หรือแคร์ในเรื่องของการตลาดของการทำแผ่นเสียงยุคนั้นแต่อย่างใด เพียงขอให้พวกเขาร้อง เล่น และบรรเลงกันให้สุดเหวี่ยง เหมือนกับที่แสดงอยู่เป็นประจำในบาร์ Theresa’s Lounge ซึ่งอยู่ทางแถบตอนใต้ของเมืองชิคาโกเท่านั้นเป็นพอ
ทว่า, ผลงานที่เวลลส์และวงดนตรีได้ร่วมกันสร้สางสรรค์ชุดนี้ กลับกลายเป็นว่าได้รับความนิยมอย่างมาก และนำมาซึ่งชื่อเสียงทั้งของศิลปินและค่ายเพลง ที่โด่งดังขึ้นมาแทบจะชั่วข้ามคืนหลังผลงานออกวางจำหน่าย ตราบจนปัจจุบันอัลบัมชุดนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมที่สุดของจูเนียร์ เวลลส์ รวมทั้งยังเป็นอัลบัมในแนวดนตรีบลูส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่ได้มีการผลิตแผ่นออกมา รวมทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นอัลบัมที่ขายดีเป็นอันดับ 1 และขายมากที่สุดตลอดกาล ของ Delmark Records อีกด้วย ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกบันทึกเอาไว้โดยสำนักทะเบียนการบันทึกเสียงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ National Recording Registry นั่นเอง
อัลบัม Hoodoo Man Blues ยังได้รับการยกย่องมากมาย อาทิ ได้ถูกคัดเลือกให้อยู่ในหอเกียรติยศของ Grammy Hall of Fame ได้รับยการคัดสรรจากนิตยสาร Living Blues ให้เป็นหนึ่งใน Top Ten Desert Island Blues Discs รวมทั้งได้ถูกนำไปเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง The Hitman’s Bodyguard ภาพยนตร์ในแนว Action Comedy Thriller ของอเมริกาเมื่อสองปีที่ผ่านมานี้เอง
ศิลปินในอัลบัมชุดนี้ประกอบได้ด้วย Junior Wells – ร้อง และฮาร์โมนิกา, Jack Myers – เบสส์, Bill Warren – กลองชุด และ Buddy Guy – กีตาร์
สำหรับงานเพลงและดนตรีในอัลบัมชุดนี้มีทั้งหมด 12 แทร็ค ตามรายชื่อดังต่อไปนี้ (แยกเป็นกล่องม้วนเทป A และกล่องม้วนเทป B แต่ละม้วนมี 6 แทร็ค)
A1 – Snatch It Back And Hold It (2.50)
(Amos Blakemore, Bluesharp Publ., BMI)
A2 – Ships On The Ocean (4.05)
(Amos Blakemore, Bluesharp Publ., BMI)
A3 – Good Morning Schoolgirl (3.52)
(John Lee Williamson, P.D.)
A4 – Hound Dog (2.06)
(Leiber/Stoller, Sony/ATV SongsLLC, BMI)
A5 – In The Wee Hours (3.43)
(Amos Blakemore, Bluesharp Publ., BMI)
A6 – Hey Lawdy Mama (3.11)
(Cleve Reed, Universal Music Corp., ASCAP)
B1 – Hoodoo Man Blues (2.04)
(Sonny Boy Williamson, P.D.)
B2 – Early In The Morning (4.45)
(Traditional, P.D.)
B3 – We’re Ready (3.37)
(Amos Blakemore, Bluesharp Publ., BMI)
B4 – You Don’t Love Me, Baby (2.21)
(W. Cobb, Embassy Music Corp./Katrina Music Co., BMI)
B5 – Chittlins Con Carne (2.10)
(Kenny Burrell, Sephra Music, ASCAP)
B6 – Yonder Wall (4.07)
(Traditional, P.D.)
สุ้มเสียงในอัลบัมชุดนี้ที่ได้ฟังจากม้วนเทปรีลที่ความเร็ว 15ips มีความเป็นธรรมชาติของเสียงดนตรี และมีความสมจริงของเสียง ในระดับที่สูงเอามากๆ ใกล้เคียงความหมายของ High Fidelity ในระดับแทบจะขนหัวลุกก็ว่าได้ เพราะมีความลื่นไหลในความเป็นดนตรีที่เสมอด้วยศิลปินกำลัง Entertain หรือมอบความสุขผ่านเสียงร้อง เสียงดนตรี อยู่เบื้องหน้าในห้องฟังที่ละม้ายคล้ายจะกลายเป็น Stage หรือเวทีไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะในแง่ความคมชัด รายละเอียด ตลอดจนมิติที่สามารถสัมผัสเสียงซึ่งพุ่งเข้ามาหาตำแหน่งที่กำลังนั่งฟังอยู่ ให้รับรู้และให้รู้สึกสัมผัสเหมือนอยู่ในโถงของความบันเทิงนั้นอย่างสมจริงยิ่ง
เป็นความสมจริงจนเผลอนึกถามตัวเองออกมา ว่า – ตะกี้, ได้จ่ายกะตังค์ค่าผ่านประตูที่สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มได้แก้วนึงไปเท่าไรกันนะ!!! ขนาดนั้นเทียว
สำหรับการทำสำเนาเทปชุดนี้ ได้ทำจากม้วนเทปต้นฉบับจริงที่ให้ทำงานบนเครื่องเล่น Otari MTR10 ซึ่งได้รับการปรับปรุงและปรับแต่งการทำงานใหม่ โดยถ่ายสำเนาลงไปมังม้วนเทป RMGI SM-900 ที่ทำงานบนเครื่องเล่นเทปรีล Ampex ATR 102 ที่ได้รับการปรับแต่งประสิทธิภาพการทำงานขึ้นมาใหม่ และสำเนาม้วนเทปต่อจากนั้นเป็นการทำงานบน Ontari MTR10 โดยการใช้ม้วนเทป RMGI SM-911 ซึ่งเป็นการทำสำเนาในรูปแบบ Half-Track ที่ความเร็ว 15ips (IEC)
ผลงานชิ้นนี้ออกมาจากค่ายสังกัดเดิมที่เป็นเจ้าของต้นฉบับ คือ Delmark Records แบบทำเองกับมือนั่นเลย